หลวงพ่อพุธ ไขปริศนา!! เพราะเหตุใด..ในหลวงร.๙ ถึงทรงพระสุบินถึง ;พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ ๑ อยู่บ่อยครั้ง ?

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://www.tnews.co.th

หลวงพ่อพุธ ไขปริศนา!! เพราะเหตุใด..ในหลวงร.๙ ถึงทรงพระสุบินถึง ;พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ ๑ อยู่บ่อยครั้ง ?

             เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ "หลวงพ่อพุธ ฐานิโย" ได้เข้าเฝ้า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" และ "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ" ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการเข้าเฝ้าครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชปุจฉาสนทนาธรรมกับหลวงพ่อพุธเกี่ยวกับการที่พระองค์ทรงพระสุบินถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ อยู่บ่อยครั้ง

หลวงพ่อพุธ ไขปริศนา!! เพราะเหตุใด..ในหลวงร.๙ ถึงทรงพระสุบินถึง ;พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ ๑ อยู่บ่อยครั้ง ?

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช : อยากเรียนถามพระคุณเจ้าว่า  เคยฝันถึงท่านพระพุทธยอดฟ้า เคยฝันถึงท่านหลายครั้ง ไม่ทราบว่าฝันถึงท่านเองหรือใจนึกถึง?

หลวงพ่อพุธ ไขปริศนา!! เพราะเหตุใด..ในหลวงร.๙ ถึงทรงพระสุบินถึง ;พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ ๑ อยู่บ่อยครั้ง ?

 

หลวงพ่อพุธ ไขปริศนา!! เพราะเหตุใด..ในหลวงร.๙ ถึงทรงพระสุบินถึง ;พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ ๑ อยู่บ่อยครั้ง ?

หลวงพ่อพุธ : พลังใจที่ได้เคารพบูชาที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรดาพระบรมมหากษัตราธิราชเจ้าทั้งหลายในอดีตนั้นย่อมเป็นพลังอันหนึ่งซึ่งสามารถทำให้จิตใจของพระองค์ปฏิพัทธ์ถึงพระองค์ท่านทั้งหลายเหล่านั้นด้วยความแน่นอน  ซึ่งปกติแล้ว ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของความดี  ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรม เป็นพื้นฐานให้เกิดความดี ดังนั้น  การที่ได้ฟังเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาที่คิดว่ายังไม่เป็น ยังไม่ชำนาญนั้น เพราะความกตัญญูกตเวทีอันนี้จะช่วยเกื้อกูลอุดหนุนน้ำใจของท่านให้ดำเนินไปสู่สมาธิที่ถูกต้อง

หลวงพ่อพุธ ไขปริศนา!! เพราะเหตุใด..ในหลวงร.๙ ถึงทรงพระสุบินถึง ;พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ ๑ อยู่บ่อยครั้ง ?

          เท่าที่เคยได้ฟังที่วัดป่าสาลวันเมื่อครั้งนั้นว่า  เมื่อระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตสงบสว่างลงไปแล้วหายหวาดกลัวในสิ่งต่าง ๆ  อันนี้คือจิตของท่านมีสมาธิและเข้าสมาธิได้ง่าย

          แต่การทำสมาธิบางครั้งบางคราวนั้น เราอาจจะไม่สมประสงค์ในการกระทำ คือ จิตอาจไม่มีความสงบตลอดเวลา  แต่ถึงกระนั้นก็ยังเป็นการสะสมกำลังไว้  เมื่อเวลาเหมาะสมเมื่อใด จิตจะสงบลงเป็นสมาธิ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อขณะใดที่เกิดความกลัว กลัวจะมีภัยอันตรายเกิดขึ้น จิตของผู้ปฏิบัติเป็นผู้อบรมอยู่เป็นประจำนั้นจะวิ่งเข้าสู่ความเป็นสมาธิโดยไม่ตั้งใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ "มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ"