ดราม่ายังไม่จบ!! กรณี "ห้ามข้าราชการชาร์ตแบตมือถือ" เรื่องที่กระทรวง-หน่วยราชการ “ต้องจำ” เป็นบทเรียน อยากมีผลงานก็ต้องรู้จุดบอดของตัวเอง!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ดราม่ายังไม่จบ!! กรณี "ห้ามข้าราชการชาร์ตแบตมือถือ" เรื่องที่กระทรวง-หน่วยราชการ “ต้องจำ” เป็นบทเรียน อยากมีผลงานก็ต้องรู้จุดบอดของตัวเอง!!

          จากกรณีที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำหนังสือ เรื่อง มาตราการป้องกันกรณีการใช้ทรัพย์สินของทางราชการ ทั้งนี้จากหนังสือในข้อ 2 ได้ระบุว่า "ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนตัวมาชาร์จไฟในสถานที่ราชการ" ซึ่งข้อห้ามดังกล่าวก็เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมาก และล่าสุดปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ยกเลิกประกาศดังกล่าวแล้ว ระบุว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรการตามประกาศฉบับดังกล่าว มีประเด็นความไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติ จึงเห็นควรให้มีการทบทวน เพื่อความเหมาะสมและเกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติสอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จึงให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว 

 

ดราม่ายังไม่จบ!! กรณี "ห้ามข้าราชการชาร์ตแบตมือถือ" เรื่องที่กระทรวง-หน่วยราชการ “ต้องจำ” เป็นบทเรียน อยากมีผลงานก็ต้องรู้จุดบอดของตัวเอง!!

อ่านข่าวเพิ่มเติม

นี่หรอ..ไทยแลนด์ ๔.๐!! ห้ามข้าราชการ ชาร์จมือถือในที่ทำงาน..มือถือข้าราชการก็ใช้ติดต่อเพื่องานและส่วนรวม ประหยัดงบกับพวกผู้บริหารดีกว่าไหม?!

ดราม่ายังไม่จบ!! กรณี "ห้ามข้าราชการชาร์ตแบตมือถือ" เรื่องที่กระทรวง-หน่วยราชการ “ต้องจำ” เป็นบทเรียน อยากมีผลงานก็ต้องรู้จุดบอดของตัวเอง!!

          จากกรณีนี้เองก็มีกระแสพิพากษ์วิจารณ์กัน ในประเด็นของการออกประกาศของทางกระทรวง รวมไปถึงหน่วยงานอื่นของทางราชการด้วยว่า จุดบอดของการออกประกาศอยู่ที่ไหน และถือให้กรณีดังกล่าวนี้เป็นบทเรียนจะได้ไม่มีการผิดพลาดอีก จากเพจ บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune ได้เผยแพร่ข้อความถึงกรณีนี้ โดยระบุว่า

 

(S27) January 7, 2018
 

#สธ.ห้ามชาร์ตมือถือในที่ทำงาน จุดบอดของการออกประกาศอยู่ที่ไหน

-ประกาศที่ออกระดับกระทรวงต้องศักดิ์สิทธิ์ เรื่องที่ค้านกับความรู้สึกและไม่สมเหตุผล หลุดออกมาจนเป็นประกาศได้ยังไง .. มีจุดที่พัฒนาหรือป้องกัน ได้ไหม..ลองมาวิเคราะห์กันดูครับ

-จากการที่มีประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการห้ามข้าราชการชาร์ตโทรศัพท์มือถือในที่ทำงาน จนเป็นที่โจทย์จัน และ ให้ความเห็นค้านกันกระหึ่มโลกออนไลน์ แล้วในที่สุด สธ. ก็ยอมถอย ...”ขณะนี้กำลังพิจารณาสั่งให้มีการทบทวนประกาศดังกล่าว โดยเจตนาจะมุ่งเน้นในเรื่องของการประหยัดพลังงานและทางเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้เคยหารือร่วมกับป.ป.ช.ซึ่งเดิมทีมีการพูดคุยกันว่าต้องมีมาตรการในการประหยัดพลังงานและในเรื่องของการชาร์จแบตเตอรี่มือถือนั้นยังมีเรื่องของการใช้ประโยชน์จากทางราชการหรือไม่ซึ่งเดิมทีต้นเข้าใจว่ามีหนังสืออย่างเป็นทางการจากทางป.ป.ช.เพื่อสอบถามในรายละเอียดทำให้ทราบว่าเป็นการพูดด้วยวาจาเท่านั้น”... ข่าวที่ออกผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ ที่ยอมถอย มีประเด็นว่า

1.เน้นประหยัดพลังงาน

2. ไม่แน่ใจเรื่องการใช้ประโยชน์จากทางราชการ

3. ปรึกษา ป.ป.ช. (เป็นแค่การพูดคุย.. แต่นำมาเป็นข้อสรุป)

4. เหตุผลอื่นๆ ที่ไม่ได้พูด

 

เราได้เรียนอะไรจากเรื่องนี้บ้าง

1. เจตนาดี

2. พยายามหาเหตุผล แต่ไม่ได้วิเคราะห์เหตุผลจนลึก และไม่ได้ใช้หลักวิชาอย่างเพียงพอ(พอออกสู่โลกออนไลน์ เลยมีคนช่วยวิเคราะห์ให้ ใช้ไฟไม่กี่ร้อยบาท)

3. เลือกเหตุผลบางอย่างมาใช้ เพราะอยากให้มาตรการออกมา (มีผลงาน) มีความลำเอียงในการใช้เหตุผล(bias)

4. ขาดวิธีคิดด้านภูมิคุ้มกัน(ความเสี่ยง) ไม่ใช้หลักของความพอดี

5. คนอื่นไม่สามารถแสดงความเห็นทัดทานได้ (ไม่กล้าทัดทาน, หรือ ทัดทานแล้วไม่ฟัง, หรือ ไม่ทัดทาน เจ้านายอยากทำอะไร ก็ให้ทำไป แล้วไปรับผิดชอบเองละกัน).... จึงทำให้เรื่องนี้ เข็นผ่านหลายด่านออกมาจนถึงปลัดเซนต์หนังสือ 
 

ดราม่ายังไม่จบ!! กรณี "ห้ามข้าราชการชาร์ตแบตมือถือ" เรื่องที่กระทรวง-หน่วยราชการ “ต้องจำ” เป็นบทเรียน อยากมีผลงานก็ต้องรู้จุดบอดของตัวเอง!!

วัฒนธรรมในที่ทำงานของไทย

1. มีความเกรงใจกันมากเกินไป ....

2. มีความรู้สึกธุระไม่ใช่(อย่าไปยุ่งกับเขา)มากเกินไป ...

3. สักแต่ว่าทำ มากเกินไป (ให้มีผลงาน... ได้ทำ แต่ ไม่ใช่ ทำได้) เพราะเรานับถือคนที่ได้ทำ และ ตีความว่า การได้ทำ คือ การทำได้... เพราะถ้าหวังจะให้ลดใช้พลังงานจริง และลดได้จริง จะต้องคิดและหามาตรการอย่างละเอียด และ เป็นมาตรการที่ทำได้...... แต่ ที่เห็นอยู่นี้ เป็น แบบไทยๆ ที่หลายคน มักง่าย ...หรือ สุกเอาเผากิน 

คนทำงาน ที่ทำจริง ทำดี ก็มีมากนะครับ แต่คนที่ทำดี ทำจริง พอเจอกับคนใกล้ตัวบางคนที่มีวัฒนธรรมในการทำงานแบบข้างบนนี้ ก็ทำให้ถอยได้  เราเรียนรู้จากเรื่องนี้ และป้องกันได้ หากเราใช้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.. การทำงานที่ใช้เหตุผลอย่างเต็มที่ตามหลักวิชา (เอาใจใส่) และ คำนึงถึงความเสี่ยง จะทำให้งานที่ทำมีภูมิคุ้มกัน (ต้อง​คำนึงถึง​คนอื่น)​... เกิดความพอเพียง พอดี ระหว่าง​เหตุผล​ และ การมีภูมิคุ้มกัน... เรียนรู้​จุดบอด เพื่อ​ไม่ต้อง​พลาด​แบบนี้อีก

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune