ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

ตำนานของพ่อแก่
พ่อ แก่ หรือพระฤาษี ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนในแวดวงศิลปะแขนงต่างๆ ล้วนนิยมเคารพนับถือบูชา เนื่องด้วยเกิดจากความเชื่อที่ว่า ในอดีต พ่อแก่หรือพระฤาษีได้เป็นผู้นำเอาศิลปะ แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร้องรำทำเพลง หรือแม้แต่การร่ายรำ นาฏศิลป์ต่างๆ มาถ่ายทอดให้แก่มนุษย์ได้รับรู้ความงาม ความอ่อนช้อยของศิลปะ รู้จักความอ่อนโยน รู้จักรัก รู้จักเมตตา และการให้อภัย ก่อให้เกิดความสุขแก่มวลมนุษยชาติ ดังนั้นศิลปิน หรือผู้เกี่ยวข้องในศิลปะทุกแขนง ในประเทศไทยจึงได้เคารพบูชาพ่อแก่ หรือครูฤาษีว่าเปรียบดังบรมครูแห่งศาสตร์ของการแสดง เมื่อได้บูชาแล้วจะก่อให้เกิดสิริมงคล มีความเจริญก้าวหน้าในด้านการงาน มีเสน่ห์ เมตตามหานิยมในตัว

ความเป็นมาของพ่อแก่
พ่อแก่, พระฤาษี หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า ครูฤาษี ถือเป็นบรมครูแห่งศาสตร์ของการแสดง ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระฤาษีมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๐๘ องค์ ปางเสมอเถรถือว่าเป็นปางที่มีฤทธิ์มากที่สุดในบรรดาทั้ง ๑๐๘ องค์ คำว่า ฤาษี มาจากคำว่า ฤาษิ แปลว่า ผู้เห็นด้วยความรู้พิเศษอันเกิดจากฌาน ซึ่งสามารถแลเห็นอดีตปัจจุบัน และอนาคตได้ บางครั้งก็เรียกพ่อแก่หรือฤาษีว่า "ตฺริกาลชฺญ" แปลว่า ผู้รู้กาลทั้งสาม นอกจากนี้พระฤาษียังถือว่าเป็นผู้ประทานสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวลแก่มนุษยชาติ เนื่องด้วยตำราทางโหราศาสตร์ และตำราทางเทววิทยา กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นอาจารย์แห่งสรรพวิชาความรู้ทั้งมวล
"วันครู"
เนื่องด้วยพระอิศวรมหาเทพ ร่ายพระเวทให้ฤาษี ๑๙ตน ป่นเป็นธุลี แล้วห่อด้วยผ้าสีแก้วไพฑูรย์ ประพรมด้วยน้ำอมฤต บังเกิดเป็นเทวราช มีสีกายดั่งแก้วไพฑูรย์ มีวิมานบุษราคัม ทรงกวางทองเป็นพาหนะ รักษาเขา พระสุเมรุด้านทิศตะวันตก มีร่างกายแสดงด้วยสัญลักษณ์ของฤาษีจึงมีปัญญาบริสุทธิ์ เฉลียวฉลาด พูดจาไพเราะเสนาะหู เป็นอาจารย์แห่งสรรพวิชาความรู้ทั้งมวลรวมถึงเป็นอาจารย์ของเหล่า เทพเทวดา จึงให้ถือว่าวันพฤหัสบดีอันแสดงด้วยสัญลักษณ์ของฤาษีเป็นวันครูจึงมีการไหว้ครูกัน ในวันนี้ ซึ่งมีสืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน
พ่อแก่
พระฤาษีครูและเครื่องหมายแห่งความกตัญญูรู้คุณอาจารย์ พ่อแก่เป็นคำสามัญใช้ในวงการโขนละคร ความ จริงคือพระฤาษีครูและหมายรวมถึงครูอาจารย์ทุกท่านในอดีตจนถึงปัจจุบันทัก รู้จักและไม่รู้จักชื่อของท่านและเป็นเครื่องหมายแห่งความกตัญญูรู้คุณ อาจารย์นาฏศิลปะในพิธีไหว้โขนละครจึงนิยมปั้นหุ่นรูปพระฤาษีครูเป็นประธานใน พิธี
พระฤาษีเป็นนักบวชประเภทหนึ่งในศาสนาฮินดู อาศัยอยู่ในป่ามีชีวิตเรียบง่ายมุ่งทำจิตรภาวนาและสมาธิให้ใจสงบและเกิดประโยชน์ แต่ มีภรรยาได้ในศาสนาฮินดูถือว่าพระศิวะมีรูปร่างหนึ่งเป็นพระฤาษีและครูที่ ประสิทธิ์ประสาทนาฏศิลปมีร่างหนึ่งเป็นพระฤาษีมูลเหตุแห่งความเชื่อว่าพระศิวะเป็นครูนาฏศิลปะเพราะพระศิวะเป็นสูงสุดมีหน้าที่สร้างความสมดุลใน ธรรมชาติ บันดาลให้เกิดหรือไม่เกิดความอุดมสมบูรณ์ ลมหายใจและการเคลื่อนไหวของพระศิวะเป็นลมหายใจแห่งธรรมชาติด้วยชาวฮินดูจึงให้ความเคารพนับถือรูปพระศิวะนาฏราช(พระศิวะ ราชาแห่งนาฏศิลป)ในวงการโขนละครยังนับถือพระพิราบยักษ์เป็นครูนาฏศิลปด้วยโดยมีตำนานเล่าว่าพระพิราพ เป็นคนที่ท่าร่ายรำนาฏศิลปะขึ้น แล้วสอนมนุษย์ให้เรียนรู้

บรมครูแห่งศาสตร์ทั้งปวง ผู้ประทานสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวลแก่มนุษยชาติ ย้อนรอยตำนาน " พ่อแก่ "พระฤาษี ๑๐๘ องค์ เคล็ดการไหว้ครู บูชาครู

การไหว้ครูและครอบครู
การไหว้ครู และครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี"ประเพณีการไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรมต่อๆกันมาให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การที่จะกระทำ กิจการใดๆ ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากครู แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำเขามาก็ ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งนั้น ในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการเรียนศิลปการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ"พิธีไหว้ครูที่ปฏิบัติกันเคร่งครัด ได้แก่ พิธีไหว้ครูอาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ และ นาฏศิลป์ ถือกันว่าเพลงหน้าพาทย์ ดนตรีบางเพลง และท่ารำบางท่า เป็นเพลง และท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ายังไม่ได้ทำพิธีไหว้ครู และพิธีครอบเสียก่อนแล้ว บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่กล้าสอนกล้าหัดให้ศิษย์ ด้วยเชื่อกันว่าจะเกิดผลร้ายแก่ครูผู้สอน และแก่ศิษย์เองด้วย ถ้าเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นก็จะกล่าวกันว่า "ครูแรง" เหตุนี้โรงเรียนนาฏศิลปของกรมศิลปากรจึงได้กำหนดงานพิธีไหว้ครูและพิธีครอบขึ้นเป็นประจำปีละครั้งในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูในตอนต้นภาคเรียนแรกแต่ละปีการศึกษา ทำนองเดียวกับโรงเรียนต่างๆ เพียงแต่มีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์เพิ่มจากไหว้ครูธรรมดา และมีพิธีครอบประกอบด้วย เพื่อครู ศิษย์ และนักเรียนจะได้เริ่มสอนเริ่มเรียนกันไปอย่างเรียบร้อย และสบายใจ"
ความเชื่อ
การจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก ๑ วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน ๙ เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน
พิธีไหว้ครู หมายถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ และพร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ
พิธีครอบครู เป็นพิธีที่นิยมกันมาช้านาน หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษา คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ พิธีครอบครูนั้นนับว่าเป็นการทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจว่าครูจะคุ้มครองรักษา ครูจะช่วยเหลือแม้จะรำผิดพลาดไปบ้าง จะทำให้ผู้เรียนไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้ทำพิธีครอบครูแล้ว ครูคงให้อภัยในความผิดพลาด อีกประการหนึ่งพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์ ก่อนจะรำผู้ศึกษาต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำได้

บรมครูแห่งศาสตร์ทั้งปวง ผู้ประทานสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวลแก่มนุษยชาติ ย้อนรอยตำนาน " พ่อแก่ "พระฤาษี ๑๐๘ องค์ เคล็ดการไหว้ครู บูชาครู

บรมครูแห่งศาสตร์ทั้งปวง ผู้ประทานสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวลแก่มนุษยชาติ ย้อนรอยตำนาน " พ่อแก่ "พระฤาษี ๑๐๘ องค์ เคล็ดการไหว้ครู บูชาครู

การจัดตั้งหิ้งบูชา
การจัดตั้งหิ้งบูชา.จะต้องหันหน้าไปทางทิศ ๑.เหนือ ๒.ตะวันออกเฉียงเหนือ ๓.ตะวันออก เท่านั้น ที่เหลืออีก๕ ทิศเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล ควรไว้รองจากพระพุทธรูป การจัดตั้งเครื่องสังเวยหน้าหิ้งบูชาควรจัดข้าวน้ำ ผลไม้ให้ครบองค์กร กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน ขนุน ขนมถ้วยฟู ต้มแดง ต้มขาว คันหลาว หูช้าง ขนมถั่ว-ขนมงา เครื่องกระยาบวช ทั้ง ๕ คือ ๑.กล้วยบวชชี ๒.ฟักทองแกงบวช ๓.เผือกแกงบวช ๔.มันแกงบวช ๕.ขนมบัวลอย จะทำรวมกันเป็นที่เดียวก็ได้ ถ้าหากมีทุเรียน ทับทิม ฟักเงิน(ฟักทอง) แตงไทย แตงกวา แตงโม สัปปะรด จะเป็นมงคลยิ่ง โดยเฉพาะกล้วยควรใช้กล้วยน้ำไทย หาไม่ได้ก็ใช้ กล้วยน้ำว้าพิธีเช่นนี้จะขาดไม่ได้คือ บายสีปากชาม ถ้าหากว่าจะทำได้มากกว่านี้ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีมากขึ้นอีก เช่น บายสีพรหม บายสีเทพ บายสีตอ เป็นต้นการจัดตั้งหิ้งถ้าหากเจตนาอัญเชิญเทพไม่ควรจะมีของคาว ควรจะจัดเพิ่มให้มีนม เนย เผือก มัน ทั้งดิบ และสุก ถั่วงา ทั้งสุกและดิบ ให้ครบทุกๆ พิธี จะต้องมี น้ำร้อน น้ำชา หมากพลู บุหรี่ น้ำเปล่า ตั้งเอาไว้ประจำไม่ต้องลา ทั้งกล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน ปูอาสนะด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์เครื่องใช้ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรทุกอย่างจะต้องเป็นของใหม่ๆ ทุกอย่าง
ผลไม้ที่เป็นมงคล
๑.ขนุน ๒.ทุเรียน ๓.กล้วยหอม ๔.ทับทิม ๕.ลูกอินทร์ ๖.ลูกจันทร์ ๗.องุ่น ๘.แตงไทย ๙.มะม่วง ๑๐.ลูกเกตุ ๑๑.ลูกตาล ๑๒.ลูกอินทผลัม ๑๓.แอปเปิ้ล ๑๔.ลิ้นจี่ ๑๕.ลำใย ๑๖.สัปปะรด
ผลไม้ที่ห้ามขึ้นหิ้งบูชา
๑.ละมุด ๒.มังคุด ๓.พุทรา ๔.น้อยหน่า ๕.น้อยโหน่ง ๖.มะเฟื่อง ๗.มะไฟ ๘.มะตูม ๙.มะขวิด ๑๐.กระท้อน ๑๑.ลูกพลับ ๑๒.ลูกท้อ ๑๓.ระกำ ๑๔.ลูกจาก ๑๕.รางสาด

วิธีบูชาพ่อแก่

นะโม ตัสสะ พะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ตัสสะ (๓ จบ)

อุกาสะ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ

อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ทุติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง

วินาสสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ตะติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา

อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม

เพิ่มเติม... ก่อนจะกระทำการสิ่งใดๆ เกี่ยวกับพระเวทย์ "พระคาถาไหว้ครูบูรพาจารย์"

บรมครูแห่งศาสตร์ทั้งปวง ผู้ประทานสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวลแก่มนุษยชาติ ย้อนรอยตำนาน " พ่อแก่ "พระฤาษี ๑๐๘ องค์ เคล็ดการไหว้ครู บูชาครู

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

panachaidanc

https://world.kapook.com/

เทวบูชา

เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน