รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://www.tnews.co.th

๑๗ มกราคม “วันโคนมแห่งชาติ” อาชีพพระราชทานจากสายพระเนตรยาวไกลของ ในหลวงร. ๙ สู่ตำนาน “นมวัวแดง”

เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยและผูกพันกับ “นมไทย-เดนมาร์ค” มาตั้งแต่เด็ก หรือบางคนเรียกว่า “นมวัวแดง” เพราะตราสัญลักษณ์ที่เป็นวัวสีแดงแม่ลูกหันหน้าเข้าหากัน จนถึงวันนี้หลายคนโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังดื่มนมไทย-เดนมาร์ค ขณะเดียวกันได้ส่งต่อความผูกพันนี้ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยเมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ ๙ แห่งเดนมาร์ก  ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยง โคนมไทย-เดนมาร์ก
 

๑๗ มกราคม “วันโคนมแห่งชาติ” อาชีพพระราชทานจากสายพระเนตรยาวไกลของ ในหลวงร. ๙ สู่ตำนาน “นมวัวแดง”

 

แต่รู้หรือไม่ว่า…กว่าจะมาเป็นนมไทย-เดนมาร์คดังเช่นทุกวันนี้ เกิดจากพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ที่ทรงเล็งเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคงและเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องบุกรุกทำไร่เลื่อนลอย จึงก่อเกิด “อาชีพโคนม” อาชีพพระราชทานที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยมายาวนานและยั่งยืน จนถึงกำกล่าวได้ว่า ในหลวง ร. ๙ คือ “พระบิดาแห่งการโคนมไทย” ผู้ให้กำเนิดอาชีพเลี้ยงโคนม
 

๑๗ มกราคม “วันโคนมแห่งชาติ” อาชีพพระราชทานจากสายพระเนตรยาวไกลของ ในหลวงร. ๙ สู่ตำนาน “นมวัวแดง”

 

๑๗ มกราคม “วันโคนมแห่งชาติ” อาชีพพระราชทานจากสายพระเนตรยาวไกลของ ในหลวงร. ๙ สู่ตำนาน “นมวัวแดง”


เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสทวีปยุโรป ในการเสด็จทรงประทับแรมอยู่ ณ ประเทศเดนมาร์ค ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์คเป็นอย่างมาก ด้วยทรงเล็งเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคงและเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป ดังพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในตอนหนึ่งว่า
“การเลี้ยงโคนมก็เป็นอาชีพที่ดีสำหรับคนไทย เหมาะกับประเทศ และถ้าใช้หลักวิชาที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีความเจริญและมีรายได้ดี”
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยจึงได้เริ่มต้นขึ้น ด้วยความร่วมมือด้านวิชาการการเลี้ยงโคนมระหว่างประเทศไทยและประเทศเดนมาร์ค โดยรัฐบาลเดนมาร์คได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย และสำรวจพื้นที่ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย พบว่าอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีความเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นสถานที่เป็นหุบเขาสวยงาม มีแหล่งน้ำสะอาด และไม่ไกลจากตลาดกรุงเทพฯ "
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ รัฐบาลเดนมาร์ค ได้ส่ง นายนิลส์ กุนน่าส์ ซอนเดอร์กอร์ด ผู้เชี่ยวชาญชาวเดนมาร์ค เพื่อมาพัฒนาพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย คือ ดร.ยอด วัฒนสินธุ์ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) คนแรก จนทำให้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย เริ่มเป็นรูปธรรม
กระทั่งในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ นับได้ว่าเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ ๙ แห่งประเทศเดนมาร์ค ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนม และศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ค อย่างเป็นทางการ
จากนั้นในปี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ รัฐบาลไทยได้รับโอนกิจการฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ค จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีชื่อว่า “องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)” พร้อมทั้งได้กำหนดให้วันที่ ๑๗ มกราคมของทุกปี เป็นวันโคนมแห่งชาติ
ที่มา FB : ชมรมคนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทย