แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

สำหรับหลักการถือปฏิบัติ”วันมาฆบูชา”ในประเทศไทยเรา พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายไว้ว่าหลักการถือปฏิบัติ”วันมาฆบูชา”ในประเทศไทยเรา เกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงยึดถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต”พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนา”โอวาทปาติโมกข์ “ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการประชุมใหญ่และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน

แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและ วัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์ จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์

๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและ ภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับ วันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง เช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔

แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติหลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

หลักการ ๓
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็น
ความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วทางกายได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกามค่ะ
ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ เด็ดขาดนะคะ
ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรมค่ะ

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกามค่ะ

การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดจาถูกกาลเทศะค่ะ
การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและ ปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วค่ะ

แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)

***สำหรับข้อนี้ ผู้เขียนขออนุญาตกล่าวบรรยายเสริมเพิ่มเติมดังนี้ คือ อยากให้คนไทยทุกคนมุ่งมั่นทำความดีทั้งทางกายวาจาและใจอยู่เป็นนิตย์ ปฏิบัติให้เป็นนิสัย อย่ามุ่งปฏิบัติแต่เพียงแค่เฉพาะในวันสำคัญตามกระแสเท่านั้น!! หน้าที่ของชาวพุทธคือการปฏิบัติตนเป็นคนดีขัดเกลาจิตใจของตนเองให้ใส่สะอาดปราศจากความมีกิเลส  เนื่องจากปัจจุบันนี้ ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่มีจิตใจที่หยาบกระด้าง มีการดำเนินชีวิตโดยประมาท ยึดเอากิเลสเป็นหลักละทิ้งความมีคุณธรรม ไม่มี หิริโอตตัปปะ ความละอายเกรงกลัวบาป สังคมสมัยนี้จึงเป็นสังคมยอดแย่มีแต่คนเห็นแก่ตัวและเห็นแต่ประโยชน์โหดเหี้ยมใจดำผิดมนุษย์ อย่างที่เราได้พบเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อโซเชียลต่างๆไม่เว้นแต่ละวัน เพราะสาเหตุที่มนุษย์เอาใจออกห่าง หลักธรรมคำสั่งสอน ทางพุทธศาสนากันเป็นจำนวนมาก ถ้าหากมนุษย์ในสังคมเมืองไทยทุกชนชั้นมุ่งเน้นการปฏิบัติดี บุคลากร ก็จะดีตามไปด้วยโดยเฉพาะสถาบันครอบครัว ควรจะยึดปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานวงศ์สกุล เพราะการเป็นแบบอย่างที่ดีล้วนนั้นมีคุณค่ามากว่าคำสั่งสอน!!****

๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ปฏิบัติสมถะผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)

อุดมการณ์ ๔
๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)

วิธีการ ๖
๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)
 
ปฏิทินวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา พ.ศ.2552 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
วันมาฆบูชา พ.ศ.2553 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 / วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีฉลู
วันมาฆบูชา พ.ศ.2554 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีขาล
วันมาฆบูชา พ.ศ.2555 ตรงกับ วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2555 / วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
วันมาฆบูชา พ.ศ.2556 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะโรง
วันมาฆบูชา พ.ศ.2557 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะเส็ง
วันมาฆบูชา พ.ศ.2558 ตรงกับ วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2558 / วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะเมีย
วันมาฆบูชา พ.ศ.2559 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 / วันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะแม
วันมาฆบูชา พ.ศ.2560 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 / วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก
วันมาฆบูชา พ.ศ.2561 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2561 / วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีระกา
วันมาฆบูชา พ.ศ.2562 ตรงกับ วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 / วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีจอ

แนะ..การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมใน “วันมาฆบูชา” (Magha Puja)

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก(อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ!! ขอบคุณที่มาของภาพข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย,ขอบคุณข้อมูลวันมาฆบูชาจาก : dhammajak.net/budday/maka.php ,และข้อมูลเพิ่มเติม,(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย: โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์