ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.partiharn.com

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

          จากละครประวัติศาสตร์ที่กำลังโด่งดังอยู่ในขณะนี้ "บุพเพสันนิวาส" ที่บอกเล่าเหตุการณ์ในสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และในละครเรื่องนี้ มีการพูดถึงและมีตัวละครสำคัญที่มีอยู่จริงในหน้าประวัติศาสตร์ไทย เช่น หมื่นสุนทรเทวา เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ละอีกมากมาย วันนี้เราจะพามารู้จักกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีการพูดถึงและเป็นตัวละครในเรื่อง บุพเพสันนิวาส

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

๑. หมื่นสุนทรเทวา ภายหลังได้อวยยศเป็น ขุนศรีวิสารวาจา ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญทางการทูตและได้ร่วมอยู่ในคณะทูตที่ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๙ โดยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์

 

 

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

๒. เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา 
เมื่อพ.ศ. ๒๒๑๘ เดินทางมายังอยุธยาในฐานะพ่อค้า เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่งล่าม นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหเสนาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในเวลาอันรวดเร็ว

        พ.ศ. ๒๒๒๕ ฟอลคอนแต่งงานกับดอญา มารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า) ซึ่งภายหลัง เป็นผู้ประดิษฐ์ขนมไทยหลายอย่าง ความใกล้ชิดระหว่างเจ้าพระยาวิชเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวเจ้าพระยาวิชเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าเจ้าพระยาวิชเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นข้ออ้างให้พระเพทราชาซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจกับนโยบายด้านต่างประเทศที่ส่งผลให้มีชาวต่างชาติมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากมาย วางแผนให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ในลพบุรี ต่อมาเมื่อ สมเด็จพระเพทราชา ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ได้สั่งจับกุมและประหารชีวิตเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เพราะเชื่อว่าเป็นชาวต่างชาติต้องการฉวยโอกาสใช้อิทธิพลควบคุมราชอาณาจักร

 

 

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

๓. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต (บัว) ซึ่งเป็นพระนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับขุนนางเชื้อสายมอญ เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญ และท่านได้เดินทางไปพร้อมกับเชอวาเลีย เดอ โชมองต์ โดยขณะนั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็นออกพระวิสุทธิสุนทร ท่านได้อยู่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา ๖ เดือนท่านจึงกลับสยาม ภายหลังท่านถึงแก่อสัญกรรมในสมัยสมเด็จพระเพทราชา

        โกษาปานเดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ. ๒๒๒๘ ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เมื่อ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๙ และเดินทางกลับเมื่อ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๒๓๐ รวมเดินทางไปกลับอยุธยาฝรั่งเศสทั้งหมด ๑ ปี ๙ เดือน โกษาปานเป็นนักการทูตที่สุขุม ไม่พูดมาก ละเอียดลออในการจดบันทึกที่ได้พบเห็นในการเดินทางครั้งนั้น สำหรับการเข้าเฝ้าในครั้งนี้ ออกพระวิสุทธิ์สุนทร (ปาน) ได้กระทำหน้าที่เป็นผู้แทนของราชสำนักอยุธยาอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีการเข้าเฝ้า จนชาวฝรั่งเศสได้กล่าวยกย่องชื่นชมคณะทูตไทย ซึ่งถือว่าการไปเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

        การเจริญสัมพันธไมตรีของพระวิสุทธิ์สุนทร (ปาน) และคณะราชทูตในครั้งนั้นได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในทวีปยุโรป เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินทางด้านตะวันออกแต่งคณะราชทูตไปยังสำนักฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ทรงจัดการรับรองคณะราชทูตจากกรุงศรีอยุธยาอย่างสมเกียรติยศ และโปรดให้จัดทำเหรียญที่ระลึก และมีการเขียนรูปราชทูตไทยเข้าเฝ้า พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศสเป็นที่ระลึกด้วย ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ได้รับการยกย่องสรรเสริญในเรื่องความสามารถทำให้ไทยเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ และจากบุคลิกของท่านที่เฉลียวฉลาด มีมารยาทเรียบร้อย ช่างสังเกต ช่างจดจำ พูดจาหลักแหลมคมคาย ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการประกาศชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศชาติ จากผลงาน การเป็นหัวหน้าคณะราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสจนประสบผลสำเร็จของออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ทำให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคามของฮอลันดา

 

 

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

๔. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นบุตรชายคนโตของเจ้าแม่วัดดุสิต (พระนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) กับ ขุนนางเชื้อสาย มอญ ท่านเกิดในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีน้องชาย ๑ คน คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และน้องสาว ๑ คน ชื่อ แช่ม หรือ ฉ่ำ

         ท่านและน้องชายต่างเป็นข้าหลวงคนสำคัญของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวคือ เมื่อกลุ่มขุนนางอาวุโสซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้การช่วยเหลือให้สมเด็จพระนารายณ์ได้ขึ้นครองราชย์หมดอำนาจลง กลุ่มขุนนางหนุ่มซึ่งนำโดยท่านและน้องชายจึงขึ้นมามีอำนาจแทน ท่านได้เป็น แม่ทัพ ใน ราชการสงคราม หลายครั้งในต้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท่านถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. ๒๒๒๖

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

๕. ท้าวทองกีบม้า มีชื่อตัวว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์  เป็นสุภาพสตรีช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภรรยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เธอมีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ตำแหน่ง "ท้าวทองกีบม้า" ว่ากันว่านางได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง จนได้สมญาว่าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" แต่ก็มีกระแสคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า ขนมโปรตุเกสเหล่านี้แพร่หลายมาพร้อมกับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า ๑๕๐ ปีก่อนที่นางจะเกิดเสียอีก เรื่องที่นางดัดแปลงขนมไทยจากตำรับโปรตุเกสเป็นคนแรกเห็นจะผิดไป
 

 

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

๖. ออกญาโหราธิบดี บุคคลสำคัญของวงการแต่งหนังสือในสมัยพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้นิพนธ์หนังสือ “จินดามณี” ในปี พ.ศ.๒๒๑๕ ซึ่งถือเป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ ฯลฯ และจากการที่จินดามณีเป็นแบบเรียนของไทย ทำให้มีหนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อๆ มาใช้ชื่อ “จินดามณี” เช่นเดียวกัน เช่น จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นต้น

 

 

พลิกตำนานประวัติศาสตร์!! เปิดประวัติ ตัวละครจาก "บุพเพสันนิวาส" บุคคลสำคัญในราชสำนัก ที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สยาม!!

 

๗. ศรีปราชญ์ กวีเอกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เข้ารับราชการตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ และกลายเป็นกวีเอกของพระนารายณ์มหาราช แต่สุดท้ายด้วยความสามารถที่เก่งกาจ ทำให้มีผู้คิดปองร้าย ใส่ความศรีปราชญ์ จนถูกสั่งเนรเทศและประหารชีวิตในที่สุด ศรีปราชญ์มีผลงานชิ้นสำคัญ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :  th.wikipedia.org

ขอบคุณภาพจาก : ช่อง 3