ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 

 

         วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ก่อสร้างพร้อมกับสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ (พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยก่อสร้างวัดในเขตพระราชฐานและได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากกรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาวมาประดิษฐานไว้ ณ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคล ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงทรงแห่อัญเชิญจากวัดอรุณราชวรารามมาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดารามพร้อมกับทรงสร้างบุษบกทองคำเพื่อทรงพระแก้วมรกต

  

     เหรียญพระแก้วมรกตได้จัดสร้างเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๖ เนื่องในพิธีฉัตรมงคล ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยสั่งจากบริษัทธอมัสเดอราลู เบ็น (บล็อกนอก) มีเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง และนิเกิล ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานครครบ ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ.๒๔๗๕ โดยมี สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานคณะกรรมการ


รำลึก..พระราชศรัทธาใน ร.๗!! ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วครั้งใหญ่ เผย..เหรียญพระแก้วในตำนาน ๔๓ เกจิดังปลุกเสก ๔ จตุรสงฆ์ “จาดจงคงอี๋” มาครบ!!

(เนื้อทองคำ)

รำลึก..พระราชศรัทธาใน ร.๗!! ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วครั้งใหญ่ เผย..เหรียญพระแก้วในตำนาน ๔๓ เกจิดังปลุกเสก ๔ จตุรสงฆ์ “จาดจงคงอี๋” มาครบ!!

 

 

            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รัฐบาลอนุญาตเงินแผ่นดินอุดหนุน ส่วนที่ยังขาดอยู่ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรรมการจัดดำเนินการเรี่ยไรพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลร่วมกัน

            โดยให้กระทรวงพระคลัง มหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก ปรากฏว่ามีผู้บริจาคเงินเป็นจำนวนมาก จนต้องมีการระดมกำลังจัดสร้าง เหรียญพระแก้วมรกต ที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๕๐ ปี เป็นการใหญ่ โดยได้ว่าจ้างหลายบริษัททำการผลิตเหรียญขึ้น (บล็อกใน) โดยมีบล็อกเพาะช่าง ฮั่งเตียนเซ้ง สุวรรณประดิษฐ์ มีเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง และนิเกิลเช่นเดียวกันกับปี พ.ศ. ๒๔๖๑

รำลึก..พระราชศรัทธาใน ร.๗!! ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วครั้งใหญ่ เผย..เหรียญพระแก้วในตำนาน ๔๓ เกจิดังปลุกเสก ๔ จตุรสงฆ์ “จาดจงคงอี๋” มาครบ!!

 

        ลักษณะเหรียญเป็นแบบปั้มกลมแบนขอบเลียบ ด้านหน้าเหรียญ ภายในซุ้มเรือนแก้วเป็นรูป พระแก้วมรกต ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และดอกไม้ อยู่โดยรอบ ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรคมีองค์  ๘  อักขระขอมที่ปรากฏคือ

 

     ทิ คือ สัมมาทิฐิ

     สํ คือ สัมมาสังกัปโป

     วา คือ สัมมาวาจา

     กํ คือ สัมมากัมมันโต

     อา คือ สัม อาชิโว

     วา คือ สัมมา วายาโม

     ส คือ สัมมา สติ

     สํ คือ สัมมาสมาธิ

* รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พ.ศ.๒๔๗๕ *

 (อ้างอิงจากวัดพระแก้วโดยตรง)

รำลึก..พระราชศรัทธาใน ร.๗!! ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วครั้งใหญ่ เผย..เหรียญพระแก้วในตำนาน ๔๓ เกจิดังปลุกเสก ๔ จตุรสงฆ์ “จาดจงคงอี๋” มาครบ!!

๔ จตุรสงฆ์แห่งสงครามอินโดจีน จาดจงคงอี๋

๑.พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร

๒. สมเด็จพระวันรัต ( แพ ติสสเทโว ) วัดสุทัศน์

๓. พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม

๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์

๕. หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา

๖. หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี

๗. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

๘. หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี

๙. หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ

๑๐. หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี

๑๑. หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี

๑๒. เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส

๑๓. หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม

๑๔. หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี

๑๕. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่

๑๖. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก

๑๗. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา

๑๘. หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี

๑๙. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง

๒๐. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์

๒๑. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม

๒๒. หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี

๒๓. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี

๒๔. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี

๒๕. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์

๒๖. หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี

๒๗. หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

๒๘. หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สุมทรสงคราม

๒๙. หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา

๓๐. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม

๓๑. หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์

๓๒. หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ

๓๓. หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี

๓๔. หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง

๓๕. หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว

๓๖. หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี

๓๗. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา

๓๘. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

๓๙. หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง พิจิตร

๔๐. หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี

๔๑. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

๔๒. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก

๔๓. หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์

 

*** เนื้อหาทำเพื่อเผยแพร่ความรู้ มิใช่เพื่อการค้าขายวัตถุมงคลแต่อย่างใด***