ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

พระคาถาแก้วสารพัดนึก พระราชสังวราภิมณฑ์(หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวรรณโณ)

ฉบับพระวิโรจน์ญาณวงศ์ วัดประดู่ฉิมพลี

จัดดอกไม้ จุดธูปเทียนบูชาแล้วอธิษฐานจิตให้ผ่องใสเกิดสมาธิ

ตั้งนะโมสามจบ

ตามด้วยบทไตรสรณาคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(คำสวด) นะโม เม สัพพะพุทธานัง  อุปปันนานัง มะเหสินัง

ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส

สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ

สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน

โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม

ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี

ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฎิปุคคะโล

สุชาโต สัพพะ โลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ

อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท

สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วาทะตัง วะโร

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม

สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก

กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห

กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว

*พุทโธ สัพพัญญุตะญาโณ มหาชนานุ กัมปะโก

ธัมโม โลกุตตะโร วะโร สังโฆ มังคะผะลัฎโฐ จะ

อินทะสุวัณณะ ปารมี เถโร อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง

เอตัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา

อันตะรายา จะ นัสสันตุ ปุญญะลาภะ มะหาเตโช

สิทธิกิจจัง สิทธิลาโภ สัพพะ โสตภี ภะวันตุเม ติ

* สวด ๓,๗ หรือ ๙ จบ

พระคาถาแก้วสารพัดนึก "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี"พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพอิทธิปาฏิหาริย์..อธิษฐานจิตให้ผ่องใส ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

ฉบับของวัดถ้ำสิงโตทอง (วัดหลวงปู่โต๊ะ) อ.จอมบึง จ.ราชบุรีจักดอกไม้ จุดธูป เทียน บูชา แล้วอธิษฐานจิตให้ผ่องใส เกิดสมาธิตั้งนะโม ๓ จบ ตามด้วย พุทธัง ธัมมัง สังฆัง คัจฉามิ

นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง

ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส

สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ

สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน

โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม

ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี

ประทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล

สุชาาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ

อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโธ

สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม

ลิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก

กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห

กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว

ธัมโม โลกุตตะโร วะโร สังโฆ มัคคะผะลัฏโฐ จะ

อินทะสุวัณณะ เถโร จะ อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง

เอตัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา

อันตะรายา จะ นัสสันตุ ปุญญะลาภะ มะหาเตโช

สิทธิกิจจัง สิทธิลาโภ สัพพะ โสตถี ภะวันตุ เม ติ

สวด ๓ , , หรื่อ ๙ จบ

พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายพลอย และนางทับ รัตนคอน มีพี่น้องอยู่ร่วมกัน ๒ คน ซึ่งถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่ตั้งนานแล้ว ในวัยเด็ก เด็กชายโต๊ะ ได้เข้าเรียนวิชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว เห็นความขยันหมั่นเพียรของเด็กชายโต๊ะ จึงได้พาเด็กชายโต๊ะ มาฝากอยู่กับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้น ส่วนนายเฉื่อยก็ไม่ได้ตามมาด้วย คงอยู่ที่วัดเกาะแก้วเหมือนเดิม ท่านได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีอยู่เป็นเวลาอยู่ ๔ ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปการะท่านต่อมา เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็มาเรียนศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งต่อมามีพระอธิการคำ เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา พร้อมทั้งเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีอีกท่านหนึ่งด้วย จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ ๒๐ ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๐ ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า อินทสุวัณโณ หลงจากนั้น ท่านได้เรียนศึกษาปฏิบัติคันทธุระ วิปัสสนาธุระ หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนมีความเพียรพยายาม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาพระอธิการคำ ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

พระคาถาแก้วสารพัดนึก "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี"พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพอิทธิปาฏิหาริย์..อธิษฐานจิตให้ผ่องใส ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

ต่อมาหลวงปู่โต๊ะ ได้ออกธุดงค์จาริกไปทั่วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ท่านได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรม โดยได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เรียนวิชาพุทธาคม และได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และก็ได้ธุดงค์ไปยังภาคเหนือเพื่อศึกษาวิชากับพระอาจารย์อีกหลายท่าน และในขณะที่ท่านเดินธุดงค์ ท่านก็ได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชสิทธาราม ส่วนสหธรรมิกของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม และต่อจากนั้น ท่านก็เดินทางไปยังภาคใต้ ไปที่จังหวัดปัตตานี และเมื่อหลวงปู่ท่านกลับมาที่ จังหวัดธนบุรี กลับมายังวัดประดู่ฉิมพลี ท่านก็ได้สร้างพระพุทธบาทจำลอง

หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนที่มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม มีกริยามารยาทที่งดงาม มีความสุภาพอ่อนโยน มีความเมตตากรุณาต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้ และท่านได้เคยเจอเกี่ยวกับโรคระบาด หลวงปู่ท่านเห็นคนหลายคนไม่สบาย ท่านก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะท่านเองก็เป็นโรคนี้ด้วยเหมือนกัน ท่านจึงตั้งจิตว่า หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านจงหายจากโรคนี้ แต่ถ้า ท่านหมดบุญแล้ว ก็ขอให้ตายซะ ในตอนกลางคืน ท่านได้นิมิตว่า หลวงพ่อบ้านแหลมได้นำน้ำพระพุทธมนต์มาเจริญให้ ตื่นมาท่านก็มาเจริญน้ำพระพุทธมนต์ และสุดท้ายท่านก็หายจากโรคนี้

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่านได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ตั้งแต่ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีผู้คนมานิมนต์ท่านให้ออกมาให้พร หรือ ขอความช่วยเหลือ ท่านจึงไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน สุขภาพท่านจึงไม่ค่อยแข็งแรง แต่ยังพอฉันอะไรได้มาก แม้จะรักษาอย่างดีเท่าใด แต่สุขภาพ กายสังขารของท่านก็ไม่อาจจะทนไหว ท่านได้อาพาธครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๔ และก่อนมรณภาพได้เพียง ๗วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ คณะลูกศิษย์ทีเป็นพยาบาล ได้มาถวายรังนกอีก แต่คราวนี้สังเกตได้ว่า แขนของท่าน บวม ท่านอยู่ได้จนกระทั่งเมื่อเวลา ๙.๕๕ น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ ๙๓ ปี ๗๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา ๑๐๐ ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗วัน๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ

พระคาถาแก้วสารพัดนึก "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี"พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพอิทธิปาฏิหาริย์..อธิษฐานจิตให้ผ่องใส ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

http://tythailandlives.blogspot.com/

https://th.wikipedia.org/