ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

จะรักษาไว้คงเดิมมากที่สุด!! กรมศิลปฯ อยุธยาฯ แจงดราม่า..รื้ออิฐเก่า ยัน..ไม่ได้รื้อ แค่บูรณะที่นำมาทดแทน..เจตนาให้โบราณสถานคงอยู่คู่เมืองไทย

 

          จากการที่มีผู้โพสข้อความแสดงความเป็นห่วงเรื่องการบูรณะโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม โดยเป็นการเข้าใจผิดว่ามีการรื้ออิฐเก่านั้น ทางสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ขอชี้แจงว่า ในโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาวัดไชยวัฒนารามในปีพ.ศ.๒๕๖๑ ไม่ได้ดำเนินการรื้ออิฐเก่าจนทำให้โบราณสถานเสื่อมค่า อย่างที่มีการเป็นห่วงแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการในลักษณะสองส่วนคือ 

จะรักษาไว้คงเดิมมากที่สุด!! กรมศิลปฯ อยุธยาฯ แจงดราม่า..รื้ออิฐเก่า ยัน..ไม่ได้รื้อ แค่บูรณะที่นำมาทดแทน..เจตนาให้โบราณสถานคงอยู่คู่เมืองไทย

 

         ส่วนที่หนึ่ง ได้นำอิฐที่ผลิตสำหรับการบูรณะเมื่อปี ๒๕๓๔ และ ๒๕๓๕ ที่ชำรุดเสื่อมสภาพออก แล้วเสริมแทนที่ด้วยอิฐใหม่ที่มีคุณภาพและลักษณะเหมือนเดิม
ส่วนที่สอง ได้ดำเนินการทำทางเดินสำหรับผู้เยี่ยมชมโบราณสถานตามเส้นทางที่เหมาะสม โดยทั้งนี้ เป็นทางเดินที่จะทำการวางอิฐที่มีลักษณะให้แตกต่างจากอิฐโบราณ อย่างไรก็ตามในบริเวณที่เป็นทางเดินนั้นได้ดำเนินการสำรวจและศึกษาทางโบราณคดีแล้วไม่มีผลกระทบต่อแนวโบราณสถานแต่อย่างใด

         ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวทางสำนักฯ ได้มีการตรวจสอบสภาพอิฐโบราณที่มีการชำรุดทรุดโทรมที่เกิดจากการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ซึ่งอาจมีการดำเนินการซ่อมแซมอิฐโบราณโดยวิธีทดแทนอิฐเดิมด้วยอิฐใหม่ที่มีลักษณะคล้ายเดิมให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องและรักษาสภาพความเป็นโบราณสถานให้คงอยู่และยั่งยืน ตามกระบวนการอนุรักษ์แบบสาก

 

จะรักษาไว้คงเดิมมากที่สุด!! กรมศิลปฯ อยุธยาฯ แจงดราม่า..รื้ออิฐเก่า ยัน..ไม่ได้รื้อ แค่บูรณะที่นำมาทดแทน..เจตนาให้โบราณสถานคงอยู่คู่เมืองไทย

 

          สำหรับวัดไชยวัฒนาราม หรือ วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๓ โดยเดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของพระราชมารดาที่ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าปราสาททองได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ พระองค์จึงได้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ และอีกประการหนึ่งวัดนี้อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือเขมรด้วย จึงทำให้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งมาจากปราสาทนครวัด

         วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้ ก่อนกรุงแตก พ.ศ. ๒๓๑๐ วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง วัดไชยวัฒนารามได้ถูกปล่อยทิ้งให้ร้างเรื่อยมา บางครั้งมีผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๕

จะรักษาไว้คงเดิมมากที่สุด!! กรมศิลปฯ อยุธยาฯ แจงดราม่า..รื้ออิฐเก่า ยัน..ไม่ได้รื้อ แค่บูรณะที่นำมาทดแทน..เจตนาให้โบราณสถานคงอยู่คู่เมืองไทย

 

สถาปัตยกรรม

ฐานภายใน   

         วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน ๑๒๐ องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม (เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูป ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝาเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน

พระอุโบสถ

         พระอุโบสถ สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง ๓ ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพิ่มในภายหลัง

เมรุทิศเมรุราย

         เมรุทิศเมรุราย ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น ๘ องค์ โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน ๑๒ ภาพ ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๗ ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่ง

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา

                           https://th.wikipedia.org/wiki/วัดไชยวัฒนาราม