ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมายได้ที่ https://www.facebook.com/partiharn99/

ประวัติหลวงปู่บุดดา ถาวโร

บ้านหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี คือสถานที่กำเนิดของหลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอริยสงฆ์อีกรูปหนึ่งของสยามประเทศ พ่อของท่านชื่อน้อย แม่ชื่ออึ่ง นามสกุล มงคลทอง ประกอบอาชีพทำนา หลวงปู่บุดดาถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม ปี พ.ศ.๒๔๓๗ มีพี่น้องร่วมท้อง ๗ คน เป็นชาย ๔ หญิง ๓

ในวัยเด็ก ท่านมีชื่อว่า "มุกดา" หรือบุดดา มงคลทอง เมื่อเจริญวัยเติบโตขึ้นพอรู้ความ ดูเหมือนว่าท่านจะมีความรักความรู้สึกผูกพันกับผู้พ่อเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับพ่อของท่านซึ่งมีความเมตตา เอ็นดูลูกชายตัวน้อยคนนี้มากเช่นกัน และในวัยเด็กนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กชายบุดดาไม่ชอบทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ตัวเล็กๆ ให้ได้รับความลำบากเดือดร้อน ยิ่งเป็นการฆ่าทำลายชีวิตสัตว์ต่างๆ ด้วยแล้ว เด็กชายบุดดาจะไม่แตะต้องเอาเสียเลย

ซึ่งวิถีชีวิตของชาวชนบทบ้านไร่บ้านนา ย่อมหลีกเลี่ยงการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่ค่อยได้ เนื่องจากอาหารสดอาหารคาวประเภทเนื้อสัตว์ได้แก่ ปู ปลา กบ เขียด ถ้าไม่เสาะหาแล้วฆ่ากินเอง ก็ไม่รู้จะไปซื้อได้ที่ไหน เพราะสมัยเมื่อเกือบ ๑๐๐ ปีก่อนนั้น อาหารพวกนี้มีอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ ค่อนข้างเหลือเฟือ แต่ละครอบครัวต่างก็ออกไปหาเอามากินกันทั้งนั้น ไม่มีใครขาย ไม่มีใครซื้อ แต่เด็กชายบุดดาไม่ชอบเรื่องตกปลา สุ่มปลา หรือนึกสนุกขอตามผู้ใหญ่ออกไปหากบ เขียด เช่นเด็กคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน

พิสูจน์นิมิต สุดอัศจรรย์ !! "หลวงปู่บุดดา" พระอริยผู้ระลึกชาติได้ถึง ๗ ชาติ ตั้งแต่วัยเยาว์...พบเจอ "หัวกะโหลกตัวเอง" เมื่อชาติที่แล้ว !!

เมื่อหลวงปู่บุดดา ถาวโร เติบโตจนอายุได้ ๑๐ ปี มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกุศลจิตที่ท่านเคยสร้างสมไว้ในอดีตชาติ ทำให้เกิดระลึกชาติในอดีตขึ้นมาได้ กล่าวคือ วันหนึ่งท่านไปทำความผิดตามประสาเด็กมา ผู้เป็นพ่อจึงลงไม้ลงมือตีเอาเจ็บๆ หลวงปู่บุดดาหรือเด็กชายบุดดาก็วิ่งหนีร้องไห้เสียใจออกจากบ้าน ร้องไห้ไปตะโกนดังๆ ไปด้วยว่า

"พ่อโกหก พ่อโกหก พ่อโกหก"

พ่อได้ยินก็ไม่เข้าใจว่าลูกชายต่อว่าท่านว่าโกหกทำไม เพราะท่านไม่ได้พูดโกหกอะไรไว้ ต่อมาแม่เข้ามาปลอบแล้วถามว่าลูกไปต่อว่าพ่อ ว่าโกหกเรื่องอะไร เด็กชายบุดดาจึงเล่าให้ฟังว่า

"ชาติก่อนพ่อน้อย พ่อของท่านเกิดเป็นพี่น้องกัน พ่อเป็นพี่ชายท่านเป็นน้องชาย พี่ชายในชาติก่อนรักท่านมาก และท่านก็รักพี่ชายมากดุจเดียวกัน จะไปไหนก็มักจะไปด้วยกันเสมอ พี่ชายในอดีตชาติเคยบอกท่านบ่อยๆ ว่า "จะไม่ทิ้งกัน จะไม่ตีกัน" มาเกิดด้วยกันชาตินี้ พี่ชายเกิดเป็นพ่อ ท่านเกิดเป็นลูก เมื่อเคยสัญญากันมาตั้งแต่ชาติก่อนแล้วว่า "จะไม่ทิ้งกัน จะไม่ตีกัน" ทำไมถึงต้องมาตีเจ็บๆ อย่างนี้

พิสูจน์นิมิต สุดอัศจรรย์ !! "หลวงปู่บุดดา" พระอริยผู้ระลึกชาติได้ถึง ๗ ชาติ ตั้งแต่วัยเยาว์...พบเจอ "หัวกะโหลกตัวเอง" เมื่อชาติที่แล้ว !!

เมื่อพ่อทราบว่าลูกชายคนนี้ระลึกชาติได้ และมีเรื่องราวผูกพันกันมาเป็นอย่างไรท่านก็เสียใจ ตั้งแต่นั้นพ่อก็ไม่เคยตีเด็กชายบุดดาอีกเลย และเรื่องที่เด็กชายบุดดาระลึกชาติได้ ก็เป็นที่เล่าขานกันในหมู่ญาติด้วยความอัศจรรย์ใจของทุกคน หากไม่มีเหตุการณ์ที่พ่อน้อย พ่อของหลวงปู่ตีท่านเมื่อครั้งเป็นเด็กๆ คงไม่มีใครรู้ว่าท่านระลึกชาติได้ และไม่เพียงแต่จะรำลึกถึงอดีตชาติ เมื่อครั้งเกิดร่วมกับพ่อ โดยเกิดเป็นพี่น้องกันชาติเดียวเท่านั้น หลวงปู่บุดดายังระลึกชาติได้ถึง ๗ ชาติ แต่ละชาตินั้นได้เกิดเป็นเพศชายทั้งหมด ซึ่งวนเวียนเกิดแล้วตายตายแล้วเกิด ระหว่าง ๒ ฝั่งแม่น้ำโขงคือแผ่นดินไทยและแผ่นดินลาว

ในแต่ละชาติส่วนใหญ่ท่านมักจะตายเสียตั้งแต่อายุยังน้อยประมาณว่ามีอายุระหว่าง ๑๕-๑๙ ปีก็ตายแล้ว สาเหตุที่ทำให้ตายก็คือไข้ป่า (มาลาเรีย) เพราะในสมัยนั้นไม่มียาบำบัดรักษาโรคโดยตรง ต้องอาศัยแต่ตัวยาสมุนไพรรักษากันไปตามมีตามเกิด หากร่างกายไม่แข็งแรงจริงๆ ก็มักไม่ค่อยรอด และในหลายชาติซึ่งหลวงปู่บุดดาตายเมื่อมีอายุไม่มากนัก ทำให้ไม่มีโอกาสบรรพชาหรืออุปสมบทอย่างน่าเสียดาย ท่านได้เล่าไว้ว่า เมื่อตายที่ตำบลใดก็มักจะเกิดใหม่ที่ตำบลนั้นอีก

พิสูจน์นิมิต สุดอัศจรรย์ !! "หลวงปู่บุดดา" พระอริยผู้ระลึกชาติได้ถึง ๗ ชาติ ตั้งแต่วัยเยาว์...พบเจอ "หัวกะโหลกตัวเอง" เมื่อชาติที่แล้ว !!

ในสมัยเป็นเด็กและระลึกชาติได้นั้น หลวงปู่บุดดาจดจำเรื่องราวในอดีตชาติครั้งหนึ่งได้เป็นพิเศษ กล่าวคือในชาตินั้นท่านเกิดเป็นชาวลาวอีกฟากหนึ่งของแม่น้ำโขง เมื่อท่านเป็นเด็กๆ ได้พำนักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่นอกนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว สมัยนั้นขาดแคลนในเรื่องยารักษาโรคอย่างหนัก ตลอดจนความรู้ทางการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่มี หากร่างกายอ่อนแอเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา จำเป็นต้องใช้แต่ยาสมุนไพรรักษากันไปตามมีตามเกิด ด้วยเหตุนี้ในอดีตชาตินั้นท่านจึงเสียชีวิตนับแต่อายุยังน้อย ไม่ทันเจริญวัยได้บรรพชาหรืออุปสมบท ก็ต้องมาตายไปอย่างอนาถ

ภาพนิมิตในอดีตชาติดังกล่าว ท่านเห็นพ่อแม่ ญาติพี่น้องเศร้าโศกอาลัยเหลือประมาณ แล้วนำศพของท่านไปฝังไว้ในที่เปลี่ยวบริเวณป่าแห่งหนึ่ง หลุมฝังศพอยู่ตรงโคนต้นพุทราขนาดใหญ่ ผู้เป็นย่าของท่าน (มาเกิดร่วมกันอีกในชาติปัจจุบัน) ซึ่งเป็นผู้มีฐานะ มีอันจะกินเคยตั้งความหวังว่าจะส่งเสริมทำนุบำรุงหลานชาย (คือหลวงปู่บุดดาในอดีตชาติ) ให้เจริญด้วยวิชาความรู้และฐานะ แต่หลานชายกลับมาเสียชีวิตไปก่อน ทั้งๆ ที่มีอายุไม่เท่าไร ย่าของท่านดูเหมือนจะโศกเศร้าเสียใจอย่างหนัก

ภาพนิมิตต่อมาแสดงถึงกาลเวลาที่ล่วงเลยไป ลมฝนคงจะค่อยๆ ชะดินเหนือหลุมศพทลายไหลไปเรื่อยๆ กระทั่งกะโหลกศีรษะของท่านโผล่พ้นมูนดินขึ้นมาขาวโพลน และบริเวณนั้นก็รกเรื้อไปด้วยพฤกษชาติดารดาษแน่นขนัด กลายเป็นป่ารกชัฏซึ่งไม่มีผู้คนกล้ำกรายเข้าไปเลย หลวงปู่บุดดาจดจำสถานที่ฝังศพของท่าน กระทั่งหัวกะโหลกผุดโผล่ขึ้นมาได้อย่างแม่นยำ

พิสูจน์นิมิต สุดอัศจรรย์ !! "หลวงปู่บุดดา" พระอริยผู้ระลึกชาติได้ถึง ๗ ชาติ ตั้งแต่วัยเยาว์...พบเจอ "หัวกะโหลกตัวเอง" เมื่อชาติที่แล้ว !!

ซึ่งในกาลต่อมา เนื้อหาตรงนี้ ผู้เรียบเรียงประวัติหลวงปู่ "นาวาเอก ไชยวัฒน์ สุพัฒนานนท์" ได้เล่าเพิ่มเติมไว้ในหัวข้อว่า "พบซากศพตนเองในอดีต" ว่า คราวนี้ท่านได้สอบดูนิมิตสมัยเด็ก ๆ ของท่านว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่นอกนครเวียงจันทร์ไม่ไกลนัก ซึ่งเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว เขาก็นำเอาศพในอดีตชาติของท่านไปฝังไว้ และไม่ได้เผา ในนิมิตนั้นท่านเห็นกะโหลกศีรษะขาวโพลน โผล่ดินขึ้นมาตรงตอพุทรา ท่านจึงไปสอบดูตามนิมิต และได้พบกะโหลกศีรษะมนุษย์ ในภูมิประเทศคล้ายคลึงกัน แต่กะโหลกที่พบจริงไม่ขาวเท่าในนิมิต และตอพุทราไม่มีแล้วท่านจึงได้เผากระดูกนั้นด้วยตนเอง 

ในช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงปู่ เมื่อครั้งที่หลวงปู่อาพาธหนัก สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับหลวงปู่เข้าเป็นคนไข้พระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ หลวงปู่บุดดา มรณภาพด้วยโรคชรา ในวันที่  ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ สิริอายุ ๑๐๐ ปี ๗ วัน ๗๒ พรรษา ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ

พิสูจน์นิมิต สุดอัศจรรย์ !! "หลวงปู่บุดดา" พระอริยผู้ระลึกชาติได้ถึง ๗ ชาติ ตั้งแต่วัยเยาว์...พบเจอ "หัวกะโหลกตัวเอง" เมื่อชาติที่แล้ว !!

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dharma-gateway.com , tamroiphrabuddhabat.com