เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

 

 

           ประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น มีความซับซ้อนและเป็นปริศนามาถึงจนทุกวันนี้ แต่ก็ยังมีหลักฐานในพระราชพงศาวดารที่ยืนยันได้ถึงเรื่องราวในอดีตได้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น อย่างเช่น พระราชประวัติของพระเจ้าเสือ ที่มีประเด็นที่น่าสนใจว่า พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์หรือสมเด็จพระเพทราชากันแน่ หลังจากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ได้มีตัวละครชื่อ หลวงสรศักดิ์ ซึ่งหลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่า ต่อมาท่านจะได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่มีกระแสของละครเรื่องนี้มีคนสนใจเกี่ยวกับเรื่องของประวัติศาสตร์มากขึ้น เรียกได้ว่าในละครเรื่องบุพเพสันนิวาส โดดเด่นทุกตัวละครเลยทีเดียว เพราะเนื่องจาก ตัวละครในเรื่องนี้มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ สำหรับ หลวงสรศักดิ์ ก็มีการสืบค้นข้อมูล ประวัติของท่านว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีการถกเถียงกันว่า แท้จริง หลวงสรศักดิ์ เป็นบุตรของใครกันแน่

 


       

เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

 

         สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือคำให้การชาวกรุงเก่าว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒๙ แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๔๖ - พ.ศ.๒๒๕๑

         ผู้คนในสมัยพระองค์มักเรียกขานพระองค์ว่า "พระเจ้าเสือ" เพื่อเปรียบว่า พระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย โดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงฝึกเจ้าฟ้าเพชร และเจ้าฟ้าพร ผู้เป็นพระราชโอรส ให้มีความสามารถในด้านมวยไทย, กระบี่กระบอง และมวยปล้ำอีกด้วย

 

 

เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

 

          ตามพระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระสนมพระองค์หนึ่ง ปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ว่า นางเป็นพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่ โดยคำให้การขุนหลวงหาวัด ได้ออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี

          แต่ในเวลาต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาสอดคล้องกัน กล่าวคือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ความว่า

"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"

 

 

เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

            โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น

            และพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า มะเดื่อ ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก

 

 

เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

 

           จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ.๒๒๓๓ ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๓ พระสรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ ๒๐ พรรษา แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. ๒๒๑๓

           ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเพทราชา พระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘

            ราชาภิเษก พ.ศ.๒๒๔๖ มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า "เสือ" ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว

            พระองค์ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ

 

เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย)

 

            อย่างไรก็ตาม สำหรับพระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิทรงเชื่อว่าหลวงสรศักดิ์จะเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ ทรงวินิจฉัยว่าในเมื่อหลวงสรศักดิ์รู้อยู่เต็มอกว่าสมเด็จพระนารายณ์คือพระราชบิดา เหตุไฉนจึงร่วมมือกับพระเพทราชาบิดาบุญธรรมปราบดาภิเษกชนกแท้ๆ ของตน แทนที่จะประจบเอาใจขอราชสมบัติกับพระราชบิดาเมื่อครั้งยังประชวร ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่า พระยาแสนหลวง เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ที่ตกเป็นเชลยมายังกรุงศรีอยุธยานั้นก็มิได้มีฐานะต่ำต้อยอันใด ซ้ำยังจะดูมีหน้ามีตาเพราะสามารถต่อโคลงกับศรีปราชญ์ กวีในรัชกาลได้ ถ้าหากสมเด็จพระนารายณ์เป็นพระสัสสุระของพระยาแสนหลวงจริง ก็น่าจะเป็นที่ความภาคภูมิมากกว่าอับอาย และยังสามารถใช้การเสกสมรสดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองเข้าครอบครองล้านนาผ่านพระชายาได้

เงื่อนงำที่คาใจ..เผย..ชะตาชีวิต "พระเจ้าเสือ" จากพระราชโอรสลับของ "ขุนหลวงพระนารายณ์ฯ" สู่ "บัลลังค์กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง"

 

                 อย่างไรก็ตามในเรื่องของพระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือก็ยังคงเป็นปริศนาให้ได้ศึกษากันต่อไป แต่ที่จะต้องสำนึกไว้ในใจเสมอ นั่นก็คือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ต่อปวงชนชาวไทย พระองค์ทรงโปรดในการประพาสแบบสามัญชน คนธรรมดา ด้วยเหตุที่ว่าพระองค์อยากที่จะใกล้ชิดราษฎรและคอยช่วยเหลือราษฎรอยู่เสมอ รู้ถึงทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด เป็นสาเหตุที่พระองค์ได้พัฒนาแผ่นดินสยาม ตามความต้องการของราษฎรเป็นหลัก นอกจากนี้ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา ตามที่ปรากฏอยู่ในพระราชประวัติ และทั้งนี้ยังมีพระราชกรณียกิจปรับปรุงเส้นทางในการคมนาคมอีกมากมายในสมัยนั้น นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาอีกพระองค์หนึ่งที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินสยามไว้มากมาย

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่_8

ขอบคุณคลิปและภาพจาก : ละคร บุพเพสันนิวาส ช่อง 3