ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง นนทบุรี

ประวัติวัดบางระโหงสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการบูรณะซ่อมแซมในสมัยรัชกาลที่ ๓ ความเป็นมาของวัดบางระโหงนั้น เท่าที่สอบถามชาวบ้านได้ความว่า วัดบางระโหงสร้างขึ้นโดยชาวจีน ชื่อนาย “โหง” ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากหงสวาดี และจากคำเล่าบอกต่อกันมาว่า นายโหงเป็นคนร่ำรวยในยุคนั้นพอสมควร จากการสังเกตของข้าพเจ้าและผู้เรียบเรียง และคำบอกเล่าของชาวบ้าน ก็น่าจะเป็นไปตามนั้น เพราะสังเกตจากซุ้มที่ครอบใบเสมา และใบเสมาของวัดบางระโหงนั้น มีความสวยงามยิ่งนัก ถ้าเป็นชาวบ้านสามัญธรรมดา ก็ไม่น่าจะออกแบบได้สวยงามขนาดนี้ น่าจะเป็นผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ หรือเศรษฐีในยุคนั้น

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง นนทบุรี

พระครูนนทสมณวัตร (หลวงปู่เหรียญ ถาวโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางระโหง และอดีตเจ้าคณะตำบลบางกร่าง-บางรักน้อย นามเดิม เหรียญ บิดาชื่อ นายแดง มารดา นางอยู่ นามสกุล สังฆรัตน์ อยู่ที่ ต.ดอนมะดัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๐วัดขวัญเมือง ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี พระครูชุ่ม วัดประชารังสรรค์ เป็นพระอุปัชฌาย์

เหนียวสุดๆ..ไม่แพ้ใคร "หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง"พระเกจิดังเมืองนนทบุรี ผู้สร้างตำนานสุดยอดตะกรุดอันลือชื่อ ยิงฟัน..ไม่เข้า.

มรณภาพ หลวงปู่เหรียญท่านเป็นคนมีสุขภาพแข็งแรง มีเจ็บป่วยบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อประมาณปลายปี ๒๕๓๐ หลวงปู่ได้ฉันยาถ่าย แต่ก็ไม่ถ่าย หลวงปู่ปวดท้อง ท่านจึงฉันยาธาตุทำให้ในท้องปั่นป่วนมาก ผู้ใหญ่จึงพาท่านส่งโรงพยาบาลนนทบุรี พักอยู่หลายวันจึงกลับวัด แต่พักอยู่ได้ไม่นานก็เข้าออกโรงพยาบาลอีกหลายครั้ง และย้ายไป โรงพยาบาลธนบุรี แพทย์วินิจฉัยว่าท่านเป็นมะเร็งปอด ราววันที่๑๗ เมษายน ๒๕๓๑ หลวงปู่ก็อาพาธอีกและได้เข้าโรงพยาบาลสงฆ์ เมื่อไปโรงพยาบาลแล้ว อาการของท่านไม่ดีขึ้นเลย จนวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๑ หลวงปู่ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๙๒ ปี พรรษาที่ ๖๒

หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังว่าตอนหนุ่ม ได้ออกจากบ้านมาเป็นคนงานรับจ้างทำนาที่อยุธยา มีครั้งหนึ่ง มีคนมาลักเกี่ยวข้าว หลวงปู่พร้อมพวกมีพี่ใหญ่ชื่อว่า “ก้าน” ได้เสกว่านให้พวกหลวงปู่กินแล้วออกไปต่อสู้กับพวกลักข้าว ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒๐ คน ฝ่ายหลวงปู่มี ๗ คน อาวุธมีแค่คันหลาวกับไม้ เท่านั้น การต่อสู้กับพวกลักข้าวปรากฏว่า ฝ่ายหลวงปู่ไม่ได้รับบาดเจ็บเลยแต่ละคน ตี แทง ไม่เข้า จนทำให้พวกลักข้าวแตกกระจายไปหมด

และได้เรียนนักธรรมจนได้นักธรรมเอกที่ขอนแก่น และได้กลับมาจำพรรษาที่วัดขวัญเมือง หลวงพ่อบัวกลับจากธุระได้เข้าไปในโบสถ์ โดยที่โบสถ์ยังใส่กลอนอยู่เลย มีศิษย์หลวงพ่อบัวเป็นใบ้ เรียกว่า “ตาใบ้” หลวงพ่อบัวสอนคาถาให้ตาใบ้ สามารถประทัดไม่ให้แตกได้ และเขียนยันต์ที่ฝ่ามือ และตบไปที่เสาแต่ยันต์จะไปโผล่อีกด้านหนึ่งเรียกว่า “นะปัดตลอด” นอกจากหลวงปู่จะเรียนคาถาอาคมกับหลวงพ่อบัวแล้วหลวงปู่ยังเรียนคาถากับอาจารย์เที่ยงซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกันกับหลวงปู่ อาจารย์เที่ยงเป็นคนมีวิชาอาคมขลังและเป็นโยมบิดาของพระครูสมุห์บรรจง วัดขวัญเมือง ในปัจจุบันตอนหลังพระครูสมุห์บรรจงได้มาเป็นศิษย์ของหลวงปู่อีกทีหนึ่งหลวงปู่เคยธุดงค์ไปในป่าสมัยก่อน หลวงปู่ธุดงค์ไม่ได้ใช้กลดเลย เพราะหลวงปู่บอกว่าท่านฉันบอระเพ็ดเป็นประจำจนยุ่งไม่กัดเลย

ตอนธุดงค์หลวงปู่ได้พบอาจารย์ที่มีวิชาอาคมขลัง หลวงปู่ได้เรียนวิชากับอาจารย์ในป่าหลายอย่าง หลวงปู่จะทำพิศมรแจกโยมที่มาหรือนิมนต์ไปงาน ส่วนมากจะแจกไปทั่วคนมาช่วยงานที่วัดท่านก็แจกไปทั่ว

เหนียวสุดๆ..ไม่แพ้ใคร "หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง"พระเกจิดังเมืองนนทบุรี ผู้สร้างตำนานสุดยอดตะกรุดอันลือชื่อ ยิงฟัน..ไม่เข้า.

เวลามีงานปลุกเสกตามวัดจะมีฎีกามานิมนต์หลวงปู่บ่อยๆ พระคณาจารย์ที่หลวงปู่ร่วมปลุกเสกประจำคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง หลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ หลวงพ่อสุด วัดกาหลง

วัตถุมงคลของหลวงปู่นั้นที่ปรากฎมหัศจรรย์มากคือ “พิศมร” ที่หลวงปู่ให้เด็กแขวนแล้วเด็กตกน้ำไม่จม ตะกรุดโทนแขวนแล้วยิงไม่เข้าเสื้อพรุนหมด แต่เนื้อตัวไม่เป็นอะไร ตะกรุดจักรพรรดิ มีพระวัดจักรวรรดิมาบูชาไปฝากศิษย์ที่มาเลเซีย เมื่อศิษย์เอาไปแขวนแล้วโดนทำร้าย ด้วยมีดปาดยางพารา เสื้อขาดหมดแต่ไม่เข้าเนื้อ ทำให้เค้าศรัทธาหลวงปู่มาก ตะกรุดที่หลวงปู่เหรียญสร้าง เท่าที่ทราบ คือ

๑.ตะกรุดโทน

๒.ตะกรุดพิศมรเล็ก

๓.ตะกรุดพิศมร๑๙

๔.ตะกรุดแคล้วคลาด

๕.ตะกรุดสาริกา

๖. ตะกรุดจักรพรรดิ

๗.ตะกรุดสามกษัตริย์

๘.ตะกรุดมหาอุด

๙.ตะกรุดโภคทรัพย์

๑๐.ตะกรุดหัวใจ ๑๐๘

เรื่องปาฏิหาริย์เกี่ยวกับตะกรุดของหลวงปู่เหรียญนั้น ทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ต่างเล่าขานกันมากมาย ว่า “เหนียวสุดๆ”

เหนียวสุดๆ..ไม่แพ้ใคร "หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง"พระเกจิดังเมืองนนทบุรี ผู้สร้างตำนานสุดยอดตะกรุดอันลือชื่อ ยิงฟัน..ไม่เข้า.

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

: แอพเกจิ – AppGeji

เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา