เคยสงสัยไหม?!  ทำไมต้องท่อง "นโม" ก่อนสวดหรือรับศีล เรื่องนี้ "หลวงปู่มั่น" มีคำตอบ... ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "นโม"

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เคยสงสัยไหม?!  ทำไมต้องท่อง "นโม" ก่อนสวดหรือรับศีล เรื่องนี้ "หลวงปู่มั่น" มีคำตอบ... ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "นโม"

สาเหตุของการต้องตั้ง "นโมฯ"

โดย..หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

ได้มีโยมคนหนึ่ง คือ อาชญาขุนพิจารณ์ สุวรรณรงค์ เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ในอำเภอพรรณานิคม บุตรของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ 4 และเป็นนายอำเภอพรรณานิคม คนแรกในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้นมัสการถามพระอาจารย์มั่นถึงเรื่อง "นโม" ว่าเหตุใดการให้ทานหรือการรับศีลจึงต้องตั้ง "นโม" ก่อนทุกครั้ง จะกล่าวคำถวายทาน และรับศีลเลยทีเดียวไม่ได้หรือ ?

 

พระอาจารย์มั่นได้เทศน์ชี้แจงเรื่อง "นโม" ให้ฟังว่า... "เหตุใดนักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดีจะรับศีลก็ดี หรือจะทำการ

กุศลใดๆ ก็ดีจึงต้องตั้งนโมก่อนจะทิ้ง นโมไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จะยกขึ้นพิจารณา ได้ความ

ปรากฏว่า น คือธาตุน้ำ โมคือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมฺภโว โอทนกุมฺมา สปจฺจโย สัมภวธาตุ ของมารดาบิดา

ผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมาเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยงจึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้ "น" เป็น ธาตุ ของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง 2 ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจน ได้นามว่า "กลละ" คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง

ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ "นโม" นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว "กลละ" ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น "อัมพุชะ"



 

คือ เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น "ฆนะ" คือ แท่งและเปสี คือ ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ แขน 2 ขา 2 หัว 1 ส่วนธาตุ "พ" คือ ลม "ธ" คือ ไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก" กลละ" นั้นแล้ว กลละ ก็ต้องเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิต ไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละ ก็ต้องทิ้งเปล่า หรือ สูญเปล่า ลม และไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุ ทั้ง 2 คือ นโม เป็น ดั้งเดิม

 

ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย "น" มารดา"โม" บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้

ข้าวสุก และขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอน ความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า "ปุพพาจารย์"

เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อ บุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้กล่าว คือ

รูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้ว ก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น"มูลมรดก" ของมารดาบิดา ทั้งสิ้น จึงว่าคุณของ ท่านจะนับจะประมาณ มิได้เลย

ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยาหาได้แปล ต้นกิริยาไม่มูลมรดก นี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจน ทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ นโม เมื่อกล่าวเพียง 2 ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบ หรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะ จากตัว "น" มาใส่ตัว "ม" เอา สระโอจากตัว "ม" มาใส่ตัว "น" แล้วกลับตัวมะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่าใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโน คือ ใจนี้เป็นดั้งเดิมเป็น มหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า

 

มโนปุพฺพงฺ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโมยา ธรรมทั้งหลายมีใจ ถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

พระ บรม ศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติ ออกไปจากใจ คือ มหาฐานนี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้สึก นโมแจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลาย ในโลกนี้ต้องออกไป จาก นโม ทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใครต่างคนต่างถือเอาก้อน อันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำ โอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัว เป็นเราเป็นของเราไปหมด"

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BuddhaSattha