ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ตายไปพร้อมกับพระเจ้าตากสิน!! เปิดประวัติ ผู้สร้าง "วัดนครอินทร์" วัดของทหารคู่พระทัย "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" (ชมคลิป) !!

 

              วัดนครอินทร์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ โดยมีนายอินทร์ และนางนคร เป็นผู้ถวายที่ดินและดำเนินการสร้างวัดเดิมชาวบ้านเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดบางขุนเทียน เพราะวัดตั้งอยู่ริมคลองบางขุนเทียน ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกชื่อวัดใหม่นครอินทร์และวัดนครอินทร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ๒ ชั้น หอสวดมนต์สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์เป็นอาคารไม้และอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก วิหารสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 รอยพระพุทธบาทแกะสลักไม้จำลอง พระพุทธรูปเก่าพระสังกัจจายน์ รูปปั้นพระครูนนทไพโรจน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร รูปปั้นอดีตเจ้าอาวาส

ตายไปพร้อมกับพระเจ้าตากสิน!! เปิดประวัติ ผู้สร้าง "วัดนครอินทร์" วัดของทหารคู่พระทัย "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" (ชมคลิป) !!

 

            "บางตะนาวศรี" มีวัดประจำชุมชนคือ วัดนครอินทร์ ที่ขุนนางมอญซึ่งรับราชการตำแหน่ง "พระยานครอินทร์" สร้างขึ้น เป็นนายกองรามัญ กรมอาษาทะมาตย์ ต่อมาในรัชกาลพระเจ้าตากสิน ได้ตั้งให้เป็นพระยานครอินทร์ แล้วเลื่อนให้เป็นพระยาและเจ้าพระยารามจตุรงค์ หรือบางแห่งก็เรียกว่า พระยารามัญวงษ์ (จักรีมอญ ก็เรียกกัน) นามตัวของท่านว่าชื่อ มะโดด หรือมะซอน...มะซอนผู้นี้แหละที่เป็นทหารคู่พระทัยของพระเจ้าตากสิน และได้ตายพร้อมกันกับพระเจ้าตากสิน...”

 

ตายไปพร้อมกับพระเจ้าตากสิน!! เปิดประวัติ ผู้สร้าง "วัดนครอินทร์" วัดของทหารคู่พระทัย "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" (ชมคลิป) !!

 

          "บางตะนาวศรี" รวมทั้ง "บางไผ่" ซึ่งเป็นชุมชนมอญตรงข้ามกันทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเสียงเรื่องเครื่องปั้นดินเผา สินค้าที่ได้รับความนิยมและสร้างชื่อของนนทบุรีอย่างมาก ลูกค้าต่างพูดถึงเป็นเสียงเดียวกันว่า "หม้อบางตะนาวศรี ขัดมันดีใช้ทนทาน"

 

ตายไปพร้อมกับพระเจ้าตากสิน!! เปิดประวัติ ผู้สร้าง "วัดนครอินทร์" วัดของทหารคู่พระทัย "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" (ชมคลิป) !!

 

            มีรายงานของพระกรุงศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรีถึงมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ๒ ชุมชนนี้ว่า “ประณีต งดงาม น่าดู น่าใช้กว่าท้องถิ่นอื่น จัดเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของชาวเมืองนนท์เป็นเวลาช้านาน”

            ต่อมา ได้มีช่างปั้นหม้อจากคลองสระบัวพระนครศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งย้ายเข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาที่บางตะนาวศรีด้วย ทำให้มอญที่บ้านบางตะนาวศรีซึ่งมีจำนวนไม่มากใช้ภาษามอญน้อยลง ใช้ภาษาไทยมากขึ้นและในที่สุดก็เปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยทั้งหมด