236 ปี ดวงเมืองรัตนโกสินทร์!! โหรฟองสนาน เตือน...ระวังภัยพิบัติทางน้ำ เตรียมรับมือ...เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต !!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

236 ปี ดวงเมืองรัตนโกสินทร์!! โหรฟองสนาน เตือน...ระวังภัยพิบัติทางน้ำ เตรียมรับมือ...เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต !!

 

            โหรฟองสนาน จามรจันทร์ ได้ทำนายดวงชะตาของเมืองกรุงรัตนโกสินทร์  236 ปี ผ่านไป-ภัยสำคัญยิ่งของเมืองล้วนมาทางทะเล-น้ำ ผ่านเฟสบุ๊ค Fongsanan Chamornchan  โดยระบุข้อความว่า

 

 

236 ปี ดวงเมืองรัตนโกสินทร์!! โหรฟองสนาน เตือน...ระวังภัยพิบัติทางน้ำ เตรียมรับมือ...เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต !!

 

ดวงชะตาเมืองรัตนโกสินทร์

กรุงรัตนโกสินทร์ถือกำเนิดวินาทีที่ลงเสาหลักเมืองตามพระราชพิธีพระนครถาน (ฐาน) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 เวลา06.54 น.ผูกดวงชะตาแล้ว ลัคนาสถิตราศีเมษ ธาตุไฟ (ดังรูป) บัดนี้เมืองผ่านร้อน-หนาวมาจนอายุเต็ม 236 กำลังย่างเข้า 237 ปีแล้ว

 

           คำทำนายดวงชะตาเมือง มีหลายแง่-มุม ชนิดเรียนไม่รู้จบ แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนอยากนำเสนอคนไทยให้ได้รู้บางเสี้ยวตามหลักโหรอันเกี่ยวกับภัย-พิบัติขนาดใหญ่ (จริงๆ) ของเมืองว่าที่ผ่านมาล้วนมาจากทางทะเลและน้ำ เพื่อจะได้ช่วยกันตระหนักและเตรียมรับมือหากจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งข้อมูลนี้ผู้เขียนได้รวบรวมเพื่อใช้บรรยายเนื่องในโอกาสวันระลึก 102 ปีชาตกาล พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ที่โรงเรียนนายเรือสมุทรปราการดังนี้

1. ผู้กล่าวข้อสังเกตุนี้เป็นคนแรกคือ ครูโหรทรัพย์ สวนพลู ในหนังสือศาสตร์แห่งโหร สำนักพิมพ์มติชน จำปีไม่ได้ จนผู้เขียนสะกิดใจไปค้นคว้าต่อ

2. หลักทางโหร-ดวงเมืองอธิบายปรากฎการณ์นี้คือ

2.1 ราศีมีนเป็นธาตุน้ำอันหมายถึงทะเล น้ำกว้างใหญ่มากไพศาลเป็นภพที่สิบสองหรือวินาสน์ของดวงเมืองหมายถึงศัตรูลับ-ความสูญเสียใหญ่วิบัติใหญ่หลวงฯลฯ

2.2 พระราหู๘ตัวเบียนบ่อนดวงชะตาเมือง สถิตราศีมีน-ภพวินาสน์ เพื่อลดอิทธิพลร้ายลง

2.3 พระพุธ๔ตัวแทนภพที่หก-อริศัตรู-ปัญหาอุปสรรคของ เมืองสถิตราศีมีนเพื่อให้พินาศ

2.4 พระศุกร์๖ตัวแทนภพที่เจ็ด-ปัตติ คู่แข่ง ศัตรูโดยเปิดเผยเช่นคู่สงครามก็สถิตราศีมีน เพื่อให้พินาศ

3. เสียส่วนที่ตามมาของการซ่อนความร้ายของดาวทั้งสามดวงนี้คือ คือบรรดาศัตรู-อุปสรรคของดวงเมืองต่างไปสถิตธาตุน้ำทั้งหมด วันดีคืนดีเมื่อชะตาเมืองตกก็พร้อมจะให้โทษออกมาเป็นภัยจาก-ทางน้ำขนาดมหึมา เช่น

3.1 สงครามเก้าทัพระหว่างพม่ากับสยามเมื่อปี2328 ที่พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง 9 ทัพ รวมทั้งทัพที่หนึ่งที่ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช

3.2 ห่าลงปีมะโรง พ.ศ. 2363 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เกิดอหิวาตกโรค หรือไข้ป่วง ระบาดรุนแรงในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ชาวบ้านเรียกกันว่า "มะโรงห่าลง" โดยจุดเริ่มต้นแพร่จากอินเดีย เข้ามาทางจังหวัดแถวชายทะเล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม ขณะนั้นยังไม่มีวิธีรักษาและรู้จักการป้องกัน พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 จึงรับสั่งให้ตั้งการ พระราชพิธีอาพาธพินาศ ขึ้น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาประสาท อหิวาตกโรคระบาดอยู่ประมาณ 15 วัน จึงเริ่มสงบลง เมื่อสำรวจจำนวนผู้คนที่เสียชีวิต ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียง มีจำนวนถึงสามหมื่นคน

3.3 ห่าลงปีระกา พ.ศ. 2392 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 อหิวาตกโรคกลับมาระบาดอย่างรุนแรงอีก ที่เกิดแถวเกาะหมาก ข้ามมาติดจนถึงปากแม่น้ำจ้าพระยา เข้าเมืองทางสมุทราปราการ ประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตในคราวนั้นถึงสองหมื่นคน

3.4 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112ความขัดแย้งฝรั่งเศส-สยามนำมาสู่วิกฤตการณ์ปากน้ำ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2436 เรือรบฝรั่งเศสเข้าไปในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกโจมตีโดยป้อมปืนของสยามและเรือปืน ผลการรบ ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและดำเนินการปิดล้อมกรุงเทพซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์ โดยราชอาณาจักรสยามต้องเสียเงินไถ่บ้านไถ่เมืองจนเกิดตำนานเงินถุงแดง

3.5 ยุทธนาวีเกาะช้างเป็นเหตุการณ์รบทางเรือที่เกิดขึ้นจากกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศสบริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 

3.6 กองทัพญี่ปุ่นบุกไทยระหว่างมหาสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 มาทางชายฝั่งชายแดนภาคตะวันออกและยกพลขึ้นบกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยจังหวัดปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและตำบลบางปูสมุทรปราการ

3.7 สึนามิช่วงเช้า วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ถล่ม" 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน แบบไม่ทันตั้งตัว สูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล 

3.8. มหาอุทกภัย 2554 ปรากฎการณ์ข้าศึกคือน้ำเขย่าขวัญค่อยๆตีโอบเมืองรัตนโกสินทร์จากทางเหนือ เริ่มปลายเดือนกรกฎาคม 2554 และสิ้นสุด เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขงเริ่ม โดยธนาคารโลกจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

              ไม่ว่าเมือง-คนไทยจะเดือดร้อนทางน้ำทางน้ำ และภัยจะสร้างความวิบัติขนาดไหน ในที่สุดก็จะพินาศ-วินาสน์ไปตามพื้นวาสนาเดิมของเมืองตัวอย่างเช่นพระเจ้าปะดุงยกทัพกลับไปเพราะปัญหาภายใน หรือสึนามิทำให้เกิดระบบเตือนภัยในทุกวันนี้ แต่คงจะเป็นเพราะบรรดาดาวศัตรูของเมืองไปรวมตัวกันอยู่ในธาตุน้ำเช่นนี้คนไทยส่วนใหญ่จึงยังคงผวากับเรื่องน้ำ (ท่วม) กันไม่เลิก เพราะพระจันทร์ (๒) ตัวแทนประชาชาวไทยก็อยู่ธาตุน้ำ-ที่กรกฎ..ชนิดอยู่ท่ามกลางน้ำเลยทีเดียว ฉะนั่นการเตรียมตัวเตรียมใจไว้สู้น่าจะดีที่สุด

 

ฟองสนาน จามรจันทร์
20 เมษายน 2561

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ Fongsanan Chamornchan