ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ www.tnews.co.th

"หลวงพ่อโม ธมฺรกฺขิโต"

รูปถ่ายของท่านแม้นไม่ได้ปลุกเสกก็ยิงไม่ออก

"หลวงพ่อโม ธมฺรกฺขิโต" วัดจันทนาราม ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท เจ้าของตะกรุดโทนอันโด่งดัง

อัตโนประวัติ หลวงพ่อโม เป็นชาวห้วยกรดโดยกำเนิด เกิดในสกุล "คงเจริญ" เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2413 ณ บ้านบางยายอ้น ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ปี สนใจศึกษาตำราโบราณ ท่อง 7 ตำนาน 12 ตำนาน ได้ตั้งแต่เป็นสามเณร ปรณนิบัติหลวงพ่อเถื่อน เจ้าอาวาสวัดใหม่บำเพ็ญบุญซึ่งเป็นยอดเกจิอาจารย์ในยุคนั้น (พรรษามากกว่าหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดใหม่บำเพ็ญบุญ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านท่าน โดยมีหลวงพ่อเถื่อน วัดใหม่บำเพ็ญบุญ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อคง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษา ณ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี เรียนพระปริยัติธรรมเบื้องต้นได้ท่อง 7 ตำนาน 12 ตำนาน ได้เรียนภาษาขอม เรียนวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมกับหลวงพ่อม่วง หลวงพ่อเถื่อน และหลวงพ่อคง ที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวห้วยกรดและจังหวัดชัยนาท ให้ความเคารพนับถืออย่างมาก

ในยุคนั้น กิตติศัพท์ความเข้มขลังด้านวิทยาคมของหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เป็นที่กล่าวขวัญของชาวห้วยกรด ท่านจึงได้ไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อโต ที่อำเภอสรรคบุรี เรียนรุ่นเดียวกับหลวงพ่อปลื้ม วัดสังฆราม

หลวงพ่อคง เล็งเห็นว่าหลวงพ่อโม มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด สนใจทางวิทยาคม ยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อคงจึงได้พาหลวงพ่อโมไปฝากกับอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เมื่อปีพ.ศ.2451

หลวงพ่อโม ได้เป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข เรียนวิทยาคม ตำรายาสมุนไพรและตำราแพทย์แผนโบราณกับหลวงปู่ศุข เป็นเวลา 5 ปี จนกระทั่งในปีพ.ศ.2456 จึงได้เดินทางกลับวัดใหม่บำเพ็ญบุญ

ในขณะนั้น หลวงพ่อเถื่อนซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่บำเพ็ญบุญ ได้มรณภาพลง หลวงพ่อคง เป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่บำเพ็ญบุญแทน

พ.ศ.2457 ญาติพี่น้องของหลวงพ่อโม ได้ร่วมกันซื้อที่ดินติดวัดร้างเดิมรวมประมาณ 30 ไร่ เพื่อสร้างวัดขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการอานิสงส์ ในการถวายที่ดิน ทั้งนี้ ชาวบ้านห้วยกรดให้ความศรัทธาในเรื่องความแก่กล้าทางคุณวิเศษและอาคมของท่าน จึงได้นิมนต์หลวงพ่อโมจากวัดใหม่บำเพ็ญบุญ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของ "วัดจันทนาราม"

รูปกูไม่ต้องเสกก็ขลัง!! พระคณาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท เจ้าของตะกรุดโทนอันโด่งดัง "หลวงพ่อโม จันทนาราม"เสกกระดาษเป็นปลากัด!!

หลวงพ่อโมท่านชอบออกธุดงค์เป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ละครั้งจะไปเป็นเวลานาน ขากลับท่านจะนำว่านยา เขาละอง ละมั่ง เขากวางมากด้วย ช่วงหลังยังคงมีติดอยู่ที่วัด แต่ตอนนี้ไม่รู้อยู่ที่ไหนผมไม่เห็นแล้ว จนกระทั่งกลวงพ่อพบเศียรพระพุทธรูปที่มีความงดงามมาก ซึ่งไม่ทราบว่าพบที่ใด ท่านจึงจ้างช่างต่อเศียรพระเข้ากับองค์พระพุทธรูปเก่าดั้งเดิมที่วัดและอันเชิญเทวดาปกปักรักษา ซึ่งก็คือ หลวงพ่อหิน ในปัจจุบันนั่นเอง

หลวงพ่อโมท่านออกธุดงค์จนไปพบหลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ และได้ต่อวิชามีดหมอจากหลวงพ่อเดิม รวมถึงได้ไปพบกับหลวงพ่อเทศและหลวงพ่อวัดพระปรางค์เหลือง ซึ่งหลวงพ่อโมท่านเก่งวิชามีดหมอเป็นอย่างมาก หลังหลวงพ่อโมจำวัดที่วัดจันทนาราม หลวงพ่อปลื้มและหลวงพ่อโมยังไปมาหาสู่กันเสมอ คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่าหลวงพ่อปลื้มท่านมาฉันเพลที่วัดจันทนารามอยู่บ่อย ๆ โดยย่นระยะทางมาแหลวงพ่อโมท่านก็ไปวัดสังฆารามเป็นเป็นนิจ

หลวงพ่อเดิมท่านเคยขี่ช้างมาที่วัดจันทนาราม 2 - 3 ครั้งจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ และวัตถุมงคลของหลวงพ่อเดิมยังมีมากที่ ต.ห้วยกรด ซึ่งคนที่มีต่างหวงแหนมากไม่ให้ดูกันง่าย ๆ บ้านห้วยกรดในยุคนั้น ไม่มีถนนหนทาง และเป็นที่ดอนอยู่ในป่า หากมองจากเมืองชัยนาท สรรคบุรี สรรพยา เข้าไปจะเป็นเหมือนป่าดง จึงไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก มิฉะนั้นผู้คนต้องรู้จักหลวงพ่อโมมิใช่น้อย ผู้ชายบ้านห้วยกรด ชอบกัดปลา ตีไก่ เป็นอย่างมากกระทั่งสมัยนี้ก็ยังมีบ่อนไก่ขนาดใหญ่ที่ต.ห้วยกรด มีอยู่วันหนึ่งหลวงพ่อท่าน เดินออกมาดูพวกกัดปลากัน เด็กวัดของท่านกัดปลาแพ้เขามาเพราะโดนโกง หลวงพ่อโมจึงให้เด็กคนนั้นตัดกระดาษเล็ก ๆ มาให้พร้อมกับเหลี่ยมปลากัด แล้วเป่าพรวดไปที่กระดาษพร้อมใส่ลงในเหลี่ยมปลา ก็ปรากฎว่าเป็นปลากัดสีสวย และบอกว่าเอาไปกัดกับมันอยากโกงดีนัก ปลากัดตัวนั้นกัดชนะมาแต่หางแหว่งไปหน่อยหลวงพ่อจึงบอกว่าไม่ดีนะมันบาป คนรู้ข่าวจึงมาขอหลวงพ่อบ้าง แต่หลวงพ่อบอกว่าไม่ดี มันบาป

หลวงพ่อโม เป็นพระสมถะ มักน้อย สันโดษ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ภายหลังท่านได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ หากมีเวลาว่าง ท่านจะนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่เสมอ นั่งสมาธิ ทำวัตรเช้าตั้งแต่ตี 4 ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือท่านมาก และนำลูกหลานของตนมาให้ท่านได้บวชมากมาย มีอยู่ครั้งนึงผู้หญิงแถวห้วยกรดได้ทำไม่ค่อยดีหลวงพ่อจึงบอกว่าเดี๋ยวก็ออกลูกเผือกหรอก จากนั้นหญิงคนนั้นก็ได้แต่งงานและมีลูกซึ่งมีผิดขาวผิดปกติและตกกระ (ที่เรียกว่าเด็กเผือกนั่นหล่ะ)

ใครที่เคยโค่นต้นไม้จะนึกออกว่าหากต้นไม้เอียงไปทางใดเวลาโค่นก็จะล้มไปทางนั้น แต่วันหนึ่งชาวบ้านกำลังจะโค่นต้นมะพร้าวที่ขวางบ้านอยู่ซึ่งต้นมะพร้าวมันเอียงหลบบ้านไปอยู่แล้ว หากตัดยังไงก็ต้องล้มไปอีกทาง หลวงพ่อท่านเดินมาพอดีบอกว่าระวังนะ ค่อย ๆ มันจะทับบ้านเอา ชาวบ้านก็ระวังเพราะรู้ว่าหลวงพ่อพูดหรือทักไม่ได้ต้องเป็นอย่างนั้น และแล้วต้นไม้ก็ทับหลังคาบ้านจริง ๆ

กิติศัพท์ของหลวงพ่อได้ร่ำลือไปถึงชลประทานที่ถือได้ว่ามีกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อโมเยอะมาก เพราะชลประทานได้ขนน้ำมาให้ที่วัดจันทนาราม เวลามีงานอยู่บ่อย ๆ หากใครหาวัตถุมงคลหลวงพ่อโมต้องลองสอบถามพวกชลประทานเก่า ๆ ดูได้ ตะกรุดหลวงพ่อโมยุคแรก ๆ ท่านชอบใช้ฝาบาตรเก่า ๆ ที่ไม่ได้ใช้มาตัดทำตะกรุดและให้เด็กวัดพกไว้ป้องกันตัว ยาวบ้างสั้นบ้างและแต่ฝาบาตร บ้างครั้งฝาแตกก็ได้ดอกสั้นหน่อย ตะกรุดฝาบาตรหลวงพ่อโมเด็กวัดชอบมากเพราะเวลาแกล้งกันไล่ยิงด้วยหนังสติ๊กยังอย่างไรก็ไม่ถูก ตะกรุดหลัง ๆ ท่านจะใช้แผ่นทองแดงบาง ๆ มาตัดและให้ลูกศิษย์ กรรมการวัด ช่วยกันทำและจาร ซึ่งหลวงพ่อจะดูทุกแผ่นที่จารแผ่นไหนจารผิดอ่านไม่ได้ท่านจะทิ้งให้ทำใหม่ สมัยนั้น การคลอดลูกตายมีเยอะมาก หลวงพ่อท่านสงสาร จึงทำตะกรุดคลอดลูก ซึ่งมีผลแคล้วคลาด ปลอดภัยและเมตตา มาให้สำหรับใครที่ท้องและมาทำบุญใส่บาตรที่วัดท่านก็จะแจกตะกรุดให้ ดอกเล็ก ๆ ขนาดดินสอ ยาวประมาณ 10 เซ็นติเมตรโดยประมาณ

มีดหลวงพ่อโม ในยุคเก่า ด้ามไม้ฝักไม้ ตีโดยช่างที่ห้วยกรดซึ่งสมัยก่อนมีร้านตีเหล็กอยู่ติดกับวัด (จำชื่อไม่ได้) ตีให้ และในยุคหลัง (ช่วงสร้างโบสถ) หลวงพ่อได้สั่งช่างฉิม พยุหะ มาซึ่งลักษณะเป็นด้ามงา ฝักงา ขนาดต่าง ๆ และเศษงาที่เหลือ หลวงพ่อท่านให้ช่างกลึงขนาดย่อมกว่าดินสอนิดนึงยาว 1 นิ้ว ถึงนิ้วกว่า ๆ มาทำตะกรุดมหาอุดงาช้าง และเลี่ยมนาคแต่เดิม ซึ่งรุ่นนี้สุดยอดมากโดยหลวงพ่อจะสอดตะกรุดขนาดเล็กเข้าไปอีก 1 ดอกพร้อมจารอักขระ

หลวงพ่อโม ได้เลี้ยงสัตว์ไว้มาก เช่น ไก่ต๊อก ท่านชอบและรักมาก ปัจจุบันที่วัดก็ยังมีอยู่

รูปกูไม่ต้องเสกก็ขลัง!! พระคณาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท เจ้าของตะกรุดโทนอันโด่งดัง "หลวงพ่อโม จันทนาราม"เสกกระดาษเป็นปลากัด!!

รูปกูไม่ต้องเสกก็ขลัง!! พระคณาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท เจ้าของตะกรุดโทนอันโด่งดัง "หลวงพ่อโม จันทนาราม"เสกกระดาษเป็นปลากัด!!

ช่วงที่วัตถุมงคลที่สั่งมาและทำเองเพื่อแจกให้คนที่มาช่วยทำบุญสร้างโบสถหมด ท่านก็แจกเฉพาะใบฎีกา และบอกคนมาทำบุญว่า "รูปกูใช้แทนวัตถุมงคลของกูได้ไม่ต้องกลัว" แล้วท่านก็หัวเราะ มีบางคนถามว่า หลวงพ่อรูปหลวงพ่อเสกหรือยังท่านก็บอก "รูปกูไม่ต้องเสกก็ขลังรูปกูดีทังนั้น"

เรื่องราวอภินิหารมีมากมายเกี่ยวกับวัตถุมงคลของหลวงพ่อ ทั้งชาวบ้านทำตะกรุดหลวงพ่อโมหาย และตอนเช้าพบอยู่ในนา ที่เผ่าตอซังแล้วไม่ไหม้เป็นวงขนาดสักฟุตนึง / หรือโจรลักควายที่พกตะกรุดหลวงพ่อโมวิ่งหนีฝ่าลูกปืน / และเด็กที่ตกเขื่อนเจ้าพระยาแล้วไม่ตาย / วัยรุ่นฟันกันด้วยมีดไม่เข้าคล้องเหรียญรุ่นตาเกี้ย / สมัยนี้ที่ลองยิงวัตถุมงคลกันที่ปทุมธานีมีรอดอยู่ 2 ชิ้นจาก 100 กว่าชิ้น คือตะกรุดหลวงพ่อโมและตะกรุดโสฬสหลวงปู่เอี่ยม / ฯลฯ

หลวงพ่อโม ท่านละสังขารเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2502 เวลาประมาณ 4 ทุ่มเศษ ท่านได้บอกกรรมการวัดและลูกศิษย์ว่า พวกเอ็งไม่ต้องกลัวกูตายหรอก กูไปเที่ยวเดี๋ยวก็กลับ" จากนั้นหลวงพ่อจึงนั่งสมาธิและละสังขารไป รุ่งเช้าแม่ใหญ่ผม (ยาย) เล่าให้ฟังว่าหลวงพ่อเหมือนหลับเฉย ๆ เท่านั้น สมัยนั้นไม่มีการฉีดยา กรรมการวัดจึงนำร่างหลวงพ่อใส่โลงไม้และฝังไว้ที่วัด 1 ปีถัดมาจึงจัดงานฌาปนกิจหลวงพ่อและเปิดโลงออกมาประกฎว่าร่างหลวงพ่อยังคงเหมือนพระภิกษุจำวัดไม่มีการเน่าเปื่อยหรือเปลี่ยนรูปร่างแต่อย่างใด และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ในสมัยนั้นจะมีการต้มกระดูกและนำมาเผาเพื่อทำพิธี ชาวบ้านบางคนได้กินเนื้อหลวงพ่อและน้ำอาบศพด้วยความรักและเคารพหลวงพ่อ หลังจากนั้นปรากฏว่าคนเหล่านั้นไม่เคยเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุใด ๆ เลยจนกระทั่งแก่ตาย

หลังจากทำพิธีเสร็จ ในขณะที่ไฟยังไม่ดับดี ชาวบ้านต่างกรูกันเพื่อไปแย่งอัฐิของหลวงพ่อ จนกำนัน พ่อบ้านสมัยนั้นต้องกันคนออกไป ชาวบ้านบางคนได้อัฐิก้อนใหญ่ขนาดนิ้วโป้งก็มี และไม่มีใครไฟลวกมือเลย ขนาดไฟยังแดง ๆ อยู่เลย (ปัจจุบัน คนนี้ได้มอให้หลานไว้พร้อมอัดเลี่ยมไว้กับรูปรุ่นหลังโบสถ ขอเช่า 20,000.- ยังไม่ยอมปล่อย) เสร็จจากนั้น ได้จัดสร้างล็อคเก็ตหลวงพ่อโม (มีสีเหลือง/สีส้ม) และพระรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อโม โดยอาจาย์ปุ่น เจ้าอาวาสองค์ต่อมา ได้บรรจุอัฐิหลวพ่อลงไป กรรมวิธีการสร้าง จะสั่งรูปหล่อปั๊มมา และใชอัฐิวางบนถาดและใช้ก้านธุปกดลงไปในฐานแล้วใช้นิ้วปากปูนพลาสเตอร์ปิดไว้ (ลุงฉาบ คนทำเล่าให้ฟัง) เสกโดยหลวงพ่อเชื้อ และส่วนที่เหลือกรรมการวัดแถวสรรคบุรีให้หลวงพ่อกวย เสก หลวงพ่อกวยท่านว่า "พระรุ่นนี้ของดีจริง ๆ" อีโมติคอน wink

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2503 คณะกรรมการวัดจันทนาราม ได้จัดงานพิธีฌาปนกิจศพของหลวงพ่อโม

แม้หลวงพ่อโม จะละสังขารไปนานกว่า 50 ปี แต่คุณงามความดียังคงจารึกไว้ในศรัทธาของชาวเมืองชัยนาทสืบไป

รูปกูไม่ต้องเสกก็ขลัง!! พระคณาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองชัยนาท เจ้าของตะกรุดโทนอันโด่งดัง "หลวงพ่อโม จันทนาราม"เสกกระดาษเป็นปลากัด!!

อ่านเพิ่มเติม...คาถาพระพุทธเจ้าห้ามทุกข์ "หลวงปู่ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง"

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูล

พระเกจิ-คณาจารย์ นครสวรรค์

ศิษย์มีครู