ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 

           เนื่องในวันวิสาขบูชา ในปีนี้ ตรงกับวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา  และมีประเพณีสำคัญในวันนี้นั่นก็คือ ประเพณีการกวนข้าวมธุปายาสนั่นเอง

 

หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!! เปิดตำนาน "ข้าวมธุปายาส" ที่นางสุชาดาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา!!

 

            นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่ ๖ ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน  ๖ ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา เป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือข้างมธุปายาส คือ ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ ไม่ปนเนื้อ ไม่เจือปลา ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ

 

     

 

             ปฐมสมโพธิเล่าว่า นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกันและได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน ก่อนถึงวันหุง นางสุชาดา สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือให้แม่โคกินชะเอมเครือ กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมาแล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ ละ ๕๐๐ ตัว แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ ไปจนเหลือแม่โคนม ๘ ตัว เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง ๘ มาหุงข้าวมธุปายาส

 

หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!! เปิดตำนาน "ข้าวมธุปายาส" ที่นางสุชาดาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา!!

 

             หุงเสร็จแล้ว นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏ นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย 

 

            พระมหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง นางทราบพระอาการกิริยาว่า พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้ แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี และด้วยความสำคัญหมายว่า พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า

 

หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!! เปิดตำนาน "ข้าวมธุปายาส" ที่นางสุชาดาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา!!

 

ข้าวมธุปายาส

           พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้จัก “มธุปายาส” ซึ่งเป็นอาหารโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจากเรื่องราวในพุทธประวัติ โดยมีนางสุชาดาเป็นผู้ปรุงถวายพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หนังสือ "พระปฐมสมโพธิกถา" พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีกล่าวอรรถาธิบาย ขั้นตอนในการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาไว้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ถอดความมาได้ดังนี้ 
          "ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสีกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน ๑๐๐๐ ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม  แล้วแบ่งโคนมออกเป็น ๒ พวก พวกละ ๕๐๐ ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค ๕๐๐ ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก ๕๐๐ ตัวในกลุ่มหลังบริโภค ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน ๕๐๐ ตัว ออกเป็น ๒ พวก พวกละ ๒๕๐ ตัว แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค ๒๕๐ ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก ๒๕๐ ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ ๑๖ ตัว แล้วแบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกละ ๘ ตัว นำน้ำนมของแม่โค ๘ ตัวแรกมาให้อีก ๘ ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค ๘ ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศจนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ ๘ ตัว

 

หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!! เปิดตำนาน "ข้าวมธุปายาส" ที่นางสุชาดาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา!!

 

         ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน ๖ หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ นางสุชาดาเห็นดังนั้น ก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือ ตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิราชก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น  ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตร มากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง ๔ ทิศ  เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติ ต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรย ใส่ลงในกระทะด้วย  เมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี
    

            ครั้นสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เมื่อนั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์ ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาล เป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่ม มีส่วนผสมของ ข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะปั้นให้เป็นคำได้

 

 

 

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ของไทย
 

           จากคติศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยได้ขนานนาม "ข้าวมธุปายาส" ว่าเป็น "ข้าวกระยาทิพย์" หรือ "ข้าวทิพย์"  ประเพณีการหุงข้าวทิพย์ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนวันวิสาขบูชาพบว่า มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประเพณีนี้สืบต่อลงมาจนถึงรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วว่างเว้นไปและกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ถือเป็นโบราณราชประเพณีปฏิบัติสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

 

หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!! เปิดตำนาน "ข้าวมธุปายาส" ที่นางสุชาดาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา!!

 

        จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยกย่อง "มธุปายาส" ว่าเป็น "ข้าวทิพย์" ได้ ๓ ประการคือ

๑. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี คือมีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกายคือบริวารผู้คน และกำลังสติปัญญาล่วงรู้ขั้นตอนในการปรุง เห็นได้ว่ามิใช่วิสัยของคนธรรมดาจะทำได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์

๒. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้

๓. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้ ฉะนั้น "ข้าวทิพย์" ก็คือ สมญานามอันเกิดจากความรู้สึกที่ลึกซึ้งในจิตใจว่า เป็นของสูงของวิเศษล้ำค่าหาที่เปรียบมิได้นั่นเอง 

 

หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!! เปิดตำนาน "ข้าวมธุปายาส" ที่นางสุชาดาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา!!

 

ข้อคิดจาก "ข้าวทิพย์"

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นข้อพิจารณาว่า "ข้าวทิพย์" ที่เรากวนอยู่ในราชพิธีทุกวันนี้ เห็นจะเกิดขึ้นด้วยนึกเอาเอง ดูตั้งใจจะให้มีถั่ว งา นม เนยและผลไม้ต่างๆ ให้พร้อมทุกอย่าง เป็นอันรวมรสต่างๆมาลงในอันหนึ่งอันเดียว จนเรียกกันในคำประกาศว่า "อเนกรสปายาส" พระโบราณจารย์ได้กล่าวอรรถกถาย้ำเตือนพุทธบริษัททั้งหลายเอาไว้ว่า

"เป็นพุทธประเพณีที่พระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ทุกพระองค์ จักต้องได้เสวยข้าวทิพย์เสียก่อน จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า"  

    หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!! เปิดตำนาน "ข้าวมธุปายาส" ที่นางสุชาดาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันตรัสรู้ สู่ "ประเพณีกวนข้าวทิพย์" ในวันวิสาขบูชา!!

 

           คำกล่าวอันเป็นปริศนาธรรมนี้ชี้ชัดว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางแห่งพุทธะจักต้องบริโภค "ข้าวอันเป็นทิพย์" คือ อาหารที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากเลือดเนื้อและชีวิตทั้งหลายเสียก่อน อันเป็นหนทางนำไปสู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในที่สุด นี่เป็นหน้าที่แรกเริ่มของผู้ประพฤติธรรมจักต้องขึดถือปฏิบัติด้วยกันทุกคน ดังเช่นที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

   

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.madchima.org

                           http://thai.mindcyber.com

ขอบคุณคลิปจาก : เฟสบุ๊ค พระปาโมกข์ กลิ่นทอง