ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 

              ในประวัติศาสตร์ไทยของเรานั้น มีการปรากฏเรื่องราวของวีรสตรี ที่เสียสละเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อปกป้องแผ่นดิน โดยในละคร หนึ่งด้าวฟ้าเดียว เมื่อคืนนี้ (๖ มิถุนายน ๒๕๖๑) ได้ปรากฏตัวละคร ตัวละครหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า โพ เป็นสาวชาวบ้านที่ช่วยพระยาตากรบ เมื่อครั้งที่พระยาตากปะทะกับกองทัพของอังวะ โดยมี "โพ" สาวชาวบ้านได้นำพรรคพวกเข้ามาช่วยเหลือ ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อบริเวณนั้นว่า "บ้านโพสังหาร" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "โพสาวหาญ" เพื่อแสดงถึงวีรกรรมความกล้าหาญของ "แม่โพ"

 

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในอยุธยา!! เปิดวีรกรรม "แม่โพ" วีรสตรีผู้เอาชีวิตเข้าแลก ปกป้อง "พระเจ้าตากฯ" ที่มาของ "ศาลเจ้าแม่โพสาวหาญ" (มีคลิป)

 

 

 

 

            การกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระยาตากในขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกองทหารผ่านมาทางบ้านธนู บ้านข้าวเม่า เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๓๐๙ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่าเป็นแน่ จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัย พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมด้วยทหารกล้าราว ๕๐๐ คน มีปืนเพียงกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย และตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก

 

 

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในอยุธยา!! เปิดวีรกรรม "แม่โพ" วีรสตรีผู้เอาชีวิตเข้าแลก ปกป้อง "พระเจ้าตากฯ" ที่มาของ "ศาลเจ้าแม่โพสาวหาญ" (มีคลิป)

 

 

         รุ่งขึ้นพม่ายกกำลังติดตามมาอีก พระองค์พร้อมด้วยทหารคู่ใจได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ขึ้นมาออกต่อสู้ อย่างจู่โจมฉับพลันทันใดต่อทหารพม่า ได้ชัยชนะอย่างงดงาม ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ยังมิได้เลือนรางไปจากความทรงจำจากชาวบ้านพรานนก ตำบลโพธิ์สังหาร ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นตำบลโพสาวหาญ

 

 

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในอยุธยา!! เปิดวีรกรรม "แม่โพ" วีรสตรีผู้เอาชีวิตเข้าแลก ปกป้อง "พระเจ้าตากฯ" ที่มาของ "ศาลเจ้าแม่โพสาวหาญ" (มีคลิป)

 

         ตลอดทางของการรบ ชาวบ้านได้จัดส่งข้าวเม่า ให้เป็นเสบียงและส่งธนูให้แก่ทหารใช้เป็นอาวุธ กองทหารได้ปะทะกับพม่าที่คลองแห่งหนึ่ง พระยาตากตีทหารพม่าแตกพ่าย จึงตั้งชื่อคลองว่า "คลองชนะ" ฝ่ายทหารพม่าได้ติดตามไปอย่างกระชั้นชิดตลอดระยะทางที่หนีออกจากกรุงศรีอยุธยา พระยาตากต้องต่อสู้กับพม่าถึง ๔ ครั้ง แต่กองทหารพม่าก็ไม่ยอมลดละ และไล่ตามไปทันที่บ้านโพธิ์สังหาร

 

             มีหญิงสาวชาวบ้านชื่อนางโพ ได้ช่วยรบกับพม่าจนเสียชีวิต และภายหลังจากพระยาตากกู้ชาติได้แล้ว จึงได้ระลึกถึงกลับมาตั้งชื่อหมู่บ้านโพธิ์สังหาร เป็นหมู่บ้านโพสาวหาญ และยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน และมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งคือ พรานนก หรือเฒ่าคำ ซึ่งเป็นผู้ช่วยจัดเสบียงอาหารให้กับกองทหารพระยาตากในระหว่างสงคราม ในปัจจุบันมีรูปปั้นให้ประชาชนเคารพที่หมู่บ้านพรานนก อำเภออุทัย

 

 

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในอยุธยา!! เปิดวีรกรรม "แม่โพ" วีรสตรีผู้เอาชีวิตเข้าแลก ปกป้อง "พระเจ้าตากฯ" ที่มาของ "ศาลเจ้าแม่โพสาวหาญ" (มีคลิป)

 

 

             ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกู้เอกราชของชาติไทยแล้วทรงขึ้นครองราชย์แล้วทรงรำลึกถึงคุณงาม ความดี จึงทรงโปรดทำนุบำรุงบ้านโพสังหาญ และวัดวาอารามขึ้นมาใหม่ทรงพระราชทานนามว่า โพสาวหาญ อันหมายถึง "หมู่บ้านอันมีวีรสตรีผู้กล้าหาญ น่าภาคภูมิใจ" ในปัจจุบันได้สร้างรูปปูนขึ้น เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังให้รำลึกถึงคุณงาม ความดีของวีรสตรีผู้กล้าหาญ ทั้ง ๒ คน ที่ยอมเสียสละชีวิต เพื่อปกป้องผืนดินของไทยไว้ให้ลูกหลานไทยได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

 

ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในอยุธยา!! เปิดวีรกรรม "แม่โพ" วีรสตรีผู้เอาชีวิตเข้าแลก ปกป้อง "พระเจ้าตากฯ" ที่มาของ "ศาลเจ้าแม่โพสาวหาญ" (มีคลิป)

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ โบราณนานมา

ขอบคุณภาพและคลิปจาก : ละครหนึ่งด้าวฟ้าเดียว ช่อง 3