ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 พระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงพ่อปาน โสนันโท เดิมชื่อ ปาน สุทธาวงษ์ บิดาชื่อ นายอาจ มารดาชื่อ นางอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ที่บ้านตำบลบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับการขนานนามว่า “ปาน” เนื่องจากตั้งแต่แรกเกิดท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวเป็นปานสีแดงที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้ว เมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “โสนันโท” หลวงพ่อปาน ศึกษาร่ำเรียนวิทยาการกับหลวงพ่อสุ่น ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตลอดจนผู้ที่ถูกคุณไสยจนแตกฉาน จากนั้นจึงออกธุดงค์ ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิ
 

• หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.ปางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
 

• หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรบุรี ศิษย์รุ่นพี่สำนักหลวงพ่อเนียม
 

• อาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ด้านพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี
 

• พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระจนจบพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
 

     นอกจากยังได้ศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณที่วัดสังเวชจนเชี่ยวชาญ หลังจากที่ท่านใช้เวลาในช่วงการศึกษาร่ำเรียนนานพอสมควรแก่เวลา หลวงพ่อปานจึงเดินทางกลับบ้านเกิดมาจำพรรษาที่วัดบางนมโค ตั้งสำนักสอนภาษาบาลีและนักธรรม ริเริ่มการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ และพัฒนาวัดบางนมโค จนเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างวัดทั้งหมดถึง 41 วัด มีการก่อสร้างโบสถ์ และศาสนวัตถุอื่นอีกมากมาย นับว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงมากจึงสามารถสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพระศาสนาได้มากถึงเพียงนี้

 

ยกมือท่วมหัว!บารมีคุ้มครอง "ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปาน" วัดบางนมโค พระอรหันต์เเห่งอโยธยา ที่สุดของความศักดิ์สิทธิ์จนมิอาจมีใครกล้าปฏิเสธ(ชมคลิป)

 

ยกมือท่วมหัว!บารมีคุ้มครอง "ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปาน" วัดบางนมโค พระอรหันต์เเห่งอโยธยา ที่สุดของความศักดิ์สิทธิ์จนมิอาจมีใครกล้าปฏิเสธ(ชมคลิป)

  นอกเหนือจากการเป็นพระนักพัฒนาแล้วหลวงพ่อปาน ยังเป็นนักเทศน์ฝีปากเอกเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของบรรดาญาติโยมที่มารับฟังเทศน์ฟังธรรมยิ่งนัก ทางด้านการแพทย์ท่านก็สงเคราะห์รักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือถูกคุณไสยต่างๆ ตามวิชาการแพทย์แผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา ทั้งรักษาด้วยน้ำมนต์และรักษาด้วยสมุนไพร โดยมีการกำกับด้วยคาถาอาคมพลังจิตเพื่อให้เข้มขลังหลวงพ่อปานได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากชีปะขาว เมื่อราวปี พ.ศ.2446 ระหว่างที่ท่านฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมที่ศาลาไว้ศพที่วัดบางนมโค ด้วยวิธีพิจารณา “อศุภกรรมฐาน” คือการพิจารณาศพคนตายเพื่อปลงสังขาร ชีปะขาวเดินเข้ามาหาและบอกกล่าวให้ท่านการสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้านั่งสมาธิ มีรูปสัตว์ 6 ชนิดอยู่ใต้ที่ประทับคือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก โดยนิมิตเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งมีคาถากำกับในแต่ละชนิดมาด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน

 

     ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ท่านอาจารย์แจง ซึ่งเป็นฆราวาสได้เดินทางมาจากนครสวรรค์เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อปานด้วยความเลื่อมใสในกิตติคุณมีการถ่ายทอดวิชาซึ่งกันและกัน หลวงพ่อปานได้ศึกษาวิชาที่ว่าด้วยการปลุกเสกพระเครื่องและสร้างพระตามตำรา “พระร่วงเจ้า” ที่ได้รับสืบทอดมา ซึ่งเป็นต้นแบบการสร้างพระของหลวงพ่อปานที่สำคัญที่สุดคือ “ยันต์เกราะเพชร” ยอดของธงมหาพิชัยสงคราม ก็ได้รับการถ่ายทอดมาในคราวนี้เช่นกัน และท่านนำมาใช้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวบ้านได้อย่างมากมายในโอกาสต่อมา หลวงพ่อปานได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระครูพิเศษ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2481 ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 8 สิริอายุรวม 63 ปี พรรษาที่ 42

 

ยกมือท่วมหัว!บารมีคุ้มครอง "ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปาน" วัดบางนมโค พระอรหันต์เเห่งอโยธยา ที่สุดของความศักดิ์สิทธิ์จนมิอาจมีใครกล้าปฏิเสธ(ชมคลิป)

 

ยกมือท่วมหัว!บารมีคุ้มครอง "ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปาน" วัดบางนมโค พระอรหันต์เเห่งอโยธยา ที่สุดของความศักดิ์สิทธิ์จนมิอาจมีใครกล้าปฏิเสธ(ชมคลิป)

ที่ตั้ง  วัดบางนมโคตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของลำน้ำแควน้อยซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า “วัดบางนมโค” นี้ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 ได้มาตั้งค่ายที่วัดสีกก กวาดต้อนผู้คนและวัวควายซึ่งมีมากในบริเวณนั้นมาใช้งาน จึง เรียกกันว่า “วังโค” หรือ “บ้านบางโค” ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น “บางนมโค” สืบมาจนปัจจุบัน ครั้งแรกตั้งเป็นชื่อตำบลแล้วนำมาใช้เป็นชื่อวัดในภายหลัง

 

ยกมือท่วมหัว!บารมีคุ้มครอง "ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปาน" วัดบางนมโค พระอรหันต์เเห่งอโยธยา ที่สุดของความศักดิ์สิทธิ์จนมิอาจมีใครกล้าปฏิเสธ(ชมคลิป)

 

ยกมือท่วมหัว!บารมีคุ้มครอง "ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปาน" วัดบางนมโค พระอรหันต์เเห่งอโยธยา ที่สุดของความศักดิ์สิทธิ์จนมิอาจมีใครกล้าปฏิเสธ(ชมคลิป)