มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

บทความจากเฟซบุ๊ค : Vachara Riddhagni

เรื่องราวที่อยากให้อ่านกันครับ เรื่องเกี่ยวข้องกับหมุดคณะราษฎรอีกครั้ง อย่างที่ผมเน้นหนักแน่นว่า ไร้สาระ จริงๆ เพราะมันเป็นแค่สัญลักษณ์ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เท่านั้นเอง และไม่มีใครหรือประวัติความเป็นมาอธิบายว่า ทำไมคณะราษฎร ถึงต้องฝังหมุด หรือแผ่นทองเหลืองนั้น ณ ที่แห่งนั้น สาระควรสำนึกและรำลึกถึง ควรอ่านเรื่องนี้ครับ (ยาวครับ)

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

 

เรื่องราวความโชคดีของคณะราษฎรนั้น โดยเริ่มต้นที่ว่า การปฏิวัติ เป็นเรื่องโรแมนติคธรรมดาและทันสมัยเท่านั้นเอง คณะราษฎรก็เช่นกัน เป็นนักเรียนหนุ่มทุนหลวงรวม 7 คน ประชุมที่ บ้านเช่าเลขที่ 9 ถ.ซอมเมอราร์ด กรุงปารีส ฝรั่งเศส ประกอบด้วย นายปรีดี พนมยงค์ เข้าใจว่าเริ่มประชุมกันในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 หลังจากที่ ร.7 ทรงขึ้นครองราชย์ได้ 1 ปี

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

กลุ่มริเริ่มการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 7 คน ประกอบด้วย

1. นายปรีดี พนมยงค์ เป็นลูกชาวบ้านอยุธยา เรียนกฏหมาย

2. ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เป็นลูกครึ่งโดยเป็นบุตรของ พันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ทูตทหารประจำจักรวรรดิเยอรมัน กับมารดาที่เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น ชื่อ แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์ เรียนรัฐศาสตร์

3. ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ (ต่อมาคือ พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม) ชาวสวนนนทบุรี เรียนวิชาทหารปืนใหญ่ชั้นสูง

4. ร.ต.ทัศนีย์ มิตรภักดี เป็นบุตรของเสวกเอก นายพันเอก พระยานรินทรราชเสนี (พร้อม มิตรภักดี) เรียนวิชาทหารม้า เป็นหัวหน้าชุดรถรบในวันรัฐประหาร

5. นายจรูญ สิงหเสนี เป็นลูกพระยาประเสริฐสุนทราศรัย เรียนกฏหมายและสมัครไปรบสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นข้าราชการประจำสถานทูตไทยประจำกรุงปารีส

6. นายแนบ พหลโยธิน เป็นบุตรของ พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) บิดาเป็นพี่ชายของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) จบการศึกษาจากโรงเรียนราชวิทยาลัย (โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน) จบการศึกษาเนติบัณฑิต ประเทศอังกฤษ

7. นายตั้ว ลพานุกรม เป็นลูกชาวบ้านกรุงเทพฯ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ไปศึกษาต่อ ณ เมืองบัลเกนแบร์ก จังหวัดมาร์ค ประเทศเยอรมนี โดยทุนของพระองค์ ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยประเทศเยอรมนีสังกัดฝ่ายอักษะ จึงทำให้ไทยกับเยอรมนีต้องประกาศสงครามกันเมื่อปี พ.ศ. 2460 ตั้วถูกจับเป็นเชลยศึกไปคุมขัง ณ ค่ายคุมขังเมือง Celle ทำให้ตั้วมีโอกาสศึกษาภาษาเพิ่มเติม กลับมาฝรั่งเศสสมัครเป็นทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาได้ทุนจาก สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม ศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส

กลุ่มคณะราษฎรนี้ มีมติให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ซึ่งได้กำหนดแนวนโยบาย การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไว้ 6 ประการ

1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง

2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ

4. จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่

5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น

6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

 

จะเห็นว่ามตินโยบายการปกครองของกลุ่มริเริ่มนี้ ไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์เลย และยังเน้นถึงความเหลื่อมล้ำของกลุ่ม เจ้า กับ สามัญชน

 

หลังจากนั้นกลุ่มบุคคลเหล่านี้กลับมาเมืองไทย เข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ ทุกคนเป็นข้าราชหนุ่มหัวก้าวหน้า มีความรู้ดี ทั้งภาษาและวิชาเฉพาะ จึงได้รับความไว้วางใจจากพระราชวงศ์ ที่เป็นเสนาบดีบังคับบัญชา ในกระทรวงต่างๆ โดยเฉพาะนายปรีดีฯ ที่เป็นคณะทำงานร่างรัฐธรรมนูญ ของ ร.7 แห่งกระทรวงยุติธรรมจึงรู้เรื่องร่าง รธน.และจังหวะเวลาแผนงานของ ร.7 ในการพระราชทาน รธน.เป็นอย่างดี

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

(ปรีดี พนมยงค์)

กลุ่มคณะราษฎร รู้ว่าต้องเริ่มต้นปลุกเร้าในกลุ่มคนหนุ่มก่อน และเริ่มปลุกระดมในกลุ่มทหารหนุ่ม ที่ยังมีเรื่องการกบฏ ร.ศ.130 เล่าหมุนเวียนอยู่ในกองทัพ เพราะเหตุการณ์เพิ่งผ่านไปเพียง 20 ปี (2455-2475)

ด้วยการใช้จุดอ่อนของราชวงศ์ คือ 1. การชิงดีกันในหมู่เจ้า จึงมีการสร้างแนวร่วมและฐานอำนาจของเจ้าแต่ละองค์ 2. เจ้าบางองค์ก็ประพฤติพระองค์ตามอำเภอใจ ทำให้ง่ายต่อการปลูกฝังความคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองในหมู่ข้าราชการ 3. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ และได้รับอิทธิพลถ่ายทอดลงมาตั้งแต่ครั้ง ร.6 แล้ว จึงเข้าร่วมด้วยง่าย ส่วนสามัญชน รับรู้จากหนังสือพิมพ์ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งจากชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาทำการค้าขายกับคนไทย

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

ร.7 และพระราชวงศ์ก็ทราบดีว่า มีคลื่นใต้น้ำมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของ ร.7 ที่ทรงศึกษาและวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเฉพาะเหตุการณ์รุนแรงจากการปฏิวัติบอลเชวิค ในรัสเซีย จนเป็นสงครามกลางเมือง และเหตุเศรษฐกิจตกต่ำของโลกในห้วง ค.ศ.1930 (Great Depression) มีเหตุการณ์รุนแรงฆ่ากันตาย ประเทศชาติ และสังคมแตกแยกระหว่างเสรีประชาธิปไตยกับผู้นิยมคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ และต่อมามีกฎหมายควบคุมลัทธิคอมมิวนิสต์ในสหรัฐฯ (Communist Control Act 1954)

จึงทรงไม่ต่อต้านด้วยกำลัง แต่ทรงใช้การเมือง โดยขยายแนวทางประชาธิปไตย ผ่านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในหมู่ข้าราชการและหนังสือพิมพ์ในหมู่สามัญชน เพื่อแย่งชิงแนวร่วมประชาชน และต้องการให้ประชาชนมีความพร้อมในการรองรับระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

คณะราษฎร รวบรวมสมาชิก ที่เกิดจากโมเม็นตัมของแนวคิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 แล้ว มีจำนวนดังนี้ ทหารบก 30 คน ทหารเรือ 29 คน ข้าราชการพลเรือนและสามัญชน 55 คน

ร.7 ทรงทราบดีว่ามีการเคลื่อนไหว ถ้าพระองค์ทรงไม่มีหัวใจประชาธิปไตย พระองค์ก็สามารถกวาดล้างได้หมดแน่นอน แต่ด้วยพระปรีชาสามารถและความกล้าหาญของพระองค์ที่จะเผชิญหน้ากับการรัฐประหาร

ในการนี้ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดีฯ ล่วงรู้ถึงแผนการพระราชทานรัฐธรรมนูญ และฉวยโอกาสที่ ร.7 ทรงแปรพระราชฐานไปพระราชวังไกลกังวล ให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่เป็นหัวหน้านำทหารในพระนครบ้างหน่วยและนักเรนียนนายร้อย (เพื่อให้เห็นว่ามีจำนวนมาก) ออกทำการรัฐประหาร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

ร.7 ทรงไม่ปรารถนาให้เกิดสงครามกลางเมือง และการนองเลือด ร่วมทั้งไม่ทรงเสี่ยงเอาชีวิตพระราชวงศ์ที่ถูกจับเป็นตัวประกันเป็นเครื่องสังเวยพระราชอำนาจ จึงทรงยอมตามที่คณะราษฎรเรียกร้อง แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความกล้าหาญ ต่อต้านกับข้อเรียกร้องที่ไม่เป็นธรรมกับพระราชวงศ์และรัฐธรรมนูญที่เป็นคอมมิวนิสต์

รัฐธรรมนูญปกเหลืองนั้นถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประเทศไทยมีการปกครองตามแบบลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงทรงให้มีการแก้ไขเสียใหม่

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

 

จนในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2476 ทหารหัวเมืองร่วมตัวกันก่อการต่อต้าน รบกับทหารรัฐบาลคณะราษฎรอยู่ 5 วัน และต่อมาแพ้จึงกลายเป็นกบฏ นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร นำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสาน หวังล้มล้างการปกครองของรัฐบาลคณะราษฎร เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัติ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง"

มากทั้งพระปรีชาและพระเมตตา!! ร.7 ทรงไม่ปรารถนาสงครามกลางเมือง-การนองเลือด ทั้งที่ทรงสามารถกวาดล้างคณะราษฎรได้ง่ายๆแต่ก็ไม่ประสงค์ต่อสู้

การสู้รบซับซ้อน ซึ่งในช่วงต้นนั้น ทหารหัวเมืองได้เปรียบบุกเข้าถึงชานเมืองพระนครแล้ว และยึดสนามบินดอนเมืองของกรมอากาศยานได้แล้ว แต่เนื่องจาก ร.7 ไม่สนับสนุน ทำให้ฝ่ายกบฏ ขาดพลังจิตวิญญาณในการสู้รบ

เพราะ ร.7 ไม่ปรารถนาให้เกิดสงครามเช่นนั้นเลย พระองค์ไม่ต้องการอำนาจที่มาจากการแย่งชิง นี่ก็เป็นโชคดีของคณะราษฎร

อยากให้อ่านกันครับ

บทความโดย :Vachara Riddhagni