น้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ 21 ก.ค. วันสวรรคต "พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย " ผู้เป็นต้นแบบแห่ง "กวีนิพนธ์"

น้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ  21 ก.ค. วันสวรรคต "พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย " ผู้เป็นต้นแบบแห่ง "กวีนิพนธ์"

พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 ) เสด็จสวรรคต เนื่องจากทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ ไม่รู้สึกพระองค์ เป็นเวลา 8 วัน สิริพระชนมายุได้ 57 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี พระราชวงศานุวงศ์เห็นว่า เจ้าฟ้ามงกุฎฯยังทรงผนวชและมีพระชนม์เพียง 20 พรรษา จึงเห็นพ้องให้อัญเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

น้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ  21 ก.ค. วันสวรรคต "พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย " ผู้เป็นต้นแบบแห่ง "กวีนิพนธ์"

พระราชปรีสามารถ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์- พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้

 

ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม-นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง

น้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ  21 ก.ค. วันสวรรคต "พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย " ผู้เป็นต้นแบบแห่ง "กวีนิพนธ์"
ด้านดนตรี-เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน"
ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

น้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ  21 ก.ค. วันสวรรคต "พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย " ผู้เป็นต้นแบบแห่ง "กวีนิพนธ์"
กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง