เจ้าชายอะกิชิโนะ เตรียมเสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะตัวแทนแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ร่วมถวายอาลัยในพระราชพิธีพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙ 26 ตุลาคม นี้

เจ้าชายอะกิชิโนะ เตรียมเสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะตัวแทนแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ร่วมถวายอาลัยในพระราชพิธีพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙ 26 ตุลาคม นี้

สื่อมวลชนญี่ปุ่นรายงานว่า เจ้าชายอะกิชิโนะ พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น จะเสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะตัวแทนแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น เพื่อร่วมถวายอาลัยในพระราชพิธีพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 26 ตุลาคมนี้

เจ้าชายอะกิชิโนะ ทรงสนิทสนมกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเจ้าชายอะกิชิโนะ ทรงพาเจ้าหญิงมะโกะ และเจ้าหญิงคะโกะ พระราชธิดา เสด็จฯเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2003 ซึ่งเป็นการเสด็จฯต่างประเทศครั้งแรกของเจ้าหญิงทั้ง 2 พระองค์ สร้างความประทับใจให้กับเจ้าหญิงอย่างมากจนกระทั่ง 12 ปีต่อมา ในปี 2015 สมเด็จพระเทพฯ ได้เสด็จฯเยือนญี่ปุ่นและได้พบกับเจ้าหญิงทั้ง 2 พระองค์อีกครั้ง และทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น

 

 

เจ้าชายอะกิชิโนะ เตรียมเสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะตัวแทนแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ร่วมถวายอาลัยในพระราชพิธีพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙ 26 ตุลาคม นี้

ทั้งนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิ และพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น เคยเสด็จมายังประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อแสดงความอาลัยแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 และทรงมีพระราชดำรัสว่า ในหลวงรัชกาลที่9 ทรงเป็นพระสหายที่แนบแน่นของพระองค์

โดยเมื่อทั้ง 2 พระองค์ทรงทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช   สำนักพระราชวังอิมพีเรียล ของญี่ปุ่น ได้ออกแถลงว่า สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ซึ่งมีพระชนมายุ 82 พรรษา พร้อมกับจักรพรรดินี มิชิโกะ ได้เริ่มไว้อาลัยเป็นเวลา 3 วันต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

พร้อมกันนั้นสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ  ยังได้มอบหมายให้นายชิเคโอะ คาวาอิ ประธานองคมนตรี เป็นตัวแทนพระองค์ไปยังสถานทูตไทยประจำกรุงโตเกียวเพื่อแสดงความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศอีกด้วย ขณะที่พระสงฆ์ญี่ปุ่น 1,300 รูปและพุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่น  พร้อมใจประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่วัด Nenbutsushu จังหวัดเฮียวโกะ

วันที่ 20 ตุลาคม 2559  ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ 82 ชันษา ของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่นเป็นทางด้านสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะได้ทรงตอบคำถามผ่านทางจดหมายซึ่งส่งผ่านสมาคมผู้สื่อข่าวประจำสำนักพระราชวังของญี่ปุ่นพระองค์ยังได้ทรงเขียนข้อความระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงให้การต้อนรับพระองค์ในการเสด็จเยือนประเทศไทยเมื่อ 26 กันยายน  2534 ความว่า
“ในค่ำวันที่ 13 ตุลาคม ซึ่งฉันกำลังเริ่มเขียนตอบจดหมายของผู้สื่อข่าว ฉันได้รับข่าวอันน่าเสียใจเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชของประเทศไทย พระองค์ทรงมีอายุมากกว่าฉัน 6 หรือ 7 ปี และทรงให้ความกรุณาต่อฉันเสมือนพี่ชายผู้แสนดีตั้งแต่ฉันยังอายุ 20 กว่าปี ฉันได้ทราบข่าวเรื่องการประชวรของพระองค์ และหวังมาตลอดที่จะมีโอกาสได้พบพระองค์อีกสักครั้ง ฉันขอแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระราชวงศ์ไทยทุกพระองค์ รวมทั้งประชาชนชาวไทย ด้วยความอาลัยอย่างยิ่ง”

และเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ที่ผ่านมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสื่อมวลชนญี่ปุ่นเข้าเฝ้าฯ พระราชทานสัมภาษณ์ โดยความตอนหนึ่งมีพระราชปรารภถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความระลึกถึงว่า  “ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสวรรคต ทั้งนี้ เมื่อปีคริสต์ศักราช 1963 (ปีโชวะที่ 38) ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์เป็นครั้งแรก เมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนประเทศญุ่ปุ่นในฐานะพระราชอาคันตุกะ

ในปีถัดมาในฐานะผู้แทนพระองค์สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ ได้ไปเยือนประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระจักรพรรดินีได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพระองค์และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้พาข้าพเจ้าไปเยี่ยมเยียนยังจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ด้วย และข้าพเจ้าก็ได้รับเชิญให้ไปร่วมฉลองพระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระองค์เป็นการเจริญสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นช่วงเวลาที่อยู่ในใจข้าพเจ้าเสมอ”

เจ้าชายอะกิชิโนะ เตรียมเสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะตัวแทนแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ร่วมถวายอาลัยในพระราชพิธีพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙ 26 ตุลาคม นี้

เจ้าชายอะกิชิโนะ เตรียมเสด็จเยือนประเทศไทยในฐานะตัวแทนแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ร่วมถวายอาลัยในพระราชพิธีพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙ 26 ตุลาคม นี้

 

จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์

ปีค.ศ.1963 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จฯ เยือนประเทศญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะและพระบรมวงศานุวงศ์ญี่ปุ่นทุกพระองค์เสด็จฯ มาถวายการต้อนรับถึงสนามบินฮาเนดะ ในขณะนั้นสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารอยู่ ในครั้งนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นได้ศึกษามาล่วงหน้าแล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีความสนพระทัยในเทคโนโลยีด้านใดบ้าง จึงกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโรงงานผลิตกล้องถ่ายรูปของบริษัทแคนนอน โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า NEC และกิจการด้านโทรคมนาคมและการผลิตวิทยุทรานซิสเตอร์ตามลำดับ

ปีค.ศ.1964 มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะและพระมเหสีได้เสด็จฯ แทนพระองค์สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงทูลเชิญทั้งสองพระองค์ให้เสด็จฯ ประพาสเชียงใหม่ร่วมกับพระองค์ และระหว่างการเดินทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังทรงเป่าคลาริเน็ตเพลง “Memories of You“ ถวายด้วย ทำให้ทั้งสองพระองค์ทรงประทับพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังทรงขับรถยนต์พระที่นั่งพาทั้งสองพระองค์ขึ้นเขาชมวิถีชีวิตชาวบ้านและทิวทัศน์ธรรมชาติด้วยพระองค์เองอีกด้วย นอกจากนี้ในการเสด็จฯ เยือนประเทศไทยในปีค.ศ.1964 นั้น มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ (ในขณะนั้น) ทรงทราบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า ชาวเขาเผ่าม้งมีปัญหาด้านโภชนาการ ขาดโปรตีนที่ดี จึงทรงถวายพันธุ์ปลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงทดลองเลี้ยงในสวนจิตรลดาจนประสบความสำเร็จ และพระราชทานชื่อปลาว่า “ปลานิล”

เมื่อมกุฎราชกุมารอากิฮิโตะเสด็จฯ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ ทรงเลือกที่จะเสด็จฯ เยือนประเทศไทยเป็นหนึ่งในสามประเทศแรกในการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกในฐานะองค์สมเด็จพระจักรพรรดิ โดยได้เสด็จฯ เยือนประเทศไทยในเดือนกันยายน ปีค.ศ.1991

ในปี พ.ศ. 2506 ภายหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พ.ค. – 5 มิ.ย. พ.ศ. 2506 เพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี อันเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่ง เมื่อครั้ง ในหลวงเสด็จเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ทรงเสด็จพระราชดำเนินถึงท่าอากาศยานอินเตอร์เนชั่นแนล กรุงโตเกียว (Tokyo International Airport)หรือสนามบินฮาเนดะในปัจจุบัน วันที่ 27 พ.ค. พ.ศ. 2506 ในครั้งนั้นได้ประทับที่ ที่ประทับ เกฮินคัง (Geihinkan) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ Akasaka Palace (Akasaka rikyu) สถาปัตกรรมรูปแบบบาร็อคที่สร้างมาตั้งแต่สมัยเมจิ เดิมสร้างเพื่อเป็นที่ประทับของมกุฎราชกุมาร ปัจจุบันใช้เพื่อเป็นที่พำนักของแขกบ้านแขกเมือง พระราชวังแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแห่งชาติญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2009 ตั้งอยู่ในเขตมินาโตะ โตเกียว ซึ่งโดยปกติทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเป็นช่วงๆ โดยจำกัดจำนวนผู้เข้าชม

ต่อมาในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2507 เพียง 1 ปีหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยือนญี่ปุ่น มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะและเจ้าหญิงมิชิโกะ ได้เสด็จฯ เยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก
 
จากนั้นในปี พ.ศ. 2532 มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรรดิอากิฮิโตะ ขณะที่เจ้าหญิงมิชิโกะก็ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีด้วย ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่เสด็จฯ เยือนหลังจากทรงครองราชย์
การเสด็จเยือนครั้งนั้น เป็นการเยี่ยมเยือนในฐานะ "พระราชอาคันตุกะของพระมหากษัตริย์" และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลขเดชได้ทรงพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงที่สุดของประเทศไทยให้แก่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการผูกสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสองประเทศ
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะเสด็จเยือนประเทศไทยอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปี พระองค์ทรงเข้าร่วมพิธีฉลองสิริราชสมบัติ และในครั้งนั้น ทรงประทับนั่งตรงกลางระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความแน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองราชวงศ์ได้เป็นอย่างดี  นอกจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะแล้ว สมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ ก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อประเทศไทยเช่นกัน เจ้าชายอาคิชิโนะ พระราชโอรสของสมเด็จพระจักพรรดิอากิฮิโตะทรงมีไมตรีอันแน่นแฟ้นกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระองค์เสด็จเยือนประเทศไทยบ่อยครั้ง และยังได้ทรงศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ของไทยอีกด้วย

และในปีพ.ศ. 2560 เป็นปีที่ครบรอบ 130 ปีที่ไทยและญี่ปุ่น สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของไทย และสมเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะของญี่ปุ่น