รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

“คนกลุ่มนี้เขาไม่ให้ฉันทำที่เชียงดาว”พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล และแนวคิดที่ล้ำยุคจนทำให้ต้องรอยาวนานกว่า ๒๐ ปี โครงการนี้จึงได้เป็นจริง

“คนกลุ่มนี้เขาไม่ให้ฉันทำที่เชียงดาว”พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล และแนวคิดที่ล้ำยุคจนทำให้ต้องรอยาวนานกว่า ๒๐ ปี โครงการนี้จึงได้เป็นจริง

โครงการบางโครงการเป็นสิ่งที่ในหลวง ร.๙ ทรงมองเห็นมานานหลายสิบปี แต่กว่าจะสำเร็จก็ต้องล่วงเลยมานานกว่า ๒๐ ปีเลยทีเดียว
ย้อนกลับไปเมื่อปี ๒๕๔๘ ทีมงานของมูลนิธิชัยพัฒนาได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านชลประทานจากญี่ปุ่นบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายรายงานเรื่องเทคโนโลยีใหม่ เมื่อผู้เชี่ยวชาญมาถึง ก็มีรับสั่งกับเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเชิงตำหนิว่า “คนไทยพูดแล้วไม่เชื่อ ต้องให้ต่างชาติพูดถึงจะเชื่อ” สร้างความตระหนกให้แก่ผู้ที่เข้าเฝ้าฯ เพราะไม่ทราบว่าในหลวงทรงกริ้วด้วยเหตุอันใด

“คนกลุ่มนี้เขาไม่ให้ฉันทำที่เชียงดาว”พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล และแนวคิดที่ล้ำยุคจนทำให้ต้องรอยาวนานกว่า ๒๐ ปี โครงการนี้จึงได้เป็นจริง
จากนั้นพระองค์ก็ตรัสต่อว่า “คนกลุ่มนี้เขาไม่ให้ฉันทำที่เชียงดาว” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกระบุถึงโดยตรงก็งงและหน้าเสียว่าไปห้ามในหลวงทำโครงการตั้งแต่เมื่อใด จนกระทั่งสมเด็จพระเทพฯ ต้องเสด็จฯ ไปกระซิบว่า “อย่าตกใจ ฉันโดนมาแล้วในรถ ท่านรู้ว่าวันนี้จะมาพรีเซนต์ให้ท่านฟัง แล้วท่านก็ทรงกริ้วมาก เพราะสิ่งเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว แต่ ณ วันนี้เพิ่งมาคิด”
ซึ่งสิ่งที่ในหลวงทรงอยากให้ทำก็คือ ‘อ่างเก็บน้ำใต้ดิน’ ซึ่งมีพระราชดำริให้สร้างในถ้ำที่บ้านห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ไม่มีใครสนองพระราชดำริ เหตุเพราะว่าเป็นสิ่งที่ก่อสร้างที่ไม่มีใครเขาทำกัน และไม่มีเขียนไว้ในตำรา ทำให้ไม่ใครกล้าสร้างกล้าออกแบบ จนสุดท้ายก็มีข้าราชการคนหนึ่งยอมออกแบบถวาย โดยยอมฉีกตำราและใช้ประสบการณ์ตลอด ๔๐ ปีเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำนี้ ส่วนนายช่างที่มารับสร้าง ก็มาด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าใกล้เกษียณอายุราชการแล้ว จึงตัดสินใจยอมทำงานถวายฯ
ช่วงแรกๆ ที่เริ่มทำโครงการสร้างเขื่อนใต้ดินนี้ คือต้องทำคอนกรีตปิดกั้นหน้าถ้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ด้านใน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทุลักทุเลอย่างยิ่ง เพราะในโลกนี้ยังไม่เคยมีใครทำอ่างเก็บน้ำใต้ดินปิดปากถ้ำหินปูนมาก่อน ส่วนใหญ่ที่ทำในต่างประเทศคือเขื่อนเก็บน้ำใต้ดินที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้งบประมาณสูง แต่ของไทยคือการประยุกต์ถ้ำที่มีอยู่ให้สามารถกักเก็บน้ำได้
ปัญหาใหญ่ก็คือหินปูนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของถ้ำนั้นเก็บน้ำได้ไม่ดี เพราะเวลาหินปูนโดนน้ำก็จะละลาย ซึ่งจะทำให้เขื่อนมีรูรั่วอยู่ตลอด จนต้องเอาปูนมายาบริเวณที่รั่วเสมอๆ นอกจากนี้พอเข้าไปในถ้ำแล้ว ทีมงานเกิดหลงถ้ำจนเกือบขาดออกซิเจนตายกันเลยทีเดียว
หลังจากสร้างได้ไม่นานก็เป็นตามคาด เจ้าหน้าที่ที่ดูแลก็มากราบทูลให้ทรงทราบว่า เขื่อนรั่วแล้ว ในหลวงก็รับสั่งให้ไปอุด โดยระหว่างนั้นทาง ดร.สุเมธ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เองก็ได้ยินคำค่อนแคะจากคนอื่นๆ เสมอว่า "ไปตามใจท่านทำไม" หรือ "เอาเงินมูลนิธิฯ ไปทำเขื่อนรั่วๆ ทำไม" จนกระทั่งผ่านไป ๓ ปี มูลนิธิฯ ก็รับเอกสารจากสำนักราชเลขาธิการว่า ในหลวงมีรับสั่งว่า “ต่อไปการทำเขื่อนขนาดเล็กคงไม่สามารถทำได้ เพราะจะรบกวนประชาชน ให้ทำอย่างเชียงดาว ให้ไปศึกษาดู” หลายคนถึงกลับงงเพราะเห็นว่าโครงการนี้ไม่มีประโยชน์ จะพัฒนาต่อยอดได้อย่างไร

“คนกลุ่มนี้เขาไม่ให้ฉันทำที่เชียงดาว”พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล และแนวคิดที่ล้ำยุคจนทำให้ต้องรอยาวนานกว่า ๒๐ ปี โครงการนี้จึงได้เป็นจริง
จนสุดท้าย ทีมงานต้องไปพึ่งนักวิชาการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านไป ๓ เดือน อาจารย์คนนั้นโทรศัพท์กลับมาว่าได้ส่งอีเมลไปถามเหล่านักวิชาการต่างประเทศ ปรากฏว่าแต่ละคนก็ส่งข้อความกลับมาถามว่า ใครเป็นคิดทำครับของแบบนี้? เมื่อตอบไปว่า ‘My King’ ทุกคนก็ส่งข้อความกลับมาเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘Genius’ เหตุก็เพราะเขื่อนใต้ดิน มีข้อดีคือ น้ำที่เก็บไว้จะไม่ท่วมที่ดินของเกษตรกร ไม่ต้องเวนคืน ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก ประชาชนจึงไม่เดือดร้อน ที่สำคัญคือ น้ำที่กักเก็บจะไหลไปตามโพรงหินปูน ทำให้พื้นที่แถบนั้นฉ่ำน้ำอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านแถวนั้นก็สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการเกษตรและอุปโภคบริโภค ผลก็คือพื้นที่แถบนั้นไม่เคยประสบปัญหาแห้งแล้งอีกเลย แต่จะอุดมสมบูรณ์เพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณของฝนในแต่ละปี
และโครงการในพระราชดำริที่ติดค้างยาวนานกว่า ๒๐ ปีของในหลวง ร.๙ ก็ได้ฤกษ์ถือกำเนิด สร้างความสุขและประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสียที จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ทั้งยังมีแนวคิดที่ล้ำนำสมัยกว่านักวิชาการในยุคนั้นมากจริงๆ

เรียบเรียงจาก 
- บทพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากหนังสือพระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา 
-บทสัมภาษณ์ของ ลลิต ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา จากงานการปฏิรูปสังคมไทยสู่สังคมนวัตกรรม โดยโครงการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๙
ที่มา FB: เพจสานต่อที่พ่อทำ