เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

ใครจะไปคิดว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระนามบัตรเป็นของพระองค์เอง แต่ที่เราไม่รู้กันก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะว่าพระนามบัตรนี้ พระองค์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์และไม่เป็นทางการนัก โดยผู้ที่ออกแบบนามบัตรให้พระองค์ คือ คุณฮิโรมิ อินาโยชิ นักออกแบบชาวญี่ปุ่น โดยผู้ออกแบบพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ให้สัมภาษณ์ในวารสาร 'ในวงการพิมพ์' (THE THAI PRINTER) ไว้ว่า สาเหตุที่เขาได้รับเกียรติให้เป็นผู้ออกแบบ "พระนามบัตรในหลวง" นั้นมาจากการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบสัญลักษณ์และสี ในงานของสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยในวันนั้นได้มีบุคคลจากในสำนักพระราชวังเห็นฝีมือ แล้วให้ความสนใจและนำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เนื่องในวโกาสพระชนม์พรรษาครบรอบ ๗๕ พรรษา โดยได้ออกแบบนามบัตรทั้งหมด ๔ แบบ ดังนี้

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

คุณฮิโรมิ อินาโยชิ โดยผู้ออกแบบพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

 

แบบที่ ๑ ได้แรงบันดาลใจมาจากตัว A ซึ่งเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ "อดุลยเดช" และส่วนของจุดสีที่อยู่ภายในแทนสีของแก้วนพรัตน์หรืออัญมณี ๙ ประการ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์

 

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

 

แบบที่ ๒ ได้แรงบันดาลใจมาจาก การพนมมือไหว้ของคนไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นคนไทย

 

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

 

แบบที่ ๓ ได้แรงบันดาลใจมาจาก เครื่องดนตรีแซกโซโฟน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงโปรดเป็นพิเศษ

 

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

 

แบบที่ ๔ ได้แรงบันดาลใจมาจาก พระนาม "ภูมิพล" ซึ่งเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะขึ้นต้นด้วยตัว B แล้วออกแบบรูปร่างทำเป็นปีกของพญาครุฑ

เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

 

จากภาพที่เห็นจะสังเกตได้ว่า การออกแบบ "พระนามบัตร" จะคำสั้นๆเพียง 3 บรรทัด เน้นภาพสัญลักษณ์มากกว่าการสื่อความหมายด้วยภาษาของตัวอักษร ดังที่ปรากฎในนามบัตรทั่วไป โดยคุณฮิโรมิ ได้อธิบายว่า หากพูดถึงระดับนานานาชาติแล้ว จริงๆแล้วการออกแบบนามบัตรทั่วไปส่วนใหญ่นั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากการออกแบบในระดับนานาชาติควรจะทำเป็นสัญลักษณ์มากกว่าใช้ภาษาของตัวอักษร


"นามบัตรที่ดีจะไม่นิยมพิมพ์ชื่อตัวเองหรือชื่อบุคคลขนาดใหญ่ ตัวหนังสือจะออกแบบเพียงให้ดูเป็นมันขึ้นมาและสื่อภาษาเล็กน้อยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็คงไม่จำเป็นต้องเน้นชื่อ และไม่จำเป็นต้องใส่ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ สื่อเพียงแค่เป็นพระมหากษัตริย์ของไทยก็เพียงพอ" คุณฮิโรมิ กล่าว

 

นอกจากนี้ คุณฮิโรมิ ยังบอกอีกว่า การออกแบบสัญลักษณ์ไม่เหมือนกับภาพวาดทั่วไป ที่มองเห็นของจริงแล้ววาดภาพเหมือนออกมา แต่งานออกแบบของตนเองไม่ได้มองภาพจริงวาดภาพเหมือน แต่เป็นการใช้จิตนาการนึกภาพออกมาเป็นสัญลักษณ์แทนตัวบุคคล อย่างไรก็ตาม ในขณะออกแบบนั้น สิ่งที่คุณฮิโรมิคำนึงถึงอย่างมากคือเรื่องระบบการพิมพ์ ซึ่งจะต้องมีลูกเล่นให้แปลกตา  มีความหมายและลูกเล่นที่ไม่ซ้ำแบบใคร หรือทำการพิมพ์ลอกเลียนแบบไม่ได้ง่าย ๆ

 

เป็นบุญตาที่ได้เห็น!!! เปิดภาพ พระนามบัตรของ "ในหลวง ร.๙" ทั้ง ๔ แบบ มีเสน่ห์ เรียบง่าย ความหมายดีไม่ซ้ำใคร แชร์เก็บไว้ให้ลูกหลานได้ชม

 

"ระบบการพิมพ์จะค่อนข้างพิถีพิถัน อย่างเช่น การใช้สีพิเศษ กระดาษก็จะต้องเป็นของ Arjo Wiggins Fine ซึ่งเป็นกระดาษของฝรั่งเศส เครื่องพิมพ์ก็จะกำหนดให้ต้องใช้เครื่องพิมพ์โรแลนด์และไฮเดลเบิร์กเท่านั้น รวมทั้งอื่น ๆ ซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยให้โรงพิมพ์ดำเนินการทั้งหมดเลย รวมทั้งจะเข้าไปดูแลและควบคุมการพิมพ์งานด้วยตัวเองด้วย" คุณฮิโรมิ กล่าว

 

สำหรับขั้นตอนการพิมพ์ "พระนามบัตร" มีความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก โดยจะทำการพิมพ์สีพื้นก่อนแล้วทำการพิมพ์ฟอยล์ตบท้าย โดยในส่วนจุดสีของนพรัตน์หรือสีอัญมณีทั้ง ๙ เม็ด จะต้องพิมพ์ทั้งหมด ๑๘ สี กล่าวคือ พิมพ์ครั้งแรกจำนวน ๙ สีหรือ ๑ รอบ และพิมพ์ ๙ สีอีก ๑ รอบทับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่า แต่ละสีจะมีการพิมพ์ ๒ ครั้ง โดยกว่าจะได้งานออกมาดังที่ตั้งใจ ต้องทำการปรู๊ฟถึง ๑๒ ครั้ง


ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงโปรดพระนามบัตรชุดนี้มาก และสั่งให้โรงพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่น พิมพ์เพิ่มขึ้นด้วย หลังจากทรงใช้ชุดแรกหมด โดยนามบัตรชุดนี้ใช้เป็นการส่วนพระองค์มาก และไม่เป็นทางการ  เพราะส่วนที่เป็นทางการในหลวงท่านก็มีตราประจำรัชกาล หรือตราสัญลักษณ์เนื่องในวโรกาสต่าง ๆ อยู่แล้ว

 

ขอบคุณข้อมูล welovemyking