"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th

ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทานปริญญาบัตรมา ๔๙๐ ครั้ง
• ประทับครั้งละ ๓ ชั่วโมง
• น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ ๓ ขีด
• รวมน้ำหนักที่เคยพระราชทานปริญญาบัตร...ทั้งหมด ๑๔๑ ตัน
"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา แม้พระราชกรณียกิจนี้จะเป็นภาระแก่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์มาก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้คงพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชทานแทนพระองค์

"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรแก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ของรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์เคยคำนวณว่า หากเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ๔๙๐ ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ ๓ ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร ๔๗๐,๐๐๐ ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ ๓ ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด ๑๔๑ ตัน จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการพระราชทานลง โดยเสนอให้พระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปเท่านั้น แต่มีพระราชกระแสรับสั่งว่า "เสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ ๖-๗ วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปีๆ เปรียบกันไม่ได้เลย” โดยพระองค์ทรงพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓

"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

นอกจากนี้ยังมี พระปฐมบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานแก่จุฬาบัณฑิตรุ่นที่ ๒๒ มีความสำคัญและทรงคุณค่า ขออัญเชิญส่วนหนึ่งที่ได้ทรงเน้นพิเศษดังนี้
"…สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาและอนุปริญญาในวันนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีด้วย เพราะการที่จะบรรลุถึงผลขั้นสุดท้ายของการศึกษา เช่นที่ได้ปฏิบัติมานั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก และน่าสรรเสริญ แต่ขอให้นึกอยู่เสมอว่า เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่เอาใจใส่เฝ้าดูการกระทำของท่านอยู่ต่อไป ใครทำดีก็ได้รับคำชมเชยและสรรเสริญ ใครทำไม่ดีเขาก็จะพากันติ และพลอยติชมถึงสถานศึกษาของท่านด้วย ชื่อมหาวิทยาลัยของท่านคือ "จุฬาลงกรณ์” จะติดตัวท่านไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ฉะนั้นทุกๆ ครั้งที่ท่านจะกระทำการสิ่งใดลงไป จงคิดแล้วคิดอีก ทบทวนดูทั้งทางได้ทางเสียให้แน่ชัดเสียก่อน "จุฬาลงกรณ์” หาได้เป็นแต่เพียงชื่อของมหาวิทยาลัยนี้เท่านั้นไม่ ยังเป็นนามของผู้พระราชทานกำเนิดของสถานที่แห่งนี้ด้วย ฉะนั้นจึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านจะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนไปจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้…”

"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

นอกจากนี้ ทรงเห็นว่า การพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมีความสำคัญ เนื่องจากบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ดังนั้นจึงมีรับสั่งว่า "จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นระยะเวลามากกว่า ๕๐ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงต้องยุติพระราชกิจในการนี้ลง ด้วยพระชนมายุมากขึ้นประกอบกับทรงพระประชวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์

"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานปริญญาบัตร แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีประจำปีการศึกษา ๒๕๒๐ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ข้อมูลซึ่งน่าสนใจสำหรับพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนั้นคือ บัณฑิตผู้ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เป็นคนแรกคือ คุณประกายเพ็ชร อินทุโสภณ วศบ.เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

 

"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓

 

 

ขอบคุณข้อมูล : Teen M Thai ดอทคอม , Trinya Joyzzy Ariyawuthiphan