ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

ในพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ตามปกติพราหมณ์จะมวยผมไว้เรียบร้อย และมีความเชื่อว่า การสยายผมเป็นอัปมงคล หรือเพื่อแสดงความเศร้าโศกอย่างถึงที่สุด หรือแสดงเหตุหายนะ การสยายผมเป็นธรรมเนียมของอินเดียโบราณ แต่เดิมคนโบราณทั้งในสุวรรณภูมิและชมพูทวีปต่างรวบผมเป็นมวย เมื่อผู้ที่รักสิ้นชีวิตไป จะปลดมวยสยายผมลงมาดูกระเซอะกระเซิงแสดงความเศร้าเสียใจ และบอกกับผู้คนว่าอยู่ในเวลาไว้ทุกข์ ดังในคัมภีร์ภควัทคีตากล่าวว่า “วีรบุรุษไม่ทำร้ายผู้สยายผม” หมายความว่า ห้ามทำร้ายผู้คนในช่วงไว้ทุกข์ เพราะกำลังอยู่ในช่วงกำสรดสุดแสน

เหตุนี้ในงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีพรามหณ์เดินก้มหน้าสยายผม ให้ความรู้สึกประหนึ่งเทพยดาประกาศจุดจบของโลกเสียเหลือเกิน
ทั้งนี้ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.9 พราหมณ์ เดินตามขบวนพระบรมโกฐ ได้เริ่มต้นสยายผมเมื่อเริ่มต้นการเดินริ้วขบวนที่ 1 ซึ่งเป็นภาพพระราชพิธีตามธรรมเนียมโบราณ

ซึ่งในพระไตรปิฎกได้มีการเอ่ยถึงกิริยาแบบนี้หลายครั้ง การสยายผมแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นในเหตุอันยังความเศร้าเสียใจต่อผู้คนอย่างสุดซึ้ง เช่นเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พวกเทวดา “สยายผมประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไป” หรือเมื่อคราวจะเกิดหายนะขึ้นในจักรวาล โลกพยุหเทวดาจะนุ่งแดงห่มแดง สยายผมเดินร้องไห้ไปพลางป่าวประกาศจุดจบของโลก

การสยายผมของ”พราหมณ์” จึงเป็นสิ่งที่สื่อถึงเรื่องที่ไม่เป็นมงคล หรือ เพื่อแสดงความโศกเศร้าอย่างที่สุด นั่นคือ ไว้ทุกข์ต่อบุคคลอันเป็นที่รักนั่นเอง ปัจจุบันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความผูกพันกับวิถีชีวิตของบ้านเราไปแล้วสำหรับพิธีการ-ความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์
 
ซึ่งในอดีตก็เคยมีภาพเหตุการณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8 ) และในวันนี้ 26 ตุลาคม พ.ศ.2560 เราคนไทยทุกคนก็ได้เห็นภาพนี้โดยพร้อมเพียงกันอีกครั้ง ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ( รัชกาลที่ 9 ) ในครั้งนี้.. ก็ได้มีพิธีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้ง พิธีบวงสรวงก่อสร้างพระเมรุมาศ การปักหมุด การบูรณะปฏิสังขรณ์พระยานรุมาศและการจัดทำเครื่องประกอบพระอิสริยยศ


ทั้งนี้นอกจากพิธีการดังกล่าวแล้วทางด้านของพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพราหมณ์ สังกัดกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ยังได้เปิดเผยว่า ในส่วนของพราหมณ์ในพระราชสำนักยังจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เชิญพระโกศพระบรมศพประดิษฐานที่พระเมรุมาศด้วย

ที่น่าสนใจก็คือบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายนั้นจะมีการปล่อยมวยผมนั่นเอง

"พิธีทางพราหมณ์เราตามส่งเสด็จ เดินเวียนพร้อมกับพระบรมศพ เชิญขึ้นบนพระเมรุมาศ ตรงนี้เราก็ส่งเสด็จในฐานะที่เป็นพราหมณ์ เราจะมีการปล่อยผมไม่มุ่นเป็นมวย แสดงความรู้สึกอาลัยให้ความรู้สึกที่เสียใจอย่างยิ่ง..."

เป็นที่ทราบกันดีว่าตามธรรมเนียมพราหมณ์นั้น หากใครได้บวชแล้วก็จะไม่ตัดผมอีกเลย และจะใช้วิธีมุ่นผมเป็นมวยไว้ ด้วยความเชื่อที่ว่ามวยผมนั้นคือที่สถิตของเทวดา

โดยบรรดาพราหมณ์จะปล่อยผมสยายก็ต่อเมื่อต้องเข้าร่วมในกระบวนแห่พระศพหรือพระบรมศพ ออกพระเมรุ ดังที่เราจะเห็นได้จากริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เชิญพระบรมโกศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และ กระบวนแห่พระโกศในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ผ่านมานั่นเอง

สำหรับการปล่อยผมสยายนั้นถือได้ว่าเป็นธรรมเนียมการไว้ทุกข์ หรือแสดงความรู้สึกอาลัย ความเสียใจอย่างสุดซึ้งอย่างหนึ่ง ซึ่งในโบราณพราหมณ์ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจะเป็นหน้าที่ของผู้ช่วยพราหมณ์ที่เรียกกันว่า "นาลิวัน" ทว่าปัจจุบันพราหมณ์เทวสถาน-ราชสำนักต่างก็ได้มาทำหน้าที่นี้แทน

ในผังงานพระบรมศพยุคก่อนเก่ามีนาลิวันประกอบ ๑๐ คน เดินปิดท้ายราชรถ พระราชยาน เขียนภาพแต่งชุดพราหณ์สยายผมเหมือนในภาพถ่ายที่ผู้เขียนได้แนบมานี้ค่ะ

ภาพล่าง คือ พราหมณ์สยายผมระหว่างเดินร่วมริ้วขบวนพระอิสริยยศในการเชิญพระบรมโกศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ถ่ายโดย Robert Larimore Pendleton 

“พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554 ท่านว่า “นาลิวัน น. พราหมณ์พวกหนึ่งทำหน้าที่โล้ชิงช้าและรำเขนงในพระราชพิธีตรียัมปวาย เพื่อถวายเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ พราหมณ์ที่สยายผมเดินตามกระบวนแห่เชิญพระบรมศพ”

รำเขนงคือ:พิธีที่พวกพราหมณ์ถือเขนงน้ำมนตร์รำถวายพระอิศวรแล้วประน้ำมนตร์.

อนึ่ง แม้การสยายผมของพราหมณ์จะเป็นภาพแปลกตาที่หาดูได้ยากยิ่ง แต่เชื่อว่าคนไทยหลายๆ คนคงไม่อยากจะเห็นภาพนี้บ่อยๆ แต่อย่างใดอย่างแน่นอน...

ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

 

ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

 

ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

 

ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

 

ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

 

ไขข้อสงสัย!! "พราหมณ์สยายผม" การไว้ทุกข์ตามจารีตของพราหม์ในโบราณราชประเพณี

 

 

 

 

 

 

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณที่มา : ภาพและข้อมูลจาก พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพราหมณ์ สังกัดกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ,อ.จวง ปารมี ไวจงเจริญ, royin.go.th, m-culture.go.th และข้อมูล(บางส่วนจาก) อินเตอร์เน็ต ค่ะ
เรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์