เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

บทความนี้ผู้เขียนขออนุญาตยกเรื่องราวของ “คุณวิจิตร ไชยวัณณ์” อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในเชียงใหม่วัย 93 ย้อนรำลึกความประทับใจ
ที่ได้ตามเสด็จและฉายภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตลอดสองสัปดาห์เมื่อ 57 ปีที่แล้ว มาเสนอพร้อมภาพประกอบการบรรยายตามลำดับดังนี้ค่ะ..
1.อดีต บก.หนังสือพิมพ์ วัย 93 ปี ย้อนความประทับใจที่ได้ตามเสด็จ และฉายภาพในหลวง ร.9
2.ในหลวง ร.9 เสด็จตรวจแถวทหารเกียรติยศของทหาร 3 เหล่าทัพที่สนามบิน Military Air Transport Service กรุงวอชิงตันดีซี พร้อมกับประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ของสหรัฐอเมริกา
3.ประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ถวายการต้อนรับในหลวง ร.9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ด้านหลังคือถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น
4.ภาพที่วิจิตรโปรดปรานมากที่สุด
5.กล้องฟิล์ม Olympus-Pen และ Yashica MG-1 ที่วิจิตรซื้อที่ฮ่องกงเพื่อถ่ายภาพในหลวง ร.9
6.โรงพยาบาล ร.พ.เมาท์ ออเบิร์น (Mount Auburn Hospital) รัฐแมสซาชูเซตส์ซึ่งเป็นที่ประสูติของในหลวง ร.9 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2470
7.ประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ถวายการต้อนรับในหลวง ร.9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ที่ทำเนียบขาว
8.ในหลวง ร.9 ทรงมอบของที่ระลึกให้แก่พยาบาล 4 คนที่ได้ช่วยทำคลอด ตอนที่พระองค์ประสูติที่ ร.พ.เมาท์ ออเบิร์น (Mount Auburn Hospital) Mount Auburn
9.ในหลวง ร.9 และสมเด็จนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงทอดพระเนตรแผ่นป้ายทองเหลืองปิดที่ประตูห้อง

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

 

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

28 มิ.ย. 2503 สนามบินในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา เต็มไปด้วยผู้คนทั้งคนไทยและคนอเมริกัน และกองเกียรติยศของสหรัฐฯ ที่มารอถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร กันอย่างเนืองแน่นในขณะที่ช่างภาพชาวอเมริกันนับสิบยืนอยู่บนอัฒจรรย์ไม้ โดยใช้เลนส์เทเลโฟโต้ที่ทำให้ถ่ายภาพได้ระยะไกล คุณวิจิตร ไชยวัณณ์ ช่างภาพชาวไทย เคลื่อนตัวไปรอบ ๆ สนามบิน พร้อมกล้องฟิล์ม Olympus-Pen และ Yashica MG-1 เพื่อให้ได้พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อย่างใกล้ชิด

"รู้สึกเป็นเกียรติยศเรา มีเพียงผมคนเดียวที่สามารถติดตามอย่างใกล้ชิด" คุณวิจิตร กล่าวกับบีบีซีไทยที่บ้านหลังคามุงสังกะสีชั้นเดียวของเขาที่ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ พร้อมรำลึกถึงความรู้สึกตอนที่เขา "ขนลุก" ทันทีที่เพลงชาติไทยบรรเลง
หลังจากประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ถวายการต้อนรับในหลวง ร.9 คุณวิจิตรกล่าวถึงตอนนั้นว่า พระองค์ทรงรับสั่งตอบเป็นภาษาอังกฤษด้วยข้อความสั้นๆ ว่า "I'm not a stranger, but I come back to my second home" (ฉันไม่ใช่คนแปลกหน้า แต่ฉันกลับมายังบ้านหลังที่สอง) โดยอ้างอิงถึง ร.พ.เมาท์ ออเบิร์น (Mount Auburn Hospital) สถานที่ประสูติ

"ในหลวงตอบสั้น ๆ ได้ใจความแต่กินใจมาก คนอเมริกันก็ชอบ" คุณวิจิตรซึ่งขณะนั้นเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "คนเมือง" กล่าว โดยเขาได้มีโอกาสตามเสด็จ ร.9 เป็นเวลา 15 วัน หลังจากได้รับคำเชิญจากสถานทูตสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน แม้ว่าคุณวิจิตรจะอายุ 93 ปีและต้องนั่งรถเข็น แต่ยังจดจำได้ถึงเบื้องหลังของรูปภาพทุกรูปที่เขาเก็บไว้ในอัลบั้ม Kodak สีเหลืองจำนวน 6 อัลบั้ม

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

 

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

 

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

โอกาสอันดีงาม
เส้นทางไปสู่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์คนเมืองของคุณวิจิตรเริ่มต้นเมื่อเขาได้สัมภาษณ์งานกับคุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ บรรณาธิการคนแรกของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับแรกของ จ.เชียงใหม่ ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2496 โดยคุณไกรศรีได้ให้คุณวิจิตรทดลองแปลบทความในนิตยสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
ช่วงแรกคุณวิจิตรมีหน้าที่รับและแยกประเภทจดหมายต่าง ๆ ที่ส่งมายังแผนกบรรณาธิการวันละกว่าร้อยฉบับ ทำให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์และการเขียนข่าว

"เวลาไปสัมภาษณ์ มีชาวต่างประเทศมาก็มีผมคนเดียวที่จะไปสัมภาษณ์ได้" คุณวิจิตรกล่าว พร้อมกับอธิบายว่า สาเหตุที่เขาสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้คล่อง เนื่องจากเรียนที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ จนกระทั่งจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ค่าจ้างของเขาในเวลานั้นก็คือ 170 บาทต่อสัปดาห์ เทียบกับเงินเดือนข้าราชการในขณะนั้น 800 บาทต่อเดือน แต่คุณวิจิตรก็ไม่เกี่ยงงาน เขาทำงานเป็นทั้งผู้สื่อข่าวและช่างภาพเป็นเวลา 2-3 ปี ก่อนที่จะรับตำแหน่งเป็นบรรณาธิการต่อจากคุณไกรศรีในปี 2499 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่บริษัทลานนาการพิมพ์จำกัด ซึ่งในขณะนั้นสำนักงานอยู่ตรงข้ามกงสุลอเมริกัน ขาดทุนและเป็นหนี้จำนวน 1.2 ล้านบาท
"พอบริษัทขาดทุน จะเลิก [กิจการ] แล้ว ผมก็ลงทุนเป็นเจ้าของกิจการ เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นคนเมืองการพิมพ์ ผมเป็นเจ้าของและบรรณาธิการเป็นเวลา 21 ปี" คุณวิจิตรกล่าว

ด้วยจำนวนคนในกองบรรณาธิการที่มีเพียง 5 คน คุณวิจิตรกล่าวว่า "ทุกคนต้องถ่ายรูปเป็น" รวมถึงตัวเขาเอง ทำให้เขาต้องซื้อกล้องถ่ายรูปมาเพื่อถ่ายภาพเวลาไปทำข่าวในที่ต่างๆ
นอกจากนั้น การอยู่ในแวดวงสื่อทำให้คุณวิจิตรมีโอกาสรู้จักกับคนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา ประจำเชียงใหม่ ซึ่งคุณวิจิตรมักจะได้รับเชิญให้ไปร่วมงานต่าง ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งรัฐบาลสหรัฐเชิญคุณวิจิตรไปเยือนสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วัน โดยจะเลือกไปเวลาไหนก็ได้
"พอทราบข่าวว่าในหลวงกับพระราชินีจะเสด็จเยือนอเมริกาในเดือน มิ.ย. ผมก็เห็นว่าอยากจะไปติดตามข่าวในหลวง ก็เลยติดตามเสด็จไปตลอดสองอาทิตย์ที่อยู่อเมริกา"คุณ วิจิตรกล่าว

ติดตามอย่างใกล้ชิด
แม้ว่าสถานทูตสหรัฐฯ จะออกค่าโดยสารเครื่องบินให้ไป-กลับชั้นหนึ่ง แต่คุณวิจิตรขอเปลี่ยนเป็นที่นั่งระดับรองลงมา โดยให้เหตุผลว่า "First class มันดีเกินไป"
ที่สหรัฐฯ คุณวิจิตรเล่าว่า เขาได้รับอนุญาตให้นั่งรถติดตามในหลวง ร.9 ทำให้เขาได้เห็นผู้คนที่ยืนอยู่ทั้งสองข้างทางเพื่อรอรับเสด็จ พร้อมภาพในหลวง ร.9 และสมเด็จพระราชินีที่ติดอยู่บนเสาไฟฟ้าตลอดข้างทาง
วันแรกที่ในหลวง ร.9 เสด็จเยือนสหรัฐฯ ท่านทรงถือโอกาสเยี่ยมคำนับประธานาธิบดีที่ทำเนียบขาว โดยในหลวง ร.9 ได้พระราชทานของที่ระลึก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงของไทยแก่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ

คุณวิจิตรเล่าว่า นับว่าเป็นโชคของเขาที่ในหลวง ร.9 ได้ตรัสกับเขาอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อตอนที่เขายืนอยู่ในห้องรับรองที่ทำเนียบขาวกับคุณไชยยงค์ ชวลิต ซึ่งขณะนั้นเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
"ผมยืนซุบซิบอยู่กับคุณไชยยงค์ พอในหลวงผ่านหน้าผม ท่านก็เห็น แล้วบอกว่า 'อย่าคุยกัน' สามคำ" วิจิตรกล่าว พร้อมเพิ่มเติมว่า แม้ว่าคุณไชยยงค์จะเป็นผู้สื่อข่าวอีกคนหนึ่งที่ได้ถ่ายภาพในหลวง ร.9 ในช่วงเวลานั้น แต่ตนเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้ตามเสด็จไปทุกที่

ภาพสำคัญ ๆ ที่คุณวิจิตรถ่ายได้ถูกส่งมาลงหนังสือพิมพ์คนเมืองติดต่อกันหลายสัปดาห์ จนวันหนึ่งเจ้าหน้าที่จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรได้เดินทางมาหาคุณวิจิตรเพื่อขอนำฟิล์มไปล้างอัดไว้เป็นหลักฐานหอจดหมายเหตุ
"ผมให้ไปหมด แต่ [เขา] ส่งให้ผมกลับคืนมา 6 อัลบั้ม"คุณ วิจิตรกล่าว

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

 

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

 

เผย...หนึ่งเดียว! ความภูมิใจของนัก นสพ.ไทย ที่ตามเสด็จฉายภาพใกล้ชิด ร.9 ในต่างแดน

 

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิพีกิเดีย

,นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย,คุณ วิจิตร ไชยวัณณ์ และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะเรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์