30ปีที่ต้องเทิดทูนต่อไป...เปิดภาพในหลวงร.9 สมเด็จพระเทพฯเสด็จฯทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล การดำรงพิธีถวายบังคมของชาวจุฬาฯ(ชมภาพ)

30ปีที่ต้องเทิดทูนต่อไป...เปิดภาพในหลวงร.9 สมเด็จพระเทพฯเสด็จฯทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล การดำรงพิธีถวายบังคมของชาวจุฬาฯ

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า NjoyMylife ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพ ซึ่งทั้งหมดระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนฯราชสุดา สยามบรมราชกุมาทรี ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๐

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

30ปีที่ต้องเทิดทูนต่อไป...เปิดภาพในหลวงร.9 สมเด็จพระเทพฯเสด็จฯทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล การดำรงพิธีถวายบังคมของชาวจุฬาฯ(ชมภาพ)

ทั้งนี้ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เคยถูกใช้พิมพ์บนธนบัตรไทยแบบที่ 14 สกุลเงินบาท ชนิดราคา 100 บาท ผลิตออกใช้วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2537และธนบัตรไทยแบบที่ 15 รุ่นแรก ชนิดราคา 100 บาท ผลิตออกใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 สำหรับที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ตรงกับทางเข้าด้านหน้าและหน้าบันของหอประชุมจุฬาฯ เป็นการออกแบบตำแหน่งตามหลักการทางภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) โดยทำให้พื้นที่เปิดโล่งด้านหน้าเสาธงและหอประชุมจุฬาฯ มีจุดสนใจ (Focus Point) เป็นการส่งเสริมภูมิทัศน์ให้หอประชุมจุฬาฯ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ พื้นที่เปิดโล่งบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์จึงมองเห็นได้ง่ายจากถนนพญาไทและกลายเป็นจุดสนใจของเขตปทุมวันและกรุงเทพมหานครไปพร้อมกัน

30ปีที่ต้องเทิดทูนต่อไป...เปิดภาพในหลวงร.9 สมเด็จพระเทพฯเสด็จฯทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล การดำรงพิธีถวายบังคมของชาวจุฬาฯ(ชมภาพ)

พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เป็นอนุสรณ์สถานที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น พิธีปฐมนิเทศและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ พิธีถวายบังคมหลังรับพระราชทานปริญญาบัตรหรือถวายบังคมลา และเป็นสถานที่เคารพสักการะของนิสิต บุคคลากรและผู้มาเยือน พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ่อยครั้ง ถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตามในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชาคมจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาจึงจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองรัชกาล เพื่อรำลึกถึงพระผู้พระราชทานกำเนิดและพระผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร่วมรำลึกเหตุการณ์ที่เป็นรากฐานของการอุดมศึกษาในประเทศไทย ทุนสนับสนุนการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์มาจากประชาคมจุฬาฯ นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบันขณะนั้นและประชาชนทั่วประเทศและได้รับความร่วมมือจากศิลปินหลายท่าน

30ปีที่ต้องเทิดทูนต่อไป...เปิดภาพในหลวงร.9 สมเด็จพระเทพฯเสด็จฯทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล การดำรงพิธีถวายบังคมของชาวจุฬาฯ(ชมภาพ)

โดยมีประติมากรหลักคือไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ปั้นหล่อพระบรมรูป สุเทพ นวลนุช ประติมากรผู้ช่วยปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มานพ สุวรรณปิณฑะ ประติมากรผู้ช่วยปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จินตรัตน์ พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ดำเนินการหล่อพระบรมรูป มีบุคลากรจุฬาฯ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ร่วมออกแบบ โดยมีภิญโญ สุวรรณคีรีและเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรีเป็นสถาปนิกออกแบบฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ กี ขนิษฐานันท์เป็นภูมิสถาปนิก ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ

30ปีที่ต้องเทิดทูนต่อไป...เปิดภาพในหลวงร.9 สมเด็จพระเทพฯเสด็จฯทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล การดำรงพิธีถวายบังคมของชาวจุฬาฯ(ชมภาพ)

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : NjoyMylife , CCa.chula.ca.th