ครั้งพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงร.9 ทรงเยี่ยมรร.คนตาบอด ไม่ให้บอกพระองค์คือใคร ใช้ชื่อ พล สอนวิชาดนตรีให้นร.ผู้พิการ

ครั้งพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงร.9 ทรงเยี่ยมรร.คนตาบอด ไม่ให้บอกพระองค์คือใคร ใช้ชื่อ พล สอนวิชาดนตรีให้นร.ผู้พิการทางสายตา

จากกรณีที่วันนี้มีเรื่องราวที่น่าประทับใจมากๆ ต้อนรับวันครูคือวันนี้เนื่องจากวันนี้ถือว่าเป็นวันครูแห่งชาติ มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติที่ได้อบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่เล็ก ทำให้เราเป็นคนดีรู้วิชา เพราะฉะนั้นครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างมากในวงการ การศึกษา ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นอาชีพที่ถือว่ามีความเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างมาก โดยวันที่ 16 มกราคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันครูอันเนื่องมาจาก ในปี 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการกำหนดให้มีวันครูครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา

 

ขณะที่ในสังคมโซเชียลฯได้มีการแชร์ข้อความพร้อมภาพ ถึงเรื่องราวความประทับใจเกี่ยวกับครูด้วย ซึ่งพบว่าเป็นข้อความที่มีการโพสต์ไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนชาวไทยกำลังโศกเศร้า ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่9 โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้ชื่อว่า  Kittima Thara-rattanakul ซึ่งข้อความที่ถูกนำมาแชร์กันอีกครั้งในวันครูปีนี้ระบุว่า

 

21 พฤศจิกายน 2016   กรุงเทพมหานคร

นายรัชตะ มงคล อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดฯ กล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีต่อผู้พิการทางสายตา ด้วยความซาบซึ้งว่า โรงเรียนสอนคนตาบอดฯ จึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเห็นคุณค่าของผู้พิการทางสายตา ที่สามารถมีศักยภาพในการเรียนหนังสือ มิใช่เพียงอยู่บ้านเฉยๆ เท่านั้น เพราะเมื่อพวกเขาเหล่านั้นสำเร็จการศึกษาก็จะสามารถดูแลตัวเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงมีพระราชดำริให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สร้างโรงเรียนคนตาบอดในกรุงเทพฯ ขึ้นมา

 

 

 

ครั้งพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงร.9 ทรงเยี่ยมรร.คนตาบอด ไม่ให้บอกพระองค์คือใคร ใช้ชื่อ พล สอนวิชาดนตรีให้นร.ผู้พิการ

 

“สมัยก่อนพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เสด็จฯไปที่โรงเรียนบ่อยมาก เพื่อไปทรงเยี่ยมเยียนนักเรียนผู้พิการทางสายตา หลายครั้งที่พระองค์โปรดที่จะเล่นกับเด็กๆ โดยทรงส่งสัญญาณมายังอาจารย์ที่สายตาปกติว่าไม่ให้บอกว่าพระองค์คือใคร จากนั้นก็จะทรงใช้พระนามย่อว่า “พล” เล่นกับเด็กๆ แทน อีกทั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์ทรงสอนวิชาดนตรีให้แก่ผู้พิการทางสายตาอีกด้วย”

 

นอกจากนี้ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้พิการทางสายตาเรื่อยมา ทุกปีจะทรงมีพระราชทานเลี้ยงอาหารอาจารย์และนักเรียนผู้พิการทางสายตาที่พระราชวังพญาไท พร้อมทรงแซกโซโฟนพระราชทานแก่ทุกคน ที่สำคัญ ด้วยทรงพระราชประสงค์อยากให้ผู้พิการทางสายตาทุกคนลุกขึ้นมาต่อสู้กับชีวิตไม่ท้อถอยกับโชคชะตา พระองค์จึงทรงพระราชนิพนธ์บทเพลง “ยิ้มสู้” ขึ้นมาเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้พิการทุกคนมีกำลังใจในชีวิตต่อไป

 

ครั้งพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงร.9 ทรงเยี่ยมรร.คนตาบอด ไม่ให้บอกพระองค์คือใคร ใช้ชื่อ พล สอนวิชาดนตรีให้นร.ผู้พิการ

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : Kittima Thara-rattanakul