ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ ปลด ท่านมุ้ย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล พ้นจากบุคคลล้มละลาย

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ ปลด "ท่านมุ้ย" ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล พ้นจากบุคคลล้มละลาย

วันนี้ (7 พ.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่เรื่อง ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง ปลดจําเลยจากล้มละลาย โดยมีใจความว่า ขอแจ้งให้ทราบทั่วกันว่า ตามประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ว่าศาลล้มละลายกลางได้พิพากษาให้ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล จําเลย เป็นบุคคลล้มละลาย ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๙ นั้น บัดนี้ ครบกําหนดระยะเวลา ๓ ปี นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้จําเลย เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงปลดให้หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล จําเลย ผู้ล้มละลาย จากการเป็นบุคคลล้มละลาย นับแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๒ 

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

สำหรับ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม (ท่านชายมุ้ย) ประสูติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา (สุฤทธิ์) เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาสี่องค์ ได้แก่

มาลินีมงคล อมาตยกุล (ท่านหญิงหยอย; 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483)

ปัทมนรังษี เสนาณรงค์ (ท่านหญิงเม้า; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2484)

หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล (ท่านชายใหม่; 22 มกราคม พ.ศ. 2490)

หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล (ท่านหญิงยุ้ย; 23 ตุลาคม พ.ศ. 2496)

ท่านทรงคุ้นเคยกับการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่เยาว์ เนื่องจากตามเสด็จพระบิดา และมารดา ผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทย และก่อตั้งบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ซึ่งผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2481
 

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ ปลด ท่านมุ้ย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล พ้นจากบุคคลล้มละลาย

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ศึกษาชั้นมัธยมที่วชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมที่โรงเรียนจีลอง แกรมม่า สคูล เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส วิชาเอกสาขาธรณีวิทยา และวิชาโท สาขาภาพยนตร์ เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนกับฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา และโรมัน โปลันสกี้ ในระหว่างศึกษาชั้นปริญญาตรีทรงฝึกงานเป็นผู้ช่วยในทีมงานของ มีเรียน ซี. คูเปอร์  ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ช้าง (1927) และ คิงคอง (1933)

เริ่มนิพนธ์บท และกำกับละครโทรทัศน์ เรื่อง "ผู้หญิงก็มีหัวใจ" ในปี พ.ศ. 2511 ถวายพระบิดา จากนั้นทรงก่อตั้งบริษัท พร้อมมิตรภาพยนตร์ (จากชื่อซอยพร้อมมิตร ถนนสุขุมวิท ที่ตั้งของวังละโว้และโรงถ่ายละโว้ภาพยนตร์ของพระบิดา) มีผลงานกำกับละครโทรทัศน์ "ห้องสีชมพู" (2512) , "เงือกน้อย" (2515) , และ"หมอผี" (2516)

ทรงกำกับภาพยนตร์ "มันมากับความมืด" เป็นเรื่องแรก เมื่อ พ.ศ. 2514 และ ทรงได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่น พ.ศ. 2516 จากเรื่องเขาชื่อกานต์ และส่งให้สรพงศ์ ชาตรี เป็นพระเอกยอดนิยมต่อมา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ราชกิจจาฯแพร่พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีฯ

ราชกิจจาฯแพร่พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ พระราชทานยศทหารกรณีพิเศษ

ประกาศราชกิจจาฯ เรียกคืนเครื่องราชฯ อดีตข้าราชการตํารวจ 2 ราย

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ เรียกคืนเครื่องราชฯ