พระปรมาภิไธย จปร. บนหน้าผา ที่นอร์เวย์

เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสแหลมเหนือ (North Cave) ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ เพื่อผ่อนคลายพระราชภารกิจและรักษาตัวอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสแหลมเหนือ (North Cave) ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ขึ้นถึง ต้องเสด็จโดยเรือและทรงปีนไปบนหน้าผา พร้อมทั้งทรงสลักพระปรมาภิไธย "จปร. 1907" ซึ่งเป็นปี ค.ศ.ที่เสด็จถึงไว้บนก้อนหิน และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระยาชลยุทธโยธิน อดีตผู้บังคับการเรือชาวเดนมาร์ก พร้อมกะลาสีเรือที่ตามเสด็จไว้เป็นที่ระลึกด้วย ซึ่งกลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ยืนยันถึงการเสด็จประพาส และแสดงถึงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของสยามประเทศ รวมถึงพระอัจฉริยภาพ และพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ องค์พระประมุขของชาติเล็กๆ ที่แม้จะอยู่ห่างไกลในซีกโลกตะวันออก แต่ทรงสามารถประกาศศักดิ์ศรีให้ชาวตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรปเหนือได้รู้จักจนทุกวันนี้

เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสแหลมเหนือ (North Cave) ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ เพื่อผ่อนคลายพระราชภารกิจและรักษาตัวอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสแหลมเหนือ (North Cave) ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ขึ้นถึง ต้องเสด็จโดยเรือและทรงปีนไปบนหน้าผา พร้อมทั้งทรงสลักพระปรมาภิไธย "จปร. 1907" ซึ่งเป็นปี ค.ศ.ที่เสด็จถึงไว้บนก้อนหิน และทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระยาชลยุทธโยธิน อดีตผู้บังคับการเรือชาวเดนมาร์ก พร้อมกะลาสีเรือที่ตามเสด็จไว้เป็นที่ระลึกด้วย ซึ่งกลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ยืนยันถึงการเสด็จประพาส และแสดงถึงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของสยามประเทศ รวมถึงพระอัจฉริยภาพ และพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ องค์พระประมุขของชาติเล็กๆ ที่แม้จะอยู่ห่างไกลในซีกโลกตะวันออก แต่ทรงสามารถประกาศศักดิ์ศรีให้ชาวตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรปเหนือได้รู้จักจนทุกวันนี้

 

พระปรมาภิไธย จปร. บนหน้าผา ที่นอร์เวย์

 

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๓ รัฐบาลนอร์เวย์จะก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ได้พบศิลาจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จปร. 1907" ซึ่งปกคลุมไปด้วยหญ้า ตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร เกือบจะมีการระเบิดทิ้งเพื่อมิให้กีดขวางการสร้างอาคาร แต่ในที่สุดได้มีการเก็บรักษาไว้ตามที่มีผู้แจ้งว่าอักษรย่อบนศิลาจารึกนั้นเป็นพระปรมาภิไธยย่อของในหลวงรัชกาลที่ ๕ ที่ได้เคยเสด็จมาเยือนที่นี่ โดยเปรียบเทียบจากภาพถ่ายที่ทรงฉายไว้  โดยทางการนอร์เวย์ได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์มาตั้งแสดงคู่กับศิลาจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จปร. 1907"ภายในอาคาร เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้ทราบว่า มีอะไรเกิดขึ้นที่ตรงนี้เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว วึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวจะต้องมาชม เพราะอยู่ใจกลางแหลมเหนือ และมักจะโยนเหรียญบ้าง ธนบัตรบ้าง ไปที่ศิลาจารึกพระปรมาภิไธยนั้น เพื่อขออธิษฐานให้ได้กลับมาเยือน ณ ที่แห่งนี้อีก ซึ่งทางการนอร์เวย์ได้เก็บรวบรวมเงินเหล่านี้มอบเป็นรางวัลให้กับผู้ทำประโยชน์ให้กับเด็กๆ ทั่วโลก มีชื่อว่ารางวัล The Children of the Earth

 

พระปรมาภิไธย จปร. บนหน้าผา ที่นอร์เวย์

 

ภายในตัวอาคารยังได้จัดทำห้องพิพิธภัณฑ์ไทย ซึ่งถือว่าเป้นพิพิธภัณฑ์ไทยที่อยู่เหนือสุดของโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ได้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนอร์เวย์ไว้อย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นสายสัมพันธ์แนบแน่นมาจนทุกวันนี้ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทรงประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๒ และพระราชทานให้เทศบาลเมืองนอร์ธเคฟ เป็นผู้ดูแลต่อไป 

 

พระปรมาภิไธย จปร. บนหน้าผา ที่นอร์เวย์

 

นอกจากนี้ ได้มีการจัดสร้างพระบรมรูปปั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่งหล่อด้วยโลหะรมดำขนาดเท่าพระองค์จริงครึ่งพระองค์ ทรงแลองพระองค์ชุดที่เสด็จประพาสแหลมเหนือ นำประดิษฐานที่ห้องพิพิธภัณฑ์ไทย โดยสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จเปิดพระบรมรูปปั้นนี้เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จไปที่แหลมเหนือ (๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๐) นับว่าเป็นการประกาศศักดิ์ศรีและความยิ่งใหญ่ของสยามประเทศ ให้ทั่วโลกได้รับรู้ถึงพระเกียรติของพระมหากษัตริย์แห่งสยาม นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง ไทยและนอร์เวย์อีกด้วย

 

พระปรมาภิไธย จปร. บนหน้าผา ที่นอร์เวย์