ในหลวง พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ความสดใส ความสุขและอบอุ่น ในบ้านบนโคกหนองนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ จำนวน 1 ภาพ พร้อมข้อความ ความสดใส สดชื่น โคกหนองนา และ ความสุขและอบอุ่น ในบ้านบนโคกหนองนา ทรงลงพระปรมาภิไธย ๓ ก.ย.๖๓ เพื่อเป็นกำลังใจให้ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย และพสกนิกรชาวไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ จำนวน 1 ภาพ พร้อมข้อความ ความสดใส สดชื่น โคกหนองนา และ ความสุขและอบอุ่น ในบ้านบนโคกหนองนา ทรงลงพระปรมาภิไธย ๓ ก.ย.๖๓ เพื่อเป็นกำลังใจให้ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย และพสกนิกรชาวไทย

 

ในหลวง พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ความสดใส ความสุขและอบอุ่น ในบ้านบนโคกหนองนา

ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่   ๒๑ ส.ค.๖๓  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เผยแพร่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” โดยภาพวาดฝีพระหัตถ์แบ่งเป็น 3 แบบประกอบด้วย

แบบที่ 1 เกษตรกรกำลังช่วยกันร่วมมือร่วมใจ ปั้นโคก สร้างหนอง และทำนา โดยได้น้อมนำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแบบอย่าง พร้อมพระราชทานข้อความว่า “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” “งานเสร็จเป็นรูปธรรม นามธรรมอิ่มเอิบ สบายใจ” ๑๕ ส.ค.๖๓

แบบที่ 2 เป็นภาพวาดฝีพระหัตถ์พืชผลทางการเกษตรที่ได้ลงกล้าเพาะปลูกผลิดอกออกผลเบ่งบานอย่างสดใส พร้อมพระราชทานข้อความว่า “โคกหนองนากับความสุขสดใส” “We are farmers together” ๑๗ ส.ค.๖๓

แบบที่ 3 เป็นภาพวาดฝีพระหัตถ์ความเขียวขจีสดใสของธรรมชาติ และพระราชทานข้อความว่า “เรารักธรรมชาติ เราสร้างสรรค์ในงานเกษตร โคกหนองนา เพื่อความอุดมสมบูรณ์และความสดใสทั้งกายและใจ Happy farmers” ๑๙ ส.ค. ๖๓

 

ในหลวง พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ความสดใส ความสุขและอบอุ่น ในบ้านบนโคกหนองนา
 

สำหรับ "โคก-หนอง-นา โมเดล"    เป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ   ได้น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร  แบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่  ให้เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ

โดยมุ่งหวังที่จะสร้างจุดเปลี่ยนให้กับชุมชน ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 กล่าวคือ 30% แรกสำหรับแหล่งน้ำ ทั้งการขุดบ่อทำหนองและการขุดคลองไส้ไก่ที่ช่วยระบายน้ำรอบพื้นที่ อีก 30 % สำหรับปลูกข้าว และอีก 30% สำหรับไว้ทำโคกหรือป่า  ปลูกผักไว้เป็นอาหาร ปลูกไม้ใช้สอย ปลูกยาสมุนไพร ส่วน 10% ที่เหลือ สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งหากลงมือทำลักษณะเช่นนี้ในหลาย ๆ จุดของประเทศ โคก หนอง นา โมเดล ก็จะช่วยได้มากกว่าการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร เพราะจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้  ผ่านระบบวิธีการปล่อยผ่านให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ

 

ในหลวง พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ความสดใส ความสุขและอบอุ่น ในบ้านบนโคกหนองนา

ทั้งนี้โคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

1. โคก: พื้นที่สูง
– ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ
– ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
– ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

2. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ
– ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)
– ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้
– ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
– พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

3. นา:
– พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
– ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา