TCELS เปิดบ้านโชว์สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมขยายผลร่วมมือนานาชาติ

ติดตามข่าวเพิ่มได้ที่ www.tnews.co.th

TCELS-กระทรวงวิทยฯ เปิดบ้านจัดงาน Opening Life Sciences Startups 2016  นำเสนอผลงานบริษัทสตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ ต่อยอดจากการนำผลงานวิจัยที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นำไปสู่ผลผลิตที่มีคุณภาพ

 

TCELS เปิดบ้านโชว์สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมขยายผลร่วมมือนานาชาติ


วันนี้ (13 พ.ค.) ที่ กระทรวงวิทย์ฯ   ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดงาน Opening Life Sciences Startups 2016  โดยกล่าวในช่วงหนึ่งว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ จากประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรและแรงงานราคาถูก ไปสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนบนฐานความร่วมมือของกลไกประชารัฐ TCELS เองเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญ ที่จะร่วมผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและช่วยกันเสริมสร้างพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของประเทศในทุกๆด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น
 

รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า การจัดงาน Startup Thailand 2016 ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จอย่างมาก  จากฐานเดิมของประเทศไทยที่มีสตาร์ทอัพอยู่ราว 1,000-2,500 ราย เชื่อว่าจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน จากการตื่นตัวของคนรุ่นใหม่ และด้วยมาตรการที่รัฐบาลสนับสนุน ทั้งลดหย่อนภาษีให้ผู้ที่เข้ามาทำกิจการ Venture Capital ลดหย่อนภาษีเงินรายได้ เงินปันผล และในกรณีโอนหุ้น ให้ไม่ต้องเสียภาษี วันนี้เราได้เห็นความก้าวหน้า ของงานด้านชีววิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่ TCELS ได้ขับเคลื่อนมาอย่างเข้มแข็ง มีผลงานออกสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบสตาร์ทอัพ ในเทคโนโลยีการแพทย์แห่งอนาคต ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ทำให้เห็นโอกาสในการเติบโตแบบก้าวกระโดด  

 

TCELS เปิดบ้านโชว์สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมขยายผลร่วมมือนานาชาติ
 

“ผมอยากให้ TCELS ในฐานะเป็นเป็นหัวเรือในการขับเคลื่อนงานด้านชีววิทยาศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ขยายความร่วมมือกับภาคเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เปิดมุมมอง การคิดใหม่สู่นอกกรอบ เพื่อให้ธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต มีผลงานอยู่ในเวทีโลกอย่างต่อเนื่อง” ดร.พิเชฐ กล่าว

 

ด้าน ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า TCELS ดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ผลักดัน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งในส่วนของ ต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม และ เติมอุตสาหกรรมใหม่ ประกอบด้วย 1. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งกำลังจะขับเคลื่อนผ่านโครงการพัฒนาศูนย์บริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุแบบองค์รวมและคาราวานเมืองสุขภาพ โดยจะนำร่องที่ จ.ปราจีนบุรี 2.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมโดย TCELS ได้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์การแพทย์ ทั้งการสนับสนุน ต่อยอดผลิตภัณฑ์ เพื่อนำสู่เชิงพาณิชย์ 3. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยให้การสนับสนุนการวิจัยทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้การสนับสนุนการพัฒนาการแพทย์แห่งอนาคต โดยทำงานในเชิงประชารัฐ ด้วยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม นอกจากนี้ TCELS ยังให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพื่อให้เติบโตแบบก้าวกระโดด
 

TCELS เปิดบ้านโชว์สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมขยายผลร่วมมือนานาชาติ

 

ดร.นเรศ กล่าวว่า ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ที่มาร่วมแสดงผลงานในวันนี้ เป็นผลสำเร็จจาการที่ TCELS ให้การส่งเสริมและสนับสนุนตั้งแต่ต้นทาง จนมีการพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจ และมีอัตราการเติบโตเป็นที่น่าพอใจ และยังมีอีกหลายโครงการที่กำลังเตรียมความพร้อมออกสู่ตลาด โดยเฉพาะโครงการที่เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยในวันเดียวกัน TCELS ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท EXPARA ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดตั้ง สตาร์ทอัพ ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ความร่วมมือครั้งนี้เป็นจังหวะก้าวที่สำคัญ ในการที่เป็นข้อต่อด้านชีววิทยาศาสตร์ฯ ที่แข็งแกร่ง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งในภาคเศรษฐกิจ และสังคม 

TCELS เปิดบ้านโชว์สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมขยายผลร่วมมือนานาชาติ

 

สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่ร่วมแสดงผลงาน ประกอบด้วย 1.บริษัท ลีดเดอร์ เมดิคอล เจเนติกส์ แอนด์ จีโนมิกส์ จำกัด (LMGG) มีเทคโนโลยีที่สามารถให้บริการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมในครอบครัว ครอบคลุมการคัดกรองพาหะโรคพันธุกรรม 2.บริษัท ศูนย์พันธุศาสตร์การแพทย์ จำกัด (MGC) ดำเนินการด้านการให้บริการตรวจทางพันธุศาสตร์ทางการแพทย์  โดยมีเทคโนโลยี ที่สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมทารกในครรภ์โดยสามารถตรวจโครโมโซมจากสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด และน้ำคร่ำ จากมารดา 3.บริษัท ไทยรีโปรดักส์ถีพ เจเนติกส์ จำกัด เป็นบริษัทของคนไทยที่เปิดดำเนินการเพื่อให้บริการการตรวจคัดกรอง ภาวะมีบุตรยากเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับคู่สามีภรรยา 
 

4.บริษัท โรซาริน เมดิก (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสกัดจากน้ำยางพารานำไปผลิตเครื่องสำอาง  ทดลองตลาดแล้วได้รับการยอมรับอย่างดี  5. บริษัทฟลอร่า แคร์ จำกัด เป็นบริษัทที่เติบโตมาจากการบ่มเพาะของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามาเชื่อมต่อช่วงของการพัฒนาสูตรเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากห้องปฏิบัติการสู่การให้บริการผลิตรวมถึงการจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ผ่านมาบริษัทได้เป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์และผลิตตัวอย่างเครื่องสำอางยางพาราด้วย ขณะนี้ได้ต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์

 

TCELS เปิดบ้านโชว์สตาร์ทอัพด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมขยายผลร่วมมือนานาชาติ


6.บริษัทบริษัท พี.เอส.ยู. นวัตวาณิชย์ จำกัด เป็นบริษัทบ่มเพาะจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นบริษัทแรกของประเทศที่นำสารสกัดยางพารามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทออกจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงปัจจุบัน และ 7. บริษัทดีเอ็นเอ เคมิคอลเฮาส์ จำกัด ผลิตเครื่องอบช้อนยูวี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในศูนย์อาหาร ยับยั้งเชื้อโรคบนช้อน-ส้อม ก่อนนำไปใช้ โดยการใช้เทคโนโลยีอัลตร้าไวโอเลต ทดแทนการใช้หม้อลวกช้อน โดยมีประสิทธิภาพลดปริมาณเชื้อโรคได้ถึง 99% และได้ผ่านการทดสอบประสิทธิในการทำลายเชื้อโรค