เสียงเพรียกจากชุมชนคลองไทร จ.สุราษร์ธานี ก่อนถูกยึดทีคืนจาก ส.ป.ก.

ติดตามข่าวเพิ่มได้ที่ www.tnews.co.th

แกนนำชาวบ้านโพสต์ ติง ส.ป.ก.ขับไล่คนจนออกจากที่สปก.เพื่อเอาที่ไปจัดสรรให้คนจน ชี้แค่คิดก็ผิดแล้ว พร้อมเสนอยกชุมชนคลองไทร อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ต้นแบบการบริหารจัดการที่ดินแบบสิทธิร่วมของเกษตรกร

 

วันนี้ (21 ก.ค.)  นายไมตรี จงไกรจักร  กรรมการมูลนิธิชุมชนไท และผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิบ้านน้ำเค็ม ได้โพสต์ข้อความลงในเฟชบุ๊กส่วนตัว Maitree Jongkraijug  เนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการยึดคืนพื้นที่จากผู้บุกรุก ภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ใช้ ม.44  ประกาศยึดคืนพื้นที่จากผู้ที่บุกรุก ครอบครอง ที่ดินของ ส.ป.ก.ทั่วประเทศ โดยระบุว่า

 

" ผลกระทบจากคำสั่ง คสช.ที่ 35/2559 "


" จะมีกลไก หรือ ช่องทางแก้ปัญหาชุมชนหรือไม่   นี่คือ 7 เหตุผล ที่รัฐบาล คสช. และ ส.ป.ก. ไม่ควรบังคับขับไล่ ชุมชนคลองไทร ออกจากพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน

1. การดำรงอยู่ใน พ.ท. อย่างต่อเนื่องของคลองไทร ตั้งแต่ปี 2551 อยู่ภายใต้การรับรู้และผ่อนผันมาทุกรัฐบาล ถ้าเราผิดกฏหมาย คณะรัฐบาล และเจ้าหน้าที่รัฐที่ร่วมกันประชุมกันมาทุกรัฐบาล และมีมติผ่อนผันก็ต้องมีส่วนอย่างสำคัญในการทำความผิดในกรณีนี้ด้วย

2. การดำรงอยู่ของคลองไทรใน พ.ท. ส.ป.ก. เราทราบดีว่า การที่ ชุมชนเข้าใช้ที่ดินยังไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น จึงเข้าสู้กระบวนการเจรจาแก้ไขปัญหากับภาครัฐมาโดยตลอด  จึงกล่าวได้ว่า ชุมชนฯ กำลังอยู่ในกระบวนการแก้ไขปัญหา จึงไม่ควรที่จะยับยั้งกระบวนการแก้ไขปัญหาที่มีความคืบหน้ามาพอสมควรแล้ว

3. คลองไทร ในฐานะสมาชิก สกต. และพีมูฟ  ได้เคยยื่นหนังสือถึง ส.ป.ก. ทั้งขอใช้ ป.ย. และ และขอเช่า แต่ ไม่เคยมีการตอบรับ หรือปฏิเสธ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร  นั่นแสดงว่า เราไม่มีเจตนาอยู่ใน พ.ท. ส.ป.ก. แบบคนผิดกฏหมาย นั่นแสดงว่า การที่เราต้องอยู่แบบผิดกฏหมาย เป็นเพราะความล่าช้าในการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของเกษตรยากจน ที่อยู่ในพ.ท. เพื่อ รอคอยการปฏิรูปที่ดิน

4. การบริหารจัดการที่ดินของคลองไทร ไม่ได้ปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่เป็นระบบเกษตรนิเวศ  ดังนั้น ชุมชนคลองไทร จึงได้รับความเห็นชอบจาก ปจช. เมื่อวันที่ 6ต.ค.2553 ให้เป็น พ.ท. นำร่องในการบริหารจัดการตามแนวทางโฉนดชุมชน  ด้วยเหตุผลว่า ชุมชนนี้ มีความเข้มแข็งมากพอที่จะดำเนินงานฯ ตามแนวทางโฉนดชุมชน  อย่าลืมว่า ก่อน ปจช.อนุมัติให้เป็น พ.ท.นำร่อง เขาส่งคณะทำงานเข้าไปตรวจสอบชุมชน ทั้งด้านการบริหาร และด้านสภาพพื้นที่ด้วย

 

5. การที่ ส.ป.ก.กล่าวว่าต้องเคลียร์ พ.ท. ให้ว่างเปล่าเป็นศูนย์ เพื่อนำที่ดินมาจัดให้เกษตรกร หรือ คนจน ถ้ากรณีนายทุน ก็ฟังดูดีมีเหตุอันควร
แต่กรณี คนจนหรือเกษตรกร ถ้ารัฐใช้วิธีบังคับขับไล่ คนจนออกมาก่อน แค่คิดก็ผิดแล้วครับ เพราะ " วิธีการของ ส.ป.ก. ได้ทำลายเป้าหมายลงราบคาบแล้ว "  (หลายกรณี ข้าราชการไทย มีความสันทัดจัดเจน ในการทำลายเจตจำนงค์ของชาวบ้าน โดยวิธีเช่นนี้ เช่น ออก กฏหมายลูกที่มีผลทำลาย เจตนารมณ์ของ รธน.ปี 2540)

6. การบริหารจัดการที่ดินตามแนวทางที่คลองไทรใช้มา โดยตลอดมีความ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล คือ การใช้สิทธิร่วมในนาม
สถาบันเกษตรกร หรือ สหกรณ์การเกษตรฯ ใน การถือครองและทำประโยชน์ในที่ดิน

7. การดำรงอยู่ และบริหารจัดการที่ดินของคลองไทร ไม่เคยร้องขอเงินงบประมาณจากรัฐบาล (นอกจากใช้ป.ย. ในที่ดินรัฐ) 


ดังนั้น  แทนที่จะบังคับขับไล่ ทำลายความเป็นชุมชน ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่สร้างสรรค์ ทั้งไม่เกิดป.ย.ต่อสาธารณะ รัฐบาลจึงควรหาทางออกในการแก้ปัญหาที่จะก่อเกิด ป.ย. ต่อสังคมในวงกว้าง ทั้งไม่เกิดผลกระทบต่อชุมชนโดย การนำ พ.ท.นี้ มาเป็นต้นแบบ หรือโมเดล การบริหารจัดการที่ดินแบบสิทธิร่วมของสถาบันเกษตรกร จะเกิดป.ย. มากกว่า และ เป็นการย่นระยะเวลาของรัฐบาล อย่างน้อย 9 ปี (2551-ปัจจุบัน) ในการพัฒนา พ.ท. ต้นแบบ "