เปิดตำนาน "พญามัจฉา" ปลาผีแห่งลำน้ำโขง!! ว่ายทวนน้ำไปนมัสการพระบาง ในวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี.. ผีจึงอนุญาตให้ล่า !!!!

เปิดตำนาน "พญามัจฉา" ปลาผีแห่งลำน้ำโขง!! ว่ายทวนน้ำไปนมัสการพระบาง ในวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี.. ผีจึงอนุญาตให้ล่า !!!!

ตามความเชื่อที่สืบต่อมาจากโบราณกาลของชาวไท-ลาว ที่อาศัยอยู่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำโขง มีตำนานศักดิ์สิทธิ์เล่าขานถึง "ปลาบึก" ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีความพิเศษกว่าปลาชนิดอื่น เนื่องจากมันเป็นของรางวัลที่ "พญาแถน" ผู้สร้างโลกซึ่งเป็นเทวดาสูงสุด ได้มอบเป็นของขวัญให้แก่ "พญานาคราชศรีสุทโธ" ที่ได้นำบริวารขุดรูร่องน้ำไปหาทะเลกว้างได้เป็นที่สำเร็จก่อน "พญานาคสุวรรณนาโค" จนเกิดเป็น "ลำน้ำโขง" ขึ้นมา จึงทำให้ปลาบึก ขึ้นชื่อว่า "พญามัจฉา" เนื่องจากเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาปลาน้ำจืดทั้งปวง (เคยมีการบันทึกสถิติปลาบึกขนาดใหญ่สุดเท่าที่เคยจับได้ มีน้ำหนักตัวถึง 1,100 กิโลกรัม ถูกจับโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อปี 2428 ) และอาศัยอยู่แต่ในบริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น อีกทั้งบางพื้นที่ยังเรียกปลาบึกว่า "ปลาคำ" เนื่องจากผิวของมันสุกใสคล้ายในยามกระทบแสง เมื่อมองแต่ไกลเป็นสีคล้ายทอง

ทั้งนี้ ชาวบ้านอ่างปลาบึก อ.สังคม จ. หนองคาย ยังมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ปลาบึกนั้นเป็นปลาผี เนื่องจากแท้จริงแล้วปลาบึก คือ ควายของผีเจ้าน้ำเจ้าท่า โดยในแต่ละปีจะมีการปล่อยปลาบึกออกมาทุกวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 3 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เมืองหลวงพระบางมีพิธีเซ่นไหว้ผีฟ้าผีแถนที่ถ้ำติ่ง รวมทั้งอัญเชิญพระบางลงสรงน้ำในแม่น้ำโขง

ด้วยเหตุนี้เอง ช่วงวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี เหล่าปลาบึกที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเมืองหลวงพระบางลงไป ได้แก่ เมืองเวียงจัน โขงเจียม และเชียงคาน จะพากันแหวกว่ายทวนน้ำมา เพื่อร่วมบูชาผีฟ้าผีแถนและนมัสการพระบางที่เมืองหลวงพระบาง

ขณะเดียวกัน สำรับผู้ที่ต้องการจับปลาบึกเหล่านั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการทำพิธีไหว้เจ้าน้ำ ในวันเพ็ญ เดือน 3 ก่อนจะล่องเรือออกจากเวียงจันมาจับปลาที่บ้านอ่างปลาบึก เนื่องจากพิธีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผีที่เวียงจัน ไม่ว่าจะเป็น ผีหอกลอง หรือ ผีบ้านผีเมืองเวียงจัน นอกจากนี้ หากชาวบ้านคนใดสามารถจับปลาบึกได้เป็น 3 ตัวแรกของปี ต้องนำปลาที่ได้มาแบ่งกันที่หน้าหอเจ้าผีอ่าง โดยหากเอาไปกินโดยไม่ผ่านการเซ่นไหว้จะถือว่าผิดข้อห้าม และจะนำมาซึ่งสิ่งอัปมงคล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์สามัญชนไทย