"18 มกราคมวันกองทัพไทย"น้อมรำลึกถึงวีรกรรมยุทธหัตถีขององค์พระนเรศวรมหาราชที่ผ่านมา 425ปี

น้อมรำลึกถึงวีรกรรมขององค์พระนเรศวรมหาราช 18 มกราคม "วันกองทัพไทย"

18 มกราคมวันกองทัพไทย”น้อมรำลึกถึงวีรกรรมยุทธหัตถีขององค์พระนเรศวรมหาราชที่ผ่านมา 425ปี

วันกองทัพไทย

          เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย แต่ในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นที่ให้ถือวันที่พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณของ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ซึ่งคำนวณได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 (พ.ศ.ISO 2136) ซึ่งเชื่อว่าเป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง ราวปี พ.ศ. 2535 - 2538 นักคำนวณปฏิทินที่สำคัญ ได้แก่ นายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต, นายสุชาติ เผือกสกนธ์ เลขาธิการมูลนิธิพระดาบ และ นายลอย ชุนพงษ์ทอง ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินหลวงสำนักพระราชวัง ได้ตรวจสอบและลงความเห็นตรงกันว่า วันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม ส่วนในการเปลี่ยนแปลงจากวันที่ 25 มกราคม มาเป็นวันที่ 18 มกราคมนั้น นายลอย ชุนพงษ์ทอง ได้อธิบายสาเหตุที่คำนวณผิดว่า น่าจะเกิดจากนับจำนวนวัน ถอยหลังจากวันเถลิงศกของปีนั้น ซึ่งใน ค.ศ.1593 นั้น ตรงกับวันที่ 9 เมษายน แต่เข้าใจผิดว่า วันเถลิงศกตรงกับวันที่ 15 เมษายน เหมือน พ.ศ. 2522 ที่คำนวณ ประกอบกับ ค่ำกำเนิดของวันเถลิงศกตามหลักสุริยยาตร์ ตรงกับขึ้น 8 ค่ำ แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และหลักปฏิทินไทย ควรเป็นขึ้น 9 ค่ำ เมื่อตามนับถอยหลัง จึงทำให้วันทีได้ช้าไป 7 วัน กลายเป็น 25 ม.ค. อาจกล่าวอีกอย่างว่า แทนที่จะนับถอยหลังจาก ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ของวันที่ 9 เม.ย. ก็นับจาก 8 ค่ำ เดือน 5 ของวันที่ 15 เม.ย. จึงผิด 2 ต่อ รวมกันได้ 7 วัน

วันกองทัพไทย

วันกองทัพไทย

วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทยตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1593 หรือ พ.ศ. 2135 ซึ่งจะครบรอบ 425 ปีในปีนี้เดิมทีเราเรียกวันนี้ว่าวันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จ พระมหาอุปราชาของพม่า และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ

“ยุทธหัตถี” หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อย มาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้ ในสมัยอยุธยามีการยุทธหัตถี รวม 3 ครั้ง คือ  ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระ อินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์  ครั้งที่สองในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต และ  ครั้งที่สาม คือ ครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็น ที่เลื่องลือไปไกล

 หลังจากนั้นน่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานเรานานถึง 170 ปี ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ 425 ปีแห่งวันกระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ จึงขอนำเสนอพระราชประวัติโดยย่อของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

วันกองทัพไทย

"18 มกราคมวันกองทัพไทย"น้อมรำลึกถึงวีรกรรมยุทธหัตถีขององค์พระนเรศวรมหาราชที่ผ่านมา 425ปี

                           สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ ๑๘ แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ทรงมีสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์สุโขทัยองค์แรกที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระ บิดา และมีพระวิสุทธิกษัตรี ผู้เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และพระสุริโยทัยวีรกษัตรีย์ของไทยเป็นพระมารดา จึงอาจกล่าวได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับพระสายโลหิตความเก่งกล้าสามารถ สืบเนื่องมาจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทางพระชนก และเลือดพระสุริโยทัยซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกา(ยาย)ทางพระมารดา  ทรง มีพระสุพรรณกัลยา เป็นพระพี่นาง และมีพระเอกาทศรถเป็นพระอนุชา เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ๑๕ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๓๓ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยให้กับการศึกสงครามทรงไม่มีพระมเหสีและพระราชโอรสธิดา  ในหนังสือ ๔๐๐ ปีสมเด็จพระนเรศวร ที่เรียบเรียงโดยนายสมชาย พุ่มสอาด นายสมพงษ์ เกรียงไกรเพชร และนายกมล วิชิตสรศาสตร์ ได้ เขียนไว้ว่า ทรงเป็นกษัตริย์ที่รอบรู้ศิลปศาสตร์ ถึง ๑๘ อย่าง อันเป็นวิทยาการสำคัญสำหรับขัตติยราชในโบราณอย่างยอดเยี่ยม เช่น ทรงรอบรู้ในยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ หลักและวิธีปฏิบัติเพื่อปกครองใจคน อันเป็นหลักการเดียวกับปัจจุบัน และยังทรงรอบรู้อรรถภาษิต โวหาร รู้แต่งและฟังฉันท์ ทรงรู้ฤกษ์ยาม และวิธีโคจรของดาวหรือดาราศาสตร์ ทรงรู้ทิศและพยากรณ์ อีกทั้งทรงรู้มายาเล่ห์เหลี่ยมและเหตุผลต่างๆ ทรงเป็นผู้ริเริ่มการรบแบบกองโจร คือ ใช้คนน้อยแต่สามารถต่อสู้กับคนจำนวนมากได้ พระองค์มีความสามารถในการใช้อาวุธที่ทำการรบแทบทุกชนิดอย่างเชี่ยวชาญยากจะ หาผู้ใดเสมอเหมือน และอาจกล่าวได้ว่าตลอดพระชนมชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่เคยทรงอยู่อย่างสะดวกสบาย ต้องทรงกระทำการรบมาโดยตลอด  แม้นวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ พระองค์ก็ยังอยู่ในระหว่างการยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี)ที่พระพักตร์และเป็นพิษจนเสด็จสวรรคตเสียก่อนในปีพ.ศ. ๒๑๔๘ รวมสิริพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี

"18 มกราคมวันกองทัพไทย"น้อมรำลึกถึงวีรกรรมยุทธหัตถีขององค์พระนเรศวรมหาราชที่ผ่านมา 425ปี

ที่มา : FACEBOOK นรา-สันติ ประวัติวันกองทัพไทย และ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์