เอากะมันสิ!! "อูเบอร์" ดื้อแพ่งไม่สนผิดกม.ยันเดินหน้าให้บริการต่อ แม้รัฐไทยสั่งห้าม

ติดตามข่าวเพิ่มได้ที่ www.tnews.co.th

 

วันนี้ ( 20 มี.ค.)  สมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ได้รวมตัวเข้ายื่นหนังสือต่อ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เรียกร้องให้ดำเนินการกับ อูเบอร์ (UBER) ,และแกร็บคาร์ (GRAB CAR) ที่เข้ามาชิงพื้นที่ทำมาหากินผู้ประกอบการรถแท็กซี่ที่ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีนายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นผู้รับหนังสือ
          
นายวรพล แกมขุนทด  นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ กล่าวว่า พวกเราต้องการให้ยุติบทบาทของอูเบอร์และแกร็บคาร์ที่เข้ามาประกอบอาชีพผิดกฎหมายในขณะนี้ เพราะการให้บริการกระทบต่อแท็กซี่ที่จดทะเบียนถูกต้อง ซึ่งขณะนี้ทั้งอูเบอร์และแกร็บคาร์ มีการเชิญชวนให้สมัครเป็นคนขับอูเบอร์และเชิญชวนให้ใช้บริการโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายไทย และยังมายื่นขอให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขกฎหมายทำให้ตัวเองถูกต้องอีก สมาคมฯ จึงมาขอความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบอาชีพแท็กซี่ ที่อยู่ภายใต้กฎหมาย 

" อูเบอร์และแกร็บคาร์ ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติ ทำผิดกฎหมาย เพราะนำรถบ้านหรือแท็กซี่ป้ายดำมาวิ่งให้บริการผู้โดยสาร ชำระค่าโยสารผ่านบัตรเครดิตอูเบอร์ เป็นการนำเงินรายได้ที่ควรเป็นของคนไทยออกนอกประเทศ โดยไม่ต้องเสียภาษี เป็นการเอาเปรียบและจงในทำลายอาชีพคนขับแท็กซี่ ขณะนีทีการต่อต้านกันทั่วโลก "  นายวรพล กล่าวและว่า สมาคมฯ ก่อตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีสมาชิกประมาณ 3,000 กว่าคน ส่วนที่ว่าแท็กซี่ชอลปฏิเสธรับผู้โดยสาร นั้นมีเป็นเพียงส่วนน้อย วอนสังคมอย่าเหมารวมว่าเป็นแท็กซี่ทั้งหมด 

 

ด้าน นายสนิท กล่าวว่า การทำแอพพลิเคชั่นเพื่อเรียกใช้บริการแท็กซี่สามารถทำได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ประเด็น ที่ผิดกฎหมายคือ การนำแอพพลิเคชั่นไปใช้เรียกรถยนต์ส่วนบุคคล(ป้ายดำ) เพื่อใช้รับจ้างขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ฐานใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้ ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด ผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ไม่เคยผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และไม่เข้าสู่ระบบทะเบียนของศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
          
อย่างไรก็ตาม ทางกรมฯ ได้จัดทำร่างกฎกระทรวงสองฉบับ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเมื่อมีผลบังคับใช้ จะบังคับให้รถแท็กซี่ ติดตั้ง GPS Tracking พร้อมอุปกรณ์แสดงตัวผู้ขับรถ , กล้อง แบบสแน็ปช็อต , มีปุ่มฉุกเฉิน (ส่งข้อมูล Online มาที่ศูนย์ GPS ทันที),  มีระบบแจ้งเตือนการใช้ความเร็ว  รวมถึงจัดทำระบบเรียกใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อตอบโจทย์การเข้าถึงการให้บริการ เพิ่มความสะดวก ป้องกันปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสาร การไม่เปิดมิเตอร์ ติดตามพฤติกรรมตลอดการให้บริการ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร นอกจากนี้ กรมฯจะต่อยอดด้วย โครงการ TAXI OK / TAXI VIP ซึ่งโครงการ TAXI-OK นี้จะเป็นการยกระดับบริการรถแท็กซี่กว่า 1 แสนคัน

 

 

ขณะที่ นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกัน โดยมี บริษัทอูเบอร์ ประเทศไทย กลุ่มผู้ประกอบการรถแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร เพื่อแก้ไขปัญหาการนำรถป้ายดำมาให้บริการในรูปแบบขนส่งสาธารณะ ว่า ทางกระทรวงฯ ได้มีการตกลงร่วมกับผู้ประกอบการอูเบอร์ โดยจะตั้งคณะกรรมการเพื่อมาศึกษาโครงการกำกับดูแลมาตรฐานผู้นำรถยนต์ส่วนบุคคลหรือป้ายดำมาให้บริการแบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย โดยแนวทางในนการศึกษานั้น มีทั้งการควบคุมดูแล ,มาตรฐานยานพาหนะ ,ระบบประกันทั้งผู้ขับและผู้ใช้บริการ รวมถึงแนวทางในการเสียภาษี เนื่องจากรายได้ของอูเบอร์มีการนำส่งกลับประเทศโดยไม่ได้มีการเสียภาษี ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 6-12 เดือน  ซึ่งระหว่างนี้ได้ขอให้อูเบอร์หยุดให้บริการเพื่อจะได้หาข้อยุติร่วมกัน

นางเอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการอาวุโสสื่อสารองค์กรและนโยบายเอเชียแปซิฟิกอูเบอร์  กล่าวว่า  ทางบริษัทยินดีที่จะหารือกับภาครัฐในการหาทางออกเรื่องการให้บริการ แต่ทางอูเบอร์คงไม่สามารถหยุดให้บริการในระหว่างการศึกษาตามคำเรียกร้องของกระทรวงคมนาคมได้ โดยจะดำเนินกิจการต่อไปตามปกติถึงแม้จะถูกตรวจจับจากกรมการขนส่งทางบก  เนื่องจากเรามองว่า เป็นการให้บริการประชาชนอย่างถูกต้อง เพียงแต่กฎหมายของไทยยังไม่มีการรองรับระบบการให้บริการในลักษณะนี้เท่านั้น 


ขอบคุณภาพจาก www.thaiuber.com