ย้อนรอยที่มา คำว่า"รัฐธรรมนูญ" จาก "กฎหมายพระธรรมนูญ" แห่งรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ไม่ใช่กฎหมายสูงสุด แต่ต้องรู้โดยทั่วกัน.. !!

ย้อนรอยที่มา คำว่า"รัฐธรรมนูญ" จาก "กฎหมายพระธรรมนูญ" แห่งรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ไม่ใช่กฎหมายสูงสุด แต่ต้องรู้โดยทั่วกัน.. !!

เมื่อ6 เมษายน 2560 ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เผยแพร่ข้อความผ่านทางเฟสบุ๊ค ส่วนตัว ในเรื่องของกฎหมายฉบับชื่อพระธรรมนูญ ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ดังนี้..

ธรรมนูญแปลว่าอะไร

ในพระไอยการโบราณมีกฎหมายฉบับหนึ่งชื่อพระธรรมนูญ แต่พระไอยการฉบับนี้ไม่มีฐานะเท่ากับรัฐธรรมนูญตามอย่างความหมายปัจจุบัน

จากหน้าบานแพนก(คำนำ)ของกฎหมายพระธรรมนูญกล่าวกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในปี มหาศักราช 1555 เดือนเชษฐมาส(เดือน 7 ตามจันทรคติ)ตรงกับปี พ.ศ. 2176 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีทั้งหมด 15 มาตรา

ในตอนต้นของกฎหมายพระธรรมนูญโบราณาจารย์ท่านได้ยกคาถาพระบาลีอธิบายที่มาของกฎหมายพระธรรมนูญ ที่ยกมาไม่ใช่ว่าจะมีกฎหมายฉบับนี้ในพระมนูธรรมศาสตร์หรือกฎหมายศักดิ์สิทธิตามอุดมคติ แต่ในบางครั้งก็เพื่อแสดงถึงความศักดิ์สิทธิที่ไม่อาจจะก้าวล่วงได้ คาถาพระบาลีกล่าวว่า

โย กิญฺจาปิ วิจารโณ ธมฺมานุรูปลญฺจนํ

อวหาราทฺยตฺถานํ โส ธมฺมานุญฺโติ วุจฺจเร

โบราณท่านแปลว่า แปลว่า โย สภาโว อันว่าสถานะอันใด วิจารโณ พิเคราะห์ดู ธมฺมานุรูปลญฺจนํ ซึ่งกิริยาอันประทับฟ้องโดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป อวหาราทฺยตฺถานํ แก่กระทรวงความทั้งหลาย ตระทรวงนครบาลเปนต้น กิญฺจาปิ แม้นโดยแท้ โส สภาโว อันว่าสภาวะประทับความควรแก่กระทรวงโดยธรรมนั้น วุจฺจเร อันมะโนสาราจารย์กล่าวไว้ ธมฺมานุญฺโติ อิติ ชื่อว่าพระธรรมนูญ

สรุปความคือ โบราณาจารย์ท่านบอกว่า กฎหมายพระธรรมนูญคือระเบียบที่ว่าด้วยจำแนกคดีความทั้งปวงไปประทับฟ้องให้ถูกต้องตามหน่วยงาน

ส่วนที่มาความหมายของชื่อกฎหมายนั้น ในคาถาบทดังกล่าวไม่ได้อธิบาย คำว่า ธรรมนูญ มาจากศัพท์คำว่า ธมฺมนุญฺโญ ในภาษาบาลี ซึ่งศัพท์คำนี้เป็นศัพท์สนธิระหว่างคำว่า ธมฺม + อนุญฺโญ คำว่า ธมฺม หรือ ธรรมที่เรารูจักกันไม่ใช่แต่หมายความถึงเรื่องการเทศนาแต่ประการใด หากแต่หมายถึง เรื่องธรรมดาสามัญ หรือเรื่องธรรมชาติ ส่วนคำว่า อนุญฺโญ มาจาก ธาตุในภาษาบาลี หรือ ชฺ า ธาตุในภาษาสันสกฤต เติม อนุ ปัจจัยข้างหน้าผลบังต้อง ซ้อน อีกตัว จึงกลายเป็น อนุญฺโญเมื่อมาสนธิกับคำว่า ธมฺม ต้องลบ อ รวมความว่า สิ่งที่รู้ๆ กันทั่วไป

ดังนั้นรํฐธรรมนูญ น่าจะหมายถึง สิ่งที่รู้กันทั่วไปของรัฐ

ภาพประกอบพระธรรมนูญฉบับตัวเขียนในกฎหมายตราสามดวง ว่าด้วยเรื่องอำนาจของตราราชสีห์

ย้อนรอยที่มา คำว่า"รัฐธรรมนูญ" จาก "กฎหมายพระธรรมนูญ" แห่งรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ไม่ใช่กฎหมายสูงสุด แต่ต้องรู้โดยทั่วกัน.. !!

ที่มา : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล