รัฐบุรุษ..ปรีดี พนมยงค์!! "ข้าพเจ้ามุ่งแต่สาระสำคัญคือ บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"...คณะราษฎรที่"นักวิชาการ"และคิดถึงประชาชนอย่างแท้จริง !!??

รัฐบุรุษ..ปรีดี พนมยงค์!! "ข้าพเจ้ามุ่งแต่สาระสำคัญคือ บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"...คณะราษฎรที่"นักวิชาการ"และคิดถึงประชาชนอย่างแท้จริง !!??

ในตอนหนึ่งของการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์  โดยเจตนารมณ์ ประชาธิปไตย ปรากฎอย่างชัดเจนในหลัก 6 ประการของ "ประกาศคณะราษฎร" ที่นายปรีดีเป็นผู้ ร่างขึ้นเพื่อใช้เป็นคำแถลงการณ์ ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลัก 6 ประการ 

  1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทาง เศรษฐกิจ ฯลฯของประเทศไว้ให้มั่นคง...
  2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก...
  3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก ...
  4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน...
  5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ...
  6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ซึ่งเจตนารมณ์ดัง กล่าวนี้ปรากฏว่าในตอนหนึ่งของคําปรารภ ในหมวดที่ 1 แห่งเค้าโครงเศรษฐกิจฯ นายปรีดีได้กล่าวเอาไว้ว่าได้ซาบซึ้งเอาไว้ดังนี้..

  "ข้าพเจ้าจึงยังคงยืนยันความข้อนี้อยู่เสมอและเห็นว่า ถ้ารัฐบาลได้จัดการโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติให้เหมาะสมแล้ว การหางานให้ราษฎรทุกคนทำใช่เป็นการสุดวิสัยไม่ การบำรุงความสุขสมบูรณ์ขอราษฎรนี้ เป็นจุดประสงค์อันใหญ่ของข้าพเจ้าในการทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ข้าพเจ้ามิได้ปรารถนา ที่จะเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวมาเป็นหลายองค์ ซึ่งเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่เปลือกนอกเท่านั้น ข้าพเจ้ามุ่งแต่สาระสำคัญคือ "บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร" และถือว่ารัฐธรรมนูญ เปรียบประดุจกุญแจที่จะไขประตูเปิดช่องให้ราษฎรได้มีส่วนมีเสียงในการปกครองให้จัดถูกต้องตามความต้องการของตน และเมื่อประตูที่กีดกั้นอยู่ได้เปิดออกแล้ว รัฐบาลก็จะต้องนำ ราษฎรผ่านประตูนั้นเข้าไปสู่ชัยภูมิแห่งความสมบูรณ์"

นายปรีดี เป็นนักการเมืองคนแรกที่ริเริ่มแนวความคิดที่จะให้ราษฎรทุกคนได้รับ การประกันสังคม (Social assurance) จากรัฐบาล โดยระบุไว้อย่างชัดเจนในหมวดที่ 3 แห่งเค้าโครงเศรษฐกิจฯ แต่น่าเสียดายที่ร่างของแนวความคิดดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ กว่าประเทศไทยจะยอมรับให้มีนโยบายประกันสังคมให้แก่ประชาชนก็เป็นเวลา 6 ปี หลังจากนั้น

 

รัฐบุรุษ..ปรีดี พนมยงค์!! "ข้าพเจ้ามุ่งแต่สาระสำคัญคือ บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"...คณะราษฎรที่"นักวิชาการ"และคิดถึงประชาชนอย่างแท้จริง !!??

ซึ่งเป็นเป็นการสะท้อนทางการเมืองที่ชัดเจนว่า ในการแย่งชิงอำนาจคณะราษฎร หลังจากที่ปฏิวัติมาได้ไม่ทันครบปีเสียด้วยซ้ำ ได้มีการช่วงชิงอำนาจ และหลังจากการประชุมครั้งนี้เสร็จไม่กี่วัน โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เกลี้ยกล่อมพระยาทรงสุรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาฤทธิ์อัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ อันเป็น "4 ทหารเสือ" ซึ่งเป็นนายทหารระดับสูงในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงสุรเดชเห็นด้วยกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และได้ชักชวนพระยาฤทธิ์อัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ เห็นชอบด้วยกับการปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา แต่ทว่าพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรกลับเห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ จึงมีการกล่าวหากันว่า พระยาทรงสุรเดชพยายามที่จะโดดเดี่ยว พระยาพหลพลพยุหเสนา และคิดแย่งตำแหน่งจากพระยาพหลพลพยุหเสนา โดยเป็นผู้รับใช้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

 

รัฐบุรุษ..ปรีดี พนมยงค์!! "ข้าพเจ้ามุ่งแต่สาระสำคัญคือ บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร"...คณะราษฎรที่"นักวิชาการ"และคิดถึงประชาชนอย่างแท้จริง !!??