ฝากถึงกรมศิลป์!! "ดร.ทนงศักดิ์" ซัด!กรมศิลป์ควรศึกษาหนทวงคืน "สมบัติชาติ" จากประเทศอื่น! กัมพูชาใช้เวลาทวงแค่ 153 วัน แต่ไทยยังไร้วี่แวว!!

"ดร.ทนงศักดิ์" ซัด!กรมศิลป์ควรศึกษาหนทวงคืน "สมบัติชาติ" จากประเทศอื่น! กัมพูชาใช้เวลาทวงแค่ 153 วัน แต่ไทยยังไร้วี่แวว

ดร.ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊คส่วนตัว ถึงกรณีการทวงคืนสมบัติชาติ พระโพธิสัตว์สำริดปลายบัด 2 จากกรุพระประโคนชัย ที่หายไปจากท้องที่ แต่กลับไปปรากฏที่ต่างประเทศ ทว่าไม่มีอะไรคืบหน้า

(อ่านรายละเอียด พระโพธิสัตว์ปลายบัด 2 ที่หายไป : 

ซึ่งต่างจาก ทางประเทศกัมพูชา ที่สามารถทวงคืน “ชุดเครื่องประดับทอง” จากอังกฤษคืนมาได้ โดยใช้เวลาเพียง 153 วัน

ฝากถึงกรมศิลป์!! "ดร.ทนงศักดิ์" ซัด!กรมศิลป์ควรศึกษาหนทวงคืน "สมบัติชาติ" จากประเทศอื่น! กัมพูชาใช้เวลาทวงแค่ 153 วัน แต่ไทยยังไร้วี่แวว!!

ฝากถึงกรมศิลป์!! "ดร.ทนงศักดิ์" ซัด!กรมศิลป์ควรศึกษาหนทวงคืน "สมบัติชาติ" จากประเทศอื่น! กัมพูชาใช้เวลาทวงแค่ 153 วัน แต่ไทยยังไร้วี่แวว!! ฝากถึงกรมศิลป์!! "ดร.ทนงศักดิ์" ซัด!กรมศิลป์ควรศึกษาหนทวงคืน "สมบัติชาติ" จากประเทศอื่น! กัมพูชาใช้เวลาทวงแค่ 153 วัน แต่ไทยยังไร้วี่แวว!!

ประกาศ เรื่องการได้รับคืนซึ่งชุดเครื่องประดับทองของเขมรสมัยพระนคร

.

กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลปะ ภูมิใจที่จะประกาศให้มหาชนได้ทราบว่า เมื่อวันที่ ๒๐ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผู้แทนพนักงานขายวัตถุโบราณ Johnathan Tucker Antonia Tozer Asian Art ได้สมัครใจมอบคืนชุดเครื่องทองสำหรับตกแต่งรูปจำหลักหิน ซึ่งมีอายุอยู่ในสมัยพระนคร แก่รัฐบาลและประชาชนกัมพูชา ทางสถานเอกอัครทูตกัมพูชาประจำประเทศอังกฤษ เข้าร่วมรับโดยท่านผู้หญิงเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศอังกฤษและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลปะ. วัตถุโบราณนี้เป็นกรรมสิทธิ์โดยตรงของกัมพูชาเท่านั้น ตามรูปแบบลวดลายซึ่งมีเฉพาะในศิลปะเขมร และได้ถูกนำออกไปจากกัมพูชาโดยผิดกฎหมาย

.

เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลปะ ได้รับข่าวสารว่าพนักงานขายวัตถุโบราณ Johnathan Tucker Antonia Tozer Asian Art ได้ประกาศขายวัตถุโบราณอินเดีย และเอเชียอาคเนย์ที่สำนักงานของตน ณ กรุงลอนดอน เลขที่ 37 Bury Street, St.James’s, London, SW1Y 6AU ตั้งแต่วันที่ ๓ ถึงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ซึ่งในจำนวนนั้นมีชุดเครื่องประดับทองสำหรับประดับรูปจำหลักหิน ซึ่งวัตถุโบราณนี้เคยได้รับการเผยแพร่ในหนังสือ Khmer Gold : Gifts for the Gods แต่งโดย Wmma C. Bunker และ Douglas A.J. Latchford ในปี พ.ศ.๒๕๕๑,

.

หลังจากได้รับข่าวสารนี้ กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลปะก็ได้ส่งเรื่องนี้ไปถึงกระทรวงการต่างประเทศทันที และได้รับคำแนะนำอย่างเร่งด่วนเพื่อทำการเรียกร้องขอให้พนักงานขายวัตถุโบราณ Johnathan Tucker Antonia Tozer Asian Art ถอนออกจากบัญชีขาย และประสานงานส่งกลับคืนมายังกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาได้ส่งหลักฐานอย่างชัดเจนว่า วัตถุโบราณนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชาเท่านั้น โดยอ้างลวดลายซึ่งมีเฉพาะแต่ในรูปแบบศิลปะของกัมพูชา ซึ่งถูกนำออกไปจากกัมพูชาอย่างผิดกฎหมาย

.

รัฐบาลกัมพูชาขอแสดงความชื่นชมรัฐบาลแห่งประเทศอังกฤษที่ได้ประสานงานร่วมมือกับรัฐบาลกัมพูชาในการเรียกร้องขอคืนวัตถุโบราณกลับมายังกัมพูชา และขอแสดงความขอบคุณด้วย สำหรับพนักงานขายวัตถุโบราณ Johnathan Tucker Antonia Tozer Asian Art ซึ่งปรารถนาดีและร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการประสานมอบวัตถุโบราณให้แก่รัฐบาลและประชาชนกัมพูชา ในโอกาสนี้ท่านคุณหญิงเภือง สกุณา รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลปะแห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชาได้แสดงความคิดเห็นว่า ความเพียรพยายามของรัฐบาลกัมพูชา ในการนำรัตนวัตถุของชาติกลับคืนมาครั้งนี้ เป็นอุดมมงคลอย่างหนึ่งของประเทศ และเป็นของขวัญอันมีค่าที่จะมอบให้แก่ประชาชนกัมพูชาในโอกาสวันขึ้นปีใหม่นี้

.

การมอบคืนให้ด้วยความสมัครใจนี้ แสดงให้เห็นถึงการยกย่องสมบัติวัฒนธรรมกัมพูชาและความมีศีลธรรมของผู้สะสมวัตถุโบราณมีมากขึ้น และขอสนับสนุนบุคคล พิพิธภัณฑ์ บริษัท และสถาบันต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งกำลังตั้งแสดงและรักษาวัตถุโบราณของกัมพูชา ขอให้ร่วมมือกับรัฐบาลกัมพูชา ทางกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลปะ และทางสถานทูตกัมพูชาในแต่ละประเทศ ในการสมัครใจมอบวัตถุโบราณเหล่านั้นกลับคืนมายังกัมพูชา กัมพูชาถือว่าการกระทำอันน่ายกย่องนี้ ไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการยกย่องวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์หนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมอันประเสริฐสูงสุดในการฟื้นฟูและรักษาบาดแผลทางใจของประชาชนกัมพูชา ซึ่งได้ผ่านสงครามภายในประเทศและประสบเคราะห์ร้ายจากโศกนาฏกรรมและทารุณกรรมจากพวกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เขมรแดง

..ชุดเครื่องประดับทองสำหรับตกแต่งรูปจำหลักหินซึ่งได้ถูกส่งกลับคืนมายังกัมพูชา

ราชธานีพนมเปญ วันที่ ๒๑ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๐

 

ซึ่งเครื่องทองดังกล่าวนั้นสามารถทวงคืนได้ใน เวลา 153 วัน เท่านั้น จากเหตุการณ์ดังกล่าว ดร.ทนงศักดิ์ โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊คส่วนตัว ขอฝากข้อความถึงกรมศิลปากรว่า..

เครื่องทองในภาพทุกชิ้นก่อนที่จะถูกนำไปขายที่อังกฤษ โดยบริษัทประมูลตามข่าวนั้น กรมศิลปากรต้องจำเป็นบทเรียนที่สำคัญว่า

1. โบราณวัตถุเครื่องทองนี้ อยู่ในความครอบครองของ Douglas Lacthford Collection ปัจจุบันนายแลชฟอร์ดได้โอนสัญชาติเป็นคนไทยมีบ้านอยู่ย่านสุขุมวิท จะต้องให้ถามอีกหรือไม่ว่าคอลเลคชั่นนี้อยู่ประเทศไทยหรือไม่

2.หากโบราณวัตถุนี้เคยอยู่ในประเทศไทย ถามต่อว่า มันออกนอกประเทศได้โดยผ่าน มาตรา 22 ของพรบ.โบราณวัตถุฯ 2504 ไปได้อย่างไร

3.เรื่องนี้ไม่ได้ประสงค์ที่จะทวงคืนแย่งจากกัมพูชา เพราะอย่างไรเสีย กัมพูชาเขาก็ได้รับมอบคืนจากประเทศอังกฤษแล้ว ไทยจึงไม่มีโอกาสได้เป็นที่แน่นอนแล้ว

4. เรื่องนี้จึงเป็นที่มาของกรมศิลปากรควรศึกษาการทวงคืนของอารยประเทศว่าเขาทวงคืนโบราณวัตถุได้อย่างไรโดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อคืนอย่างในอดีตที่ผ่านมาทั้งทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ หรือพระพุทธรูปนาคปรกหลวงพ่อศิลา

5. กรมศิลปากรไม่ควรอย่างยิ่งที่มัวแต่ใช้ระบบเดิมว่าต้องรู้ที่มาแน่นอนโดยมีภาพถ่ายยืนยัน มันศาลเมื่อปีไหนแล้ว ปัจจุบันความก้าวหน้าในการพิสูจน์สิทธิ์มันไปถึงไหนแล้วอย่ามัวทำเป็นคนโบราณยึดแต่หลักฐานแบบเก่า ต้องหัดเรียนรู้รูปแบบการทวงคืนสมัยใหม่ด้วย ...โปรดดูตัวอย่างเครื่องทอง ใครบอกได้ว่าพบที่ไหน กัมพูชาเขขขามีหลักฐานรูปถ่ายยืนยันไหม นอกจากบอกว่าเป็นศิลปะเขมรเท่านั้นลายแบบนี้ไม่มีที่อื่น

6. ทำนองเดียวกัน อ.บวสเชอลิเย่ ท่านอุตส่าห์ศึกษากรุพระปลายบัดว่ามาจากประเทศไทย ลงหนังสือศึกษาเปรียบเทียบได้ดีกว่าหนังสือที่เป็นข่าวเครื่องทองตั้งมากมายตั้งแต่ ปี 2510 แล้วไงไม่เชื่อกัน ทีมข่าวไม่รู้กี่คนเข้าทำข่าวกับชาวบ้านรู้คนขุด รู้เหตุการณ์ ยืนยันได้หมดว่าเหตุเกิดที่ไหน....ยกเเว้นกรมศิลปากรไม่รู้ เขียนหลักฐานเปรียบเทียบตีพิมพ์ให้คนอ่านทั่วประเทศ ก็ผิดพลาดหมด จัดทำหนังสือทะเบียนโบราณสถานจังหวัดบุรีรัมย์ ก็ผิดพลาดไม่รู้ด้วยว่าบนเขาปลายบัด มีปราสาท 2 หลัง คือปราสาทปลายบัด 1 ซึ่งไม่ได้พบทั้งจารึกปลายบัดและกรุพระประโคนชัย แต่ก็เขียนว่าเจอที่ปราสาทปลายบัด 1 ทำให้ที่มาของกรุพระประโคนชัย, จารึกสับสนจนถึงทุวันนี้

7. เมื่อทุกอย่างเปิดเผยจนยอมรับกันทั้งชาวไทยและต่างประเทศว่าหลักฐานกรุพระประโคนชัยได้มาจากปราสาทปลายบัด 2 แน่นอนแล้ว กรมศิลปากรยังต้องการพิสูจน์ทราบอะไรอีก ว่าใช่ของคนไทยหรือไม่ ...กรมศิลปากรไม่ควรลังเลด้วยข้อกฎหมายใด ๆอีกต่อไปนอกจากจะยืนยันและยอมแก้ไขสิ่งที่เคยทำผิดพลาดมาในอดีต โปรดจำไว้ข้อหนึ่งที่ครูอาจารย์สอนเราอยู่เสมอว่า เกิดทันเห็นไหม..นั้นย่อมหมายถึงเราต้องค้นคว้าหาหลักฐานมาอธิบาย ไม่มีใครรู้และถูกในการหาหลักฐานที่มีข้อจำกัด แต่เมื่อไหร่ก็ตามเมื่อข้อมูลมีมากพอ มันหมายถึงความเชื่อมั่นในข้อสันนิษฐานนั้น

8. กรมศิลปากรต้องลุกขึ้นมาแก้ไขข้อมูลที่เคยทำผิดพลาด อย่าหลบหนีข้อมูลที่ตนทำลายความรู้ไว้ ความรู้และตามทันให้ทันเหตุการณ์ของโลกคือสิ่งที่ กัมพูชา อินเดีย พม่า ฯ เขาทำกัน ด้วยการยืนยันว่ากรุพระปลายบัด ได้มาจากที่ไหน จารึกที่สำคัญบนเขขาปลายบัด ทั้งสองหลักได้มาจากไหน

9. ถึงเวลาแล้วที่กรมศิลปากรจะทวงคืนพระกรุประโคนชัย ซึ่งแพร่หลายเฉพาะในบริเวณที่ราบสูงโคราช เท่านั้น นักวิชาการท่านใดที่ศึกษาเรื่องพระกรุประโคนชัยเคยเห็นพระสำริดที่มีขนาดใหญ่ที่อื่นหรือไม่นอกจากที่ราบสูงโคราช พระสำริดแบบนี้กรมศิลปากรยังไม่กล้ายันอีกเหรอว่าเป็นของคนไทย