วิธีการสังเกตุง่ายๆ รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง

แม้ว่าจะไม่สามารถคาดคะเนการเกิดพายุได้เองอย่างแม่นย่ำแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีสังเกตุถึงความผิดปกติบนท้องฟ้าเพื่อให้สามารถเตรียมตัวรับมือได้ทัน

ฤดูกาลของการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้หรืออ่าวไทยนั้นส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมหรือพฤศจิกายน ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมมักไม่ปรากฏมากนักอาจมีเพียง 1-2 ลูก แต่ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน อาจมีถึง 3-4 ลูก พายุที่เกิดในช่วงนี้มักจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามแล้วค่อยๆ อ่อนกำลังลงตามลำดับไม่มีอันตรายจากลมแรง แต่พายุที่เกิดในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนส่วนใหญ่จะผ่านมาทางตอนใต้ของปลายแหลมญวน หากเป็นพายุใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ และถึงแม้ว่าจะไม่สามารถคาดคะเนการเกิดพายุได้เองอย่างแม่นย่ำ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีสังเกตุถึงความผิดปกติบนท้องฟ้าเพื่อให้สามารถเตรียมตัวรับมือให้ทันกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยวิธีการสังเกตุหากมีแนวโน้มว่าเกิดพายุหรือฝนฟ้าคะนองได้ด้วยตัวเองคร่าวๆมีดังนี้

พายุ

อย่างแรกคือการตรวจดูก้อนเมฆ ชนิดของก้อนเมฆบนท้องฟ้าและทิศทางที่ลอยไปสามารถบอกถึงสภาพอากาศที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างมาก โดยทั่วไปแล้วเมฆที่เป็นก้อนสีขาวลอยสูงจะเป็นตัวชี้ว่าอากาศดี ส่วนเมฆดำครึ้มและลอยต่ำหมายถึงฝนหรือพายุกำลังพัดเข้ามา การปรากฏของเมฆคิวมูโลนิมบัส (เมฆที่มีลักษณะหนาสูงทึบในแนวตั้ง) ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันและเพิ่มปริมาณขึ้นในระหว่างวัน แสดงว่ามีโอกาสสูงที่พายุฝนรุนแรงจะเกิดขึ้นอีกในไม่ช้า เมฆแมมมาตัส (ลักษณะเป็นลูกกลมๆหลายๆลูกเรียงต่อกันเต็มท้องฟ้า) สามารถเกิดขึ้นพร้อมพายุฝนฟ้าคะนองที่อาจถึงขั้นรุนแรงได้ เมฆเซอร์รัส (ลักษณะเป็นริ้วๆ สีขาว รูปร่างคล้ายขนนก) จะลอยสูงอยู่บนท้องฟ้าเหมือนไอน้ำสายยาว หมายถึงจะเกิดฝนตามมาภายในประมาน 36 ชั่วโมงข้างหน้า เมฆอัลโตคิวมูลัส (ลักษณะเมฆก้อนสีขาว มีลักษณะคล้ายฝูงแกะลอยเป็นแพ) เป็นตัวชี้ว่าจะเกิดฝนภายในประมาน 36 ชั่วโมงข้างหน้าได้เช่นกัน และมีความเป็นไปได้ที่เมฆเซอร์รัสกับเมฆอัลโตคิวมูลัส จะก่อตัวขึ้นพร้อมกันบนท้องฟ้าหากเกิดเช่นว่านี้สามารถมั่นใจได้เลยว่าวันรุ่งขึ้นจะมีฝนตก เมฆนิมโบสตราตัส (ลักษณะเป็นแผ่นสีเทา) จะลอยตัวหนาต่ำบนท้องฟ้าแสดงว่ากำลังฝนใกล้เข้ามา วิธีที่2 คือ การมองดูท้องฟ้าสีเพลิง มองหาสัญญาณใดๆที่บ่งบอกว่าท้องฟ้าจะเป็นสีแดงแต่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์สีแดง ส่วนใหญ่ท้องฟ้าจะไม่ได้เป็นสีส้มหรือแดงจัด ถ้าหากเห็นท้องฟ้าสีแดงในตอนพระอาทิตย์ตก(ทิศตะวันตก) นั่นแสดงว่ามีความกดอากาศสูงที่มาพร้อมลมหนาวกำลังพัดอนุภาคฝุ่นผงในอากาศทำให้ท้องฟ้าดูเป็นสีแดง และเนื่องจากกระแสลมกรดและการเคลื่อนไหวของแนวความกดอากาศมักจะเคลื่อนที่จากทางทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก จึงแสดงว่าลมแล้งหนาวกำลังพัดมา หากท้องฟ้าเป็นสีแดงในเวลาเช้า(ทิศตะวันออก) หมายถึงลมแล้งนั้นได้พัดผ่านไปแล้วและที่ตามมาก็คือความกดอากาศต่ำที่นำพาความชื้นมาด้วย

บรรยากาศหลังฝนตก

วิธีที่3 มองหารุ้งกินน้ำทางทิศตะวันตก เนื่องจากเป็นผลมาจากแสงแดดตอนเช้าจากทางทิศตะวันออกส่องไปกระทบความชื้นทางทิศตะวันตก แนวพายุขนาดใหญ่ในทางซีกโลกด้านเหนือนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะพัดจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก และการเกิดรุ้งกินน้ำทางทิศตะวันตกก็ย่อมหมายถึงความชื้นซึ่งอาจหมายถึงฝนกำลังมุ่งหน้ามา ในทางตรงกันข้ามรุ้งกินน้ำที่เกิดทางทิศตะวันออกในตอนพระอาทิตย์ตกหมายความว่าฝนกำลังเคลื่อนตัวออกไป วิธีที่4 สังเกตดวงจันทร์ ถ้ามีสีออกแดงหรือซีดแสดงว่าท้องฟ้ามีฝุ่นละออง แต่หากดวงจันทร์สว่างไสวและเห็นได้ชัดอาจเป็นเพราะความกดอากาศต่ำได้กวาดฝุ่นละอองในอากาศออกไปซึ่งความกดอากาศต่ำก็หมายถึงฝน วิธีที่5 ก่อกองไฟ ควันไฟควรจะลอยขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากควันลอยเป็นเกลียวและลดระดับต่ำจะเกิดจากความกดอากาศต่ำแสดงได้ว่าฝนกำลังก่อตัวขึ้น วิธีที่6 ตรวจสอบความชื้นในอากาศ โดยสามารถรู้สึกถึงความชื้นในอากาศได้โดยเฉพาะในสภาพเส้นผม(จะม้วนงอนขึ้นและหยิก) ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงซึ่งมักจะตามมาด้วยฝนตกหนัก หรืออาจะสังเกตุได้ด้วยพฤติกรรมของสัตว์ สัตว์จำพวกนก ถ้านกบินสูงบนท้องฟ้าอาจจะแปลว่าอากาศดี แต่หากความกดอากาศที่ต่ำลงมาอันเนื่องมาจากพายุฝนนั้นจะทำให้นกเกิดอาการรำคาญหู จึงจะบินต่ำเพื่อบรรเทาอาการปวดหูนั้น ถ้าเห็นนกจำนวนมากบินมาเกาะตามสายไฟแสดงว่ามีความกดอากาศจะต่ำลงมา แต่วิธีการดังกล่าวข้างต้นอาจไม่ได้สามารถคาดการว่าฝนหรือพายุจะก่อตัวขึ้นได้อย่างแน่นอน แต่หากเป็นเพียงวิธีการสังเกตุเพื่อคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดฝนหรือพายุขึ้นเท่านั้น

 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง กรมอุตุฯเผย เหนือ-อีสานอากาศเย็นถึงหนาว ยอดดอยมีน้ำค้างแข็ง กทม.มีหมอกบางตอนเช้า)

 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง กรมอุตุฯประกาศ 24 ชม.ข้างหน้าภาคเหนือ กลาง ตะวันออก อุณหภูมิจะสูงขึ้น!)