รำลึกถึงวีระชนคนกล้า 18 ก.ค. 21 วันก่อตั้งหน่วยทหารพราน

     วันนี้ในอดีตเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 เป็นวันที่จัดตั้งหน่วยทหารพราน ตามแนวคิดที่กำหนดไว้ว่า ทหารพราน คือ อาสาของประชาชน หรือเรียกว่านักรบประชาชน มีวัตถุประสงค์จัดตั้งเพื่อต่อสู้กับกองโจรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และขับไล่กองโจรลงจากที่มั่นบนภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแนวคิดของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกที่กองบัญชาการกองทัพไทยในกรุงเทพมหานคร หน่วยทหารพรานประกอบด้วยทหารใหม่จากพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อการกำเริบของคอมมิวนิสต์ ทหารใหม่นั้นจะเข้ารับการฝึกเข้มข้น 45 วัน ได้รับแจกอาวุธสมัยใหม่ และถูกส่งกลับไปยังหมู่บ้านของตนเพื่อดำเนินปฏิบัติการกองโจรต่อคอมมิวนิสต์ หน่วยทหารพรานดำเนินหลายปฏิบัติการต่อขุนส่าในสามเหลี่ยมทองคำและยังมีส่วนในการปฏิบัติความมั่นคงระหว่างการเผชิญหน้ากันที่ปราสาทพระวิหารใน พ.ศ. 2551 และ 2552

รำลึกถึงวีระชนคนกล้า 18 ก.ค. 21 วันก่อตั้งหน่วยทหารพราน

รำลึกถึงวีระชนคนกล้า 18 ก.ค. 21 วันก่อตั้งหน่วยทหารพราน

 

     ทหารใหม่แรกเริ่มของทหารพรานบางคนเป็นอาชญากรที่ต้องคำพิพากษาแต่ได้มีการผ่อนผันโทษคนอื่นเข้าเป็นทหารพรานเพื่อให้ได้รับผืนดินเป็นรางวัลสำหรับการทัพที่ประสบความสำเร็จในบางขอบเขต ทหารพรานตั้งใจจะให้ทำหน้าที่แทนกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นกำลังพลเรือนที่รับผิดชอบต่อการปกป้องประชากรท้องถิ่นจากกองโจร จนถึงปลาย พ.ศ. 2524 ทหารพรานเข้าแทนที่ 80% ของหน่วยกองทัพปกติในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบตามชายแดนพม่า กัมพูชาและมาเลเซีย

     ทหารพรานมีประวัติศาสตร์ยุ่งยาก โดยเป็นหน่วยที่มักถูกกล่าวหาว่ากระทำการโหดร้าย ใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องและมีส่วนพัวพันกับการค้ายาเสพติด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าหน่วยทหารพรานมีอันธพาลท้องถิ่นส่วนมาก ซึ่งมักใช้สถานะของตนก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนพลเมืองต่อไป มีการปฏิรูปหลายครั้งนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรรษ 1980 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลั่นกรองทหารใหม่ และโดยรวมแล้วเป็นกำลังมืออาชีพมากกว่าที่เคยเป็นเมื่อยี่สิบปีก่อน แต่ปัญหาสำคัญกับระเบียบวินัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังดำเนินต่อไป

รำลึกถึงวีระชนคนกล้า 18 ก.ค. 21 วันก่อตั้งหน่วยทหารพราน

     ทหารพรานยังต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมก่อการร้ายระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนในการกล่าวอ้าง มีเพียงรัฐบาลในตอนนั้นที่พูดว่ามีชายชุดดำในกลุ่มผู้ชุมนุม

     พ.ศ. 2522 การหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยของผู้อพยพชาวกัมพูชากลายเป็นปัญหาการเมืองสำคัญและเป็นประเด็นความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการที่ผู้อพยพหลายพันคนเคยเป็นนักรบเขมรแดง นายกรัฐมนตรีไทย เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทหารอาชีพซึ่งเคยเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาก่อน ประกาศให้อำเภอติดชายแดนอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกและอนุมัติให้การอำนวยการรวม กองบัญชาการทหารสูงสุด ควบคุมและจัดความปลอดภัยให้แก่ผู้อพยพ กองบัญชาการทหารสูงสุดสนองโดยจัดตั้ง หน่วยเฉพาะกิจ 80 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 หน่วยทหารพรานพิเศษนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ป้องกัน การจัดการผู้ลี้ภัย และจัดหาอาหารและอาวุธให้แก่ฝ่ายขัดขวางต่อต้านเวียดนามซึ่งประเทศไทยสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขมรแดง เช่นเดียวกับแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรและ Armee Nationale Sihanoukiste หรือ ANS ระหว่างการมีอยู่ช่วงสั้น ๆ ของหน่วยเฉพาะกิจ 80 หน่วยถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งถูกยุบยกเลิกไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531

รำลึกถึงวีระชนคนกล้า 18 ก.ค. 21 วันก่อตั้งหน่วยทหารพราน

 

ขอบคุณคลิป ชมรมทหารพรานกองทัพบก