"พล.ท.นันทเดช" ฝากเตือนถึงใคร อย่าอ้าง"รัชกาลที่3" ว่าให้เอาอย่างตะวันตก

วันที่ 8 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ได้โพสต์ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยยกคำพระราชดำรัสสุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตรัสไว้ก่อนสวรรคตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวไทยกับชาวต่างชาติ เนื่องจากมีคนบางกลุ่มได้นำพระองค์ท่านมาเป็นข้ออ้างเอาอย่างพวกตะวันตก จึงได้ออกมาเตือนสติว่าอย่าทำอย่างนั้นอีก ระบุว่า
 

รัฐกาลที่3ได้พาประเทศสยาม ให้พ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยมมาได้ ( สยามเป็นประเทศเดียวที่รอดภัยคุกคามของชาวตะวันตก ) 
แต่ชาวตะวันตกก็ยังใช้ข้ออ้างในการยึดครอง ประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ว่าเป็นประเทศที่ "ไม่ศิวิไลซ์" พระองค์จึงมีพระราชดำรัสสุดท้ายก่อนเสด็จสวรรคตว่า

การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดี 
อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ควรคิดควรเรียน เอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมไส ไปทีเดียว 

เท่ากับพระองค์ ทรงสั้งสอนว่า "ให้เลียนแบบตะวันตกได้ แต่ก็ต้องมีสติ หรือ รักษาวัฒนธรรมเดิมของสยามไว้"
ก็แค่เตือนว่าอย่าเสียสติไปอ้าง รัชกาลที่3 อีกว่าให้เอาอย่างพวกตะวันตก ครับ

อย่าเสียสติอ้าง ร.3 ให้เอาอย่างตะวันตก

อย่าเสียสติ !!! "พล.ท.นันทเดช" ฝากเตือนถึงใคร อย่าอ้าง"รัชกาลที่3" ว่าให้เอาอย่างตะวันตก

อย่าเสียสติ !!! "พล.ท.นันทเดช" ฝากเตือนถึงใคร อย่าอ้าง"รัชกาลที่3" ว่าให้เอาอย่างตะวันตก

โดยเมื่อสืบค้นประวัติดูแล้ว พบว่าประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ดังอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้

 1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก

ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน

ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  “บางกอกรีคอร์เดอร์”  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา

5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น