ทำแบบนี้ได้หรือ? แฉ รพ.เอกชนจ่ายยาฆ่าเชื้อแต่แปะฉลากยาแก้อักเสบ รู้ไหมมันอันตรายแค่ไหน!?!

     ถือเป็นปัญหาที่มีมาต่อเนื่องยาวนานเหลือเกินสำหรับการใช้ยาให้เหมาะสม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของยาพยายามอย่างมากที่จะให้ข้อมูลการให้ยาที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับประชาชน

ถึงกับหัวร้อน เมื่อมีคนส่งข้อมูลมาให้ว่า รพ เอกชนแห่งนึง จ่ายยาฆ่าเชื้อให้คนไข้แล้วแปะชื่อว่า เป็น "ยาแก้อักเสบ"
/me ล้มโต๊ะ แล้วที่หลายๆหน่วยงานเขารณรงค์ให้คนเรียกชื่อให้ถูก จะได้ไม่กินสับสนจนเกิดปัญหาสารพัดตามมานี่เพื่อเหี้ยไรวะ
คือคนไทย เรียกยาสองกลุ่มนี้สับสนกันมานานสัสๆ
ยาแก้อักเสบ ก็คือยาแก้อักเสบ มีไว้กินแก้ปวด ยากลุ่มนี้ต้องระวังในบางคนเช่น สูงอายุ มีโรคประจำตัว โรคไต โรคกระเพาะ โรคหัวใจ เพราะมันอาจมีผลข้างเคียงเกี่ยวกับไต กระเพาะ หัวใจ ได้

ส่วนยาฆ่าเชื้อ ก็คือยาฆ่าเชื้อตามชื่อมัน ไว้กำจัดพวกเชื้อแบคทีเรีย
ประเด็นคือ ถ้าเรียกไอ้สองตัวนี้เป็นยาตัวเดียวกัน ว่ายาแก้อักเสบเมื่อไหร่ แล้วไปเอากลุ่มยาแก้อักเสบมากินกันสุรุ่ยสุร่าย ก็ได้ไตวาย กระเพาะทะลุ อ้วกเป็นเลือดกันรัวๆแน่ หรือถ้าดันเข้าใจว่ายาฆ่าเชื้อคือยาแก้อักเสบ แล้วไปซื้อมากินเองมั่วซั่วก็เกิดเชื้อดื้อยาตามมาได้ อันนี้จะเกิดหายนะตามมาทั้งประเทศในอนาคตเลย แต่ที่อนาถสุดคงหนีไม่พ้นเภสัชตามร้านขายยา คนไข้ที่เข้าใจผิดป่วยที มาขอซื้อยา บอกจะเอายาแก้อักเสบๆ เภสัชก็จะบอกนั่นไม่ใช่ยาแก้อักเสบนั่นยาฆ่าเชื้อไม่ควรกินพร่ำเพรื่อเฟ้ย แล้วก็จะดราม่ากันเถิดเทิงกลางร้านขายยานั่นล่ะ
เอาจริงๆนะ กุเห็นหน่วยงานรัฐรณรงค์ให้ตายยังไง ถ้าไม่ดึงเอกชนมาทำเรื่อง Ration drug use ด้วย รณรงค์ให้โลกแตกแม่งก็ไร้ประโยชน์ว่ะ

 

 

     อันตรายหากใช้ยาฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง

1.แพ้ยา มีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น มีผื่น คัน จนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก และช็อก
2.อาการข้างเคียง มีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ ท้องเดิน , อาการรุนแรง เช่น ตับอักเสบ และเอ็นร้อยหวายฉีกขาด
3.ดื้อยา ถ้าเชื้อดื้อยาทำให้ต้องกินยาปฏิชีวนะชนิดที่อันตรายมากขึ้น เสียเงินขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้น สุดท้ายยาอะไรก็รักษาไม่หาย เชื้อดื้อยาสามารถติดต่อได้ผ่านทางการไอ จาม และทางการรับประทาน ถ้าเชื้อดื้อยากระจายออกไปจะเป็นอันตรายร้ายแรงมากต่อสังคมไทย
4.ติดเชื้อแทรกซ้อน จะทำให้ติดเชื้อราแทรกซ้อน เช่น มีตกขาว คันก้น หรือเป็นเชื้อราในช่องปาก หรือชักนำให้ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่รักษาได้ยาก ทำให้ป่วยหนัก ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

     อันตรายหากใช้ยาแก้อักเสบไม่ถูกต้อง

1.ทางเดินอาหาร: ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องเสีย ทำให้เกิดแผล และ เลือดออกในทางเดินอาหาร
2.หลอดเลือด: ยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดออกง่ายและหยุดช้า โดยเฉพาะเมื่อมีแผล
3.ไต: ยานี้เพิ่มการสะสมของโซเดียมและน้ำในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายบวมน้ำอาจทำให้เกิดไตวายได้
4.ผิวหนัง: ผื่นเล็กน้อยจนถึงผื่นอย่างรุนแรง

 

 

ขอบคุณ Drama-addict   haamor