"พล.ท.นันทเดช" ตอบชัด ซื้อขีปนาวุธฮาร์พูน ...เหตุผลที่ต้องมีแม้ไทยไม่ได้รบ

วันที่ 15 ส.ค. 2560 บนเฟซบุ๊กของพล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ได้โพสต์ข้อความถึงการจัดซื้อขีปนาวุธฮาร์พูน โดยชี้ถึงเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดถึงต้องมีการจัดซื้อ แม้ประเทศไทยไม่ต้องไปรบกับประเทศใดก็ตาม
 

จะเอาไปรบกับใคร !?!? "พล.ท.นันทเดช" ตอบชัด ซื้อขีปนาวุธฮาร์พูน ...เหตุผลที่ต้องมีแม้ไทยไม่ได้รบ (รายละเอียด)

การซื้อขีปนาวุธฮาร์พูน สำหรับทำลายเรือผิวน้ำในระยะไกล เพื่อ ติดตั้งเรือฟริเกต ที่กำลังจะต่อเสร็จในเร็วๆนี้ เกิดเป็นข่าวขึ้นมาเพราะ กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯแถลงว่า ได้อนุมัติให้ขาย ขีปนาวุธ"ฮาร์พูน"ให้กับกองทัพเรือไทยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนปกติ ของการจัดหาอาวุธมาใส่เรือที่ต่อใหม่

ตรงนี้ไม่มีปัญหาอะไร แต่มันมีคำถาม ของคนช่างสงสัยเกิดขึ้นมาว่า "จะเอาไปรบกับใคร" ประเทศไทยเป็นประเทศใหญ่แต่มีกองทัพขนาดกระทัดรัด ซึ่งเป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ประเทศเราถึงไม่ค่อยมีประเทศเพื่อนบ้านเกรงใจ กำลังรบเหล่านี้แม้จะไม่มีการรบ เกิดขึ้นแต่กลับสามารถ สร้างดุลอำนาจให้ชาติมากมาย จะเจรจาหรือทำอะไรก็ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังสร้างดุลอำนาจเป็นภาพรวมให้อาเชียนอีกด้วย

ยกตัวอย่างสิงคโปร์เป็นเกาะใหญ่กว่ากรุงเทพฯนิดเดียว มีอาวุธทุกอย่างมากกว่าไทยตั้งแยะ ไม่รู้ว่าจะไปรบกับใครกัน แต่อาวุธเหล่านี้เองที่ทำให้คนตัวเล็กกล้ามโตได้ เหมือนกับคนพกปืนต่อรองกันกับ คนพกมีดนั่นแหละครับ 

สิงคโปร์ถึงมีความมั่นคงมากกว่าประเทศใหญ่ๆ ใครๆก็อยากคบอยากจะลงทุนด้วยเช่นเดียวกับงานทางการทูต ไทยส่งผู้ดีไปเป็นทูต สิงคโปร์ส่งตัวร้ายๆมาเป็นทูตนี่คือ"วิสัยทัศน์ของการอยู่รอด" ครับ

จะเอาไปรบกับใคร !?!? "พล.ท.นันทเดช" ตอบชัด ซื้อขีปนาวุธฮาร์พูน ...เหตุผลที่ต้องมีแม้ไทยไม่ได้รบ (รายละเอียด)

จะเอาไปรบกับใคร !?!? "พล.ท.นันทเดช" ตอบชัด ซื้อขีปนาวุธฮาร์พูน ...เหตุผลที่ต้องมีแม้ไทยไม่ได้รบ (รายละเอียด)

โดยประเด็นนี้สืบเนื่องมาจากที่สำนักงานโฆษกกองทัพเรือขอชี้แจงกรณีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลง เห็นชอบแผนเบื้องต้น สำหรับการขายอาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน บล็อค ทูว์ รุ่น RGM-84L มูลค่า 24.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (828 ล้านบาท) ตามที่รัฐบาลไทยร้องขอ ในแถลงการณ์ระบุว่า รัฐบาลไทยได้ยื่นความจำนงขอซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีดังกล่าวจำนวน 5 ลูก และอาวุธปล่อยนำวิถีซ้อมยิง ฮาร์พูน บล็อค ทูว์ 1 ลูก ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์บรรจุ อะไหล่ การซ่อมบำรุง และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ รวมถึงคู่มือ เอกสารทางเทคนิค การฝึกฝนบุคลากร และอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อม โดยรัฐบาลสหรัฐฯ และตัวแทนจากบริษัทคู่สัญญา จะเป็นผู้ให้บริการด้านวิศวกรรม ความช่วยเหลือเชิงเทคนิค การขนส่ง และการสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้วย

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 เมื่อเวลา 13.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) ให้สัมภาษณ์ชี้แจงถึงกรณีที่กองทัพเรือยอมรับว่า ซื้อขีปนาวุธปล่อยนำวิธี ฮาร์พูน บล็อค ทูว์ 1 ลูก เพื่อติดตั้งบนเรือฟรีเกต ว่า เป็นโครงการที่อยู่ในงบประมาณประจำปีอยู่แล้วไม่ได้มาเพิ่มเติมในงบกลางแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่เราให้เค้าต่อเรือฟริเกต เพราะมีความจำเป็นในการดูแลอธิปไตยของประเทศ เพราะว่าเรือเก่าของเราก็เก่ามากแล้ว ก็ต้องทยอยต่อไปเรื่อย ๆ เท่าที่เรามีงบประมาณ และตามความจำเป็น ทั้งนี้งบประมาณสำหรับการต่อเรื่องฟรีเกต รวมถึงระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย 

วันแรกที่ตนปฏิเสธบอกว่าไม่รู้ว่ามีการซื้อนั้น เพราะโครงการมันอยู่ในเรื่องเดิมอยู่แล้ว ตนก็จำไม่ได้ เป็นการซื้อตามระบบของกองทัพเรืออยู่แล้ว ถ้ามีเรือแล้วไม่มีอาวุธแล้วจะต่อเรือกันไปทำไม ตนก็ไม่เข้าใจ ทั้งหมดก็จำเป็นต้องมียุทโธปกรณ์ติดเรือ และไม่ได้ใช้งบประมาณเพิ่มเป็นงบของกระทรวงกลาโหมในส่วนของกองทัพเรืออยู่แล้ว

"ขอเรียนว่าที่หลายคนออกมาพูดในส่วนของงบประมาณของกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้นถึง 2.2 แสนล้านบาทนั้น ก็เป็นการเพิ่มขึ้นมาตามลำดับของแต่ละปี ซึ่งทุกกระทรวงก็เพิ่มมาแบบนี้สัดส่วนก็มีอยู่ ซึ่งไม่เกินสัดส่วนของงบประมาณทั้งหมดของประเทศ ในความเป็นจริงก็น้อยกว่าสัดส่วนจริง ๆ ด้วยซ้ำ 

เพราะเราเห็นถึงความจำเป็นในภาคส่วนอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นงบประมาณส่วนใหญ่อยู่แล้ว รวมทั้งเรื่องของการศึกษา รัฐสวัสดิการ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับทุกเรื่อง ขณะเดียวกันก็จะไปทิ้งเรื่องของความมั่นคงไม่ได้ เพราะความมั่นคงเป็นบ่อเกิดของความมีเสถียรภาพในภูมิภาคของเรา เพียงแต่เราต้องมีไว้บ้างถ้าไม่มีแล้วอนาคตจะอยู่อย่างไร ไม่ได้หมายความเราจะต้องไปรบกับใคร ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะซื้ออาวุธเพื่อไปรบ เราซื้อไว้เพื่อคุ้มครองทรัพยากรทางบก ทางทะเลของเรา 

ยังไม่ความจำเป็นอยู่ทุกคนก็เห็นว่ารอบบ้านเราก็ยังมีปัญหาอยู่ อย่างเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังมีปัญหาเราก็ต้องเตรียมการไว้ ส่วนงบประมาณที่สูงขึ้น เพราะว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีการจัดซื้อ ทุก ๆ รัฐบาลที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยให้ความสนใจ ทำให้เกิดความชำรุด ผุพังใช้ไม่ได้ ทำให้ต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมจำนวนมาก จึงทำอะไรไม่ได้สักอย่างเพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องจัดหามาบ้างเท่าที่จำเป็นและทำได้ ก็ยอมรับว่าในยามปกติอย่างเช่นรถถังก็ใช้อะไรไม่ได้ แต่พวกอากาศยานเราก็นำมาใช้ในการช่วยเหลือป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ในการดูแลประชาชน 

ส่วนหนึ่งเราก็มีไว้เพื่อป้องกันตัวเอง ต้องมีการฝึกร่วม รบร่วมกับประเทศต่าง ๆ แต่ถ้าเรามียุทโธปกรณ์ที่สัปปะรังเค ไปฝึกกับคนอื่นเขาจะตามเขาทันหรือไม่ ขอให้คิดแบบนี้บ้าง"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

อ้างอิง พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์