ซวยซ้ำช้ำคูณสอง!! อดีตผู้พิพากษาแจงข้อกม. เคสหญิงแสบหลอกชายแต่งงาน หนุ่มถึงจุกอก...สาวพร(อาจ)ไม่เข้าข่ายความผิดฉ้อโกง?

ซวยซ้ำช้ำคูณสอง!! อดีตผู้พิพากษาแจงข้อกม. เคสหญิงแสบหลอกชายแต่งงาน หนุ่มถึงจุกอก...สาวพร(อาจ)ไม่เข้าข่ายความผิดฉ้อโกง?

สืบเนื่องจากประเด็นร้อนที่คนในสังคมให้ความสนใจ กรณี ผู้เสียหายเป็นชายหลายรายถูกหญิงสาวนามว่า "น้องพร" อายุ 32 ปี หลอกให้แต่งงานแล้วเชิดสินสอดหนีไป ซึ่งภายใน 1 เดือน หลอกผู้ชายถึง 4 ราย โดยหญิงสาวจะหลอกชายว่าตั้งครรภ์ก่อนจะชวนให้แต่งงานด้วย และเมื่อได้สินสอดมูลค่าหลักแสนแล้วก้จะหลบหนีไป (อ่านข่าวก่อนหน้า : ระวัง...มายาหญิง!! โซเชียลแห่แชร์มิจฉาชีพสาวหลอกผู้ชายแต่งงาน 1 เดือนฟาดไป 4 ราย ล่าสุดเหยื่อแห่ให้ข้อมูลเพิ่ม...อึ้งหนักวีรกรรมแสบทรวง?)

ซวยซ้ำช้ำคูณสอง!! อดีตผู้พิพากษาแจงข้อกม. เคสหญิงแสบหลอกชายแต่งงาน หนุ่มถึงจุกอก...สาวพร(อาจ)ไม่เข้าข่ายความผิดฉ้อโกง?

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด นายชนบท ศุภศรี อดีตผู้พิพากษา ได้แสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าวว่า "ฉ้อโกง " ข่าวผู้ชายเรียงแถวกว่า 10 คน เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับสาวเจ้าที่อ้างว่าหลอกให้แต่งงานและเชิดสินสอดไป ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรนั้น ผมไม่ทราบเพราะไม่ได้ถูกหลอกให้แต่งงานด้วย แต่ "ถึงเขาหลอกก็เต็มใจให้หลอก"..(ถ้าสาวเจ้าสวยกว่านี้) การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือ การหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ กับอีกส่วนหนึ่งคือ การปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

ซวยซ้ำช้ำคูณสอง!! อดีตผู้พิพากษาแจงข้อกม. เคสหญิงแสบหลอกชายแต่งงาน หนุ่มถึงจุกอก...สาวพร(อาจ)ไม่เข้าข่ายความผิดฉ้อโกง?

 

จากข้อความที่ว่า แสดงข้อความอันเป็นเท็จเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวว่า ในขณะนั้นจะต้องมีความจริงอยู่ว่าเป็นอย่างไร แล้วได้มีการกล่าวข้อเท็จจริงหรือยืนยันข้อเท็จจริงบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง ดังนั้นข้อความอันเป็นเท็จจะต้องเป็น "ข้อความในอดีตหรือในปัจจุบัน" เพราะถ้าเป็นเหตุการณ์ในอนาคตแล้วยังไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จอย่างไร จึงเกิดหลักที่ว่า การกล่าวข้อเท็จจริงใดถ้าเป็นการให้ "คำมั่นหรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตแล้วไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง" แต่อย่างไร

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2516

จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป อ้างว่านำไปเพื่อซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจ และจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องที่จำเลยยืมเงินไปโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินนั้น " เพื่อกิจการของจำเลยเองในโอกาสข้างหน้า" มิได้เป็นการเอาความเท็จมากล่าวหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น แม้จำเลยจะไม่เอาเงินนั้นไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจก็เป็นเรื่องผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

ซวยซ้ำช้ำคูณสอง!! อดีตผู้พิพากษาแจงข้อกม. เคสหญิงแสบหลอกชายแต่งงาน หนุ่มถึงจุกอก...สาวพร(อาจ)ไม่เข้าข่ายความผิดฉ้อโกง?

 

ก่อนหน้านั้น ทนายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ , พ.ต.ท.เอกบดี ศรีสุระ อดีตรองผู้กำกับสอบสวน และกลุ่มผู้เสียหายที่ถูก น้องพร หลอกแต่งงานกว่า 11 ราย ได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ดำเนินคดีกับนางสาวจริยาภรณ์ บัวใหญ่ และพวกอีก 3 ราย ได้แก่ นายบุญเลี้ยง บัวใหญ่ (บิดา), นางสำรอง บัวใหญ่ (ภรรยา), นางสาวสร้อยเพ็ชร พาลีวัลย์ เจ้าของบัญชีธนาคารที่ “น้องพร” ใช้ในการรับโอนเงินและถอนเงิน ต่อผู้บังคับการกองปราบปราม ผ่าน  พ.ต.อ.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รองผู้บังคับการกองปราบปราม   เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 4 ราย โดยความผิดนี้เบื้องต้นถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 ถ้าผู้ใดกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการแสดงตนเป็นคนอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

(คลิกอ่านข่าวก่อนหน้า : แถวบ้านเรียกแหลสุดๆ!! รู้แล้วทำไมผู้ชายกลายเป็นเหยื่อให้ปอกลอกง่ายๆ มีไม้เด็ดชวนชายหลงใหล-สร้างเรื่องบาปให้ตายใจ ทำเสียเกียรติผู้หญิงจริงๆ)

 

ขอบคุณที่มา : ชนบท ศุภศรี   สงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์