ผู้ประกันตนควรรู้!! 6 อาการฉุกเฉินวิกฤติ  ใช้สิทธิได้ทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมง(รายละเอียด)

ผู้ประกันตนควรรู้!! 6 อาการฉุกเฉินวิกฤติ ใช้สิทธิได้ทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมง(รายละเอียด)

มารู้จักนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่”


นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” เริ่มประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินวิกฤตทุกคน ไม่ว่าสิทธิใดก็ตาม ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการให้น้อยที่สุด โดยไม่ต้องสำรองเงินค่ารักษาพยาบาลในระยะเบื้องต้น 72 ชั่วโมงแรก

ผู้ประกันตนควรรู้!! 6 อาการฉุกเฉินวิกฤติ  ใช้สิทธิได้ทุกโรงพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมง(รายละเอียด)

 

6 อาการเข้าเกณฑ์ รักษาที่ไหนก็ได้
ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามโครงการนี้ ได้แก่ 
1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่รู้สึกตัว 
2. อาการทางสมอง มีการรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 
3. หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 
4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 
5. อวัยวะฉีกขาดเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ 
6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด ชักเกร็ง เป็นต้น

หากพบปัญหาในการวินิจฉัยคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถปรึกษาขอคำวินิจฉัยจากศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ผ่านทางสายด่วน 02-872-1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้เวลาประเมินภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยภายใน 15 นาที โดยให้ยึดคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเป็นที่สุด หากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โรงพยาบาลห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ป่วยเด็ดขาด และเมื่อพ้น 72 ชั่วโมงไปแล้วโรงพยาบาลเอกชนสามารถส่งตัวผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลตามสิทธิของผู้ป่วย แต่หากผู้ป่วยประสงค์ที่จะรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเดิมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คือปฏิเสธการรักษา ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หรือเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ป่วย จะมีความผิดตามมาตรา 36 ของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2559 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผลงาน 5 เดือน มีผู้ใช้สิทธิเกือบ 6 พันคน
ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการ 1 เมษายน-30 สิงหาคม 2560 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 5,782 ราย จากผู้ขอใช้สิทธิทั้งหมด 12,710 ราย มากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมาคือ สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และกองทุนอื่น ๆ

อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตดังกล่าวข้างต้น จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มโอกาสในช่วงนาทีวิกฤตของชีวิต ทั้งนี้ หากเจ็บป่วยฉุกเฉินโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง และหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2872-1669 หรือ [email protected] ตลอด 24 ชั่วโมง