รู้แล้วรีบแชร์ต่อ...ประโยชน์ของแกนสับปะรด สรรพคุณเลอค่า ครั้งหน้าอย่าโยนทิ้ง

คนส่วนใหญ่เวลาปอกสับปะรดมักจะหั่นเอาแต่เนื้อแล้วโยนแกนทิ้งขยะไป โดยหารู้ไม่ว่ากำลังทิ้งของดีที่มีประโยชน์ไปเสียแล้ว เพราะแกนสับปะรด มีสารอาหารมากกว่าเนื้อของสับปะรดด้วยซ้ำ วันนี้จึงได้นำประโยชน์ของแกนสับปะรดมาบอกให้ผู้อ่านทราบ เพื่อที่ต่อไปเวลาซื้อสับปะรดมาจะได้ไม่เอาแกนทิ้งขยะไป

รู้แล้วรีบแชร์ต่อ...ประโยชน์ของแกนสับปะรด สรรพคุณเลอค่า ครั้งหน้าอย่าโยนทิ้ง

แกนสับปะรด คือแหล่งสะสมสารอาหารของสับปะรดเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะเอนไซม์บรอมีเลน (BROMELAIN) แท้จริงแล้วมีอยู่ในทุกส่วนของสับปะรด แต่จะพบในส่วนแกน มากที่สุด ซึ่งสารนี้มีประโยชน์มากมาย คือ มีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร ช่วยสมานแผลและลดการอักเสบ ของกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะเอนไซม์บรอมีเลน มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ คอยทำลายแบคทีเรีย ที่ไม่มีประโยชน์ ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีกากใยมากจึงช่วย แก้ท้องผูกได้ แต่ก็ไม่ควรทานมากไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสีย มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว ป้องกันการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต เพราะเอนไซม์ บรอมีเลนจะไปช่วยลดการ เกาะกันเป็นลิ่มเลือดของเกล็ดเลือด เพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านโรคมะเร็ง นั่นเพราะบรอมีเลนจะทำให้เม็ดเลือดขาวหลั่งสารไซโตไคน์ ที่ทำให้ เม็ดเลือดขาวกำจัดเซลล์มะเร็งได้ ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ กระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย ช่วยเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรน ถือ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นดีให้คุณผู้ชาย บรรเทาโรคเกาต์ได้ โดยทานสับปะรด 1/4 ผล (ขนาดเล็ก) วันละ 2-3 ครั้ง หลังอาหาร 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อให้เอนไซม์บรอมีเลนช่วยต้านการ อักเสบ ลดความเจ็บปวดจากการอักเสบ

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรฯ สหรัฐฯ พบว่า ในสับปะรด 100 กรัม ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี มีคุณค่าทางสารอาหารสำคัญ ๆ ดังนี้
       
       น้ำ 86 กรัม
       โปรตีน 0.54 กรัม
       ไขมันรวม 0.12 กรัม
       คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม
       ไฟเบอร์ 1.4 กรัม
       น้ำตาล 9.85 กรัม
       แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
       ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม
       แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
       ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม
       โพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม
       โซเดียม 1 มิลลิกรัม
       สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม
       วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม
       วิตามินบี 6 0.112 มิลลิกรัม
       โฟเลต 18 µg
       วิตามินเอ 58 IU
      
ข้อควรระวังในการกินสับปะรด
          -ไม่ควรทานตอนท้องว่าง เพราะเป็นผลไม้ที่มีเอนไซม์มาก มีรสเปรี้ยว ทานแล้วอาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร
          -ไม่ควรทานสับปะรดดิบ เพราะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง และก็ไม่ควรทานสับปะรดที่สุกเกินไป เพราะอาจเริ่มเน่า แล้วทำให้ท้องเสียได้

สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือพวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่าไม้ดิน, พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ, และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน

ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้

ผลสับปะรด เป็นส่วนที่มีเนื้อและน้ำ ซึ่งมีประโยชน์มาก สามารถกินได้ทั้งผลสดๆ และนำมาแปรรูปเป็น สับปะรดกวน ,สับปะรดในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง ที่เราเห็นทั่วไป , แยมสับปะรด และสับปะรดอบแห้ง หรือจะคั้นเป็นเครื่องดื่มน้ำสับปะรด,น้ำส้มสายชูก็ได้

ใบสับปะรด  เพราะมีเส้นใยที่เหนียวนั้น สามารถนำมาแปรรูปเป็นผ้าใยสับปะรด ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ จะนิยมนำมาทำเป็นผ้าพื้นเมืองด้วยครับ อีกทั้งยังนำมาประยุกต์ใช้ทำเป็นกระดาษใบสับปะรด หรือเชือก

เปลือกสับปะรด  มีประโยชน์มากเช่นเดียวกัน เพราะตรงส่วนตาของสับปะรดนั้น อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารของวัว หรือจะอบแห้งเผื่อนำมาเป็นส่วนผสมหลักๆของอาหารสัตว์อื่นๆ แถมยังนำมาทำเป็นน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพได้ด้วย

แกนสับปะรด  บางสายพันธุ์นะครับที่มีแกนกลางใหญ่ๆ จะนิยมนำมาแปรรูปเป็น แกนสับปะรดอบแห้ง และ แกนสับปะรดหยี ที่ไม่นิยมรับประทานสดๆเพราะ เนื้อของแกนสับปะรดจะมีลักษณะแข็งกระด้าง