ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เฟสบุ๊คเพจ "ความจริง"

ในช่วง 3-4 วันมานี้ มีลมมรสุมความกดอากาศต่ำกำลังแรงพัดมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง แทบจะทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งถ้าหากยังตกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม โดยก่อนหน้านี้ทางกรมอุตุฯก็ได้มีประกาศเตือนให้ประชาชนเตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว
หากย้อนไปดูอุทกภัยในประเทศไทยเมื่อ 6 ปีก่อน ในปี พ.ศ. 2554 หรือที่นิยมเรียกกันว่า "มหาอุทกภัย 54" เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่ม แม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกรกฎาคม และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท เมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก
ในส่วนของกรุงเทพมหานครเริ่มได้รับผลกระทบในเดือนตุลาคม และหากย้อนไปดูอย่างละเอียด จะสามารถลำดับเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ ดังนี้
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น้ำเริ่มท่วมบริเวณถนนพหลโยธินช่วงอนุสรณ์สถาน และพบเพิ่มเติมในพื้นที่อื่น ๆ อีก ทั้งมีไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ การถ่ายรูปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ต้องเลื่อนออกไป ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นได้ไหลเข้าท่วมตลาดพระเครื่อง ย่านท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว 73 ชุมชน 3,384 ครัวเรือน ทางกรุงเทพมหานครพยายามเร่งระบายน้ำออกทางประตูระบายน้ำ 3 แห่ง นอกจากนี้ ทางสำนักงานเขตได้เตรียมกระสอบทรายห้าแสนใบมอบให้กับประชาชนไปใช้ทำคันกันน้ำชั่วคราว ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด


วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้จัดพิธีบวงสรวงพระแม่คงคาเพื่อขอให้น้ำลดอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ค่อยได้รับการตอบสนองอย่างเห็นชอบเท่าใดนัก ด้วยปริมาตรน้ำมากที่สุดเป็นอันดับสองที่มีแนวโน้มจะท่วมกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นปริมาณน้ำมากที่สุดนับแต่ พ.ศ. 2485 หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลมักมีข้อมูลที่ขัดแย้งกันและชวนสับสน นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้ประชาชนในชาติสามัคคีกันเพื่อรับมือกับน้ำที่ไหลบ่ามาอย่างไม่ขาดสาย อย่างไรก็ดี พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เคยแถลงยืนยันก่อนหน้านี้ว่า กรุงเทพมหานครจะไม่ประสบอุทกภัย
แม่น้ำเจ้าพระยาและสถานีสูบน้ำรอบกรุงเทพมหานครระบายน้ำอย่างน้อย 420,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน อย่างไรก็ดี การปล่อยน้ำจากเขื่อนต้นน้ำกรุงเทพมหานคร ประกอบกับฝนที่ตกลงมาเพิ่มเติม ทำให้มีการประเมินว่าน้ำอุทกภัย 16,000,000,000 ลูกบาศก์เมตรจะต้องระบายออก ปริมาณน้ำที่มุ่งสู่กรุงเทพมหานครมีปริมาตร 16 ลูกบาศก์กิโลเมตร กรมชลประทานพยากรณ์ว่า หากไม่มีฝนตกลงมาอีก น้ำปริมาณนี้จะลงสู่ทะเลใช้เวลา 30 ถึง 45 วัน
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำได้เอ่อท่วมที่ตลาดรังสิต และบริเวณถนนพหลโยธิน ซอยพหลโยธิน 87 ซอยพหลโยธิน 85
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554 สินค้าหลายอย่างเริ่มขาดแคลน รถทหารวิ่งสัญจรบนถนนในกรุงเทพมหานครทั้งกลางคืนและช่วงเช้า ชายชราผู้หนึ่งประสบอุบัติเหตุบนรถทหารขณะที่รถกำลังวิ่ง ประชาชนนำรถยนต์ของตนจอดบนทางด่วนแม้มีคำสั่งห้าม ประชาชนส่วนหนึ่งเดินทางไปต่างจังหวัดหลังรัฐบาลแนะนำเช่นนั้น
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา 1 เมตร ฝ่ายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องการให้เปิดเพียง 75-80 เซนติเมตร โดยทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอ้างเหตุผลว่า เพื่อป้องกันเขตนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ขณะที่ทางม็อบปิดถนนนิมิตใหม่เรียกร้องให้เปิดประตูระบายน้ำ 1.5 เมตร


จับตาสถานการณ์น้ำ..อย่าให้ซ้ำรอย!! "มหาอุทกภัย2554" ย้อนอดีต 6 ปี น้ำท่วมกรุงฯ!! (ชมคลิป)

 

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เกิดความขัดแย้งอย่างหนักที่คลองสามวา โดยประชาชนสองกลุ่มในเขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี ไม่พอใจในเรื่องขอการระบายน้ำผ่านประตูคลองสามวา มีการบุกรุกทำลายทรัพย์สินของทางราชการ แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้เปิดประตูขึ้น 1 เมตรแล้วก็ตาม หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกคำสั่งตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจป้องกันเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครเต็มความสามารถ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวว่า ไม่สามารถไว้ใจตำรวจได้อีกต่อไป เพราะเพิกเฉยและไม่ต้องการขัดแย้ง หรือกลัวถูกชาวบ้านทำร้าย จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจดังกล่าวลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
วันที่ 7 พฤศจิกายน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศให้เขตคลองสามวาเป็นเขตอพยพทั้งเขต ส่งผลให้มีพื้นที่อพยพเพิ่มขึ้นเป็น 12 เขต วันที่ 8 พฤศจิกายน กรุงเทพมหานครได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติมในเขตบึงกุ่ม และยังแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 แขวงของเขตบึงกุ่ม วันที่ 9 พฤศจิกายน มีการประกาศเขตอพยพแล้ว 13 เขต ได้แก่ เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตคลองสามวา เขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม เขตจตุจักร วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นิคมอุตสาหกรรมบางชันแจ้งเหตุฉุกเฉินระดับที่ 1 ไปยังผู้ประกอบการ 93 ราย
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแจ้งพื้นที่อพยพเพิ่มเติมในเขตบางกอกน้อย เขตจอมทอง และเขตบางบอน ทหารได้ออกแผนปฏิบัติการแผนมะรุมมะตุ้มเพื่อกู้นิคมอุตสาหกรรมบางชันและถนนเสรีไทย
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศอพยพในพื้นที่เขตบางขุนเทียน วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ประกาศอพยพในเขตพญาไท แต่ต่อมาได้มีการแจ้งยกเลิกประกาศอพยพ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศอพยพในพื้นที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน บริเวณถนนบางขุนเทียน ตั้งแต่แยกพระราม 2 ถึงทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย วันที่ 19 พฤศจิกายน ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม สรุปรายงานสถานการณ์สาธารณภัยว่ากรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 36 เขต จาก 50 เขต

 

สาเหตุหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดมหาอุทกภัย'54
- ปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำยมที่ไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในปี 2554 มีมากถึง 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ประตูระบายน้ำพลเทพ และประตูระบายน้ำบรมธาตุ ไม่ได้เปิดรับน้ำเพื่อผันน้ำเข้าสู่ทุ่งตะวันตก แม้จะมีการเปิดรับน้ำมากขึ้นในภายหลัง แต่มีการควบคุมน้ำให้อยู่เฉพาะในลำน้ำ ไม่มีการปล่อยน้ำเข้าทุ่งเพื่อให้เป็นแก้มลิงชะลอน้ำ
- การปล่อยให้ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี พังทลายโดยไม่มีการรีบซ่อมแซม ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าสู่จังหวัดลพบุรีมากเกินไป และปริมาณน้ำทั้งหมดได้ไหลกลับมายังอำเภอพระนครศรีอยุธยาทางแม่น้ำลพบุรี
- ปริมาณน้ำจำนวนมากที่ระบายจากเขื่อนป่าสักที่ไหลมายังเขื่อนพระรามหก ไม่มีการผันน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์แยกใต้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้ปริมาณน้ำส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา


- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา รับปริมาณน้ำมากเกินไปทั้งจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี
- ปริมาณน้ำที่ไหลมารวมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามากเกินไป ทำให้น้ำจำนวนมากไหลย้อนข้ามประตูประบายน้ำคลองข้าวเม่า เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และไหลไปรวมกันกับปริมาณน้ำที่ล้นมาจากแม่น้ำป่าสัก เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร สวนอุตสาหกรรมบางกระดี และไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครทางทิศเหนือ
- คลองระพีพัฒน์ ไม่สามารถผันน้ำเข้าสู่ทุ่งตะวันออกได้ ในทางกลับกัน เรือกสวนไร่นาที่อยู่ในพื้นที่ทุ่งตะวันออกกลับสูบน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ ทำให้คลองระพีพัฒน์รับน้ำมากเกินไป
- พื้นที่รองรับน้ำหลากของกรุงเทพมหานครเกิดการเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น หมู่บ้านจัดสรรและพื้นที่อุตสาหกรรม ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเข้าสู่ระบบสถานีสูบน้ำริมชายทะเลได้ ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่อยู่ทางด้านเหนือกรุงเทพมหานคร บริเวณอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี แขตสายไหมและเขตคลองสามวา ไม่สามารถระบายลงสู่ระบบคลองไปยังสถานีสูบชายทะเลได้
- มีการปลูกสิ่งก่อสร้าง รุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำ ลำคลอง การขาดการดูแลรักษาแม่น้ำ ลำคลอง ส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่คลองระบายน้ำสำคัญอย่างเช่น คลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว มีการรุกล้ำลำน้ำจนคลองเหลือขนาดเพียงครึ่งเดียวจากเดิม
- สะพานหลายแห่ง กลายเป็นปัญหาในการระบายน้ำ ทั้งตอหม้อสะพานที่มีขนาดใหญ่เกินไป ช่องสะพานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการไหลของน้ำ ที่สำคัญสะพานในแหล่งชุมชนเกือบทุกแห่ง ช่องด้านข้างทั้ง 2 ของสะพานจะเกิดการรุกล้ำ จนมีเพียงช่องกลางสะพานเพียงช่องเดียวที่สามารถระบายน้ำได้
- ประชาชน และองค์กรในส่วนย่อย มีการสร้างพนังและคันกั้นน้ำของตัวเอง ทำให้การระบายน้ำในภาพรวมไม่สามารถดำเนินการได้ประสิทธิภาพ
- ปริมาณฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2554 ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีมีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณฝนรายเดือนสะสม ของสำนักการระบายน้ำเฉลี่ยคาบ 20 ปี (2534-2553) และ ปริมาณฝนรายเดือนสะสมของ กรมอุตุนิยมวิทยาเฉลี่ยคาบ 30 ปี (2524-2553) โดยในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2,257.5 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 20 ปี ของสำนักการระบายน้ำ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,654.4 มิลลิเมตร ส่วนปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 30 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,641.9 มิลลิเมตร

 

จับตาสถานการณ์น้ำ..อย่าให้ซ้ำรอย!! "มหาอุทกภัย2554" ย้อนอดีต 6 ปี น้ำท่วมกรุงฯ!! (ชมคลิป)


หากพิจารณาฝนสะสมรายเดือนของปี 2554 พบว่าเดือนตุลาคมมีปริมาณฝนสะสมสูงที่สุดอยู่ที่ 388.0 มิลลิเมตร และในปีนี้ปริมาณฝนเริ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฝนที่มาเร็วกว่าปกติ
- ปรากฏการณ์ลานีญาเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก บริเวณใกล้ประเทศฟิลิปปินส์สูงกว่าปรกติ ส่วนทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปรกติ ดูได้จากค่าดัชนี ONI ที่มีค่าน้อยกว่า -0.5 โดยจะส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกมากกว่าปรกติ สำหรับในปี 2553 ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นช่วงกลางปีและต่อเนื่องจนถึงกลางปี 2554 โดยมีกำลังแรงช่วงปลายปี 2553 จนถึงต้นปี 2554 จากนั้นสภาพลานีญาอ่อนตัวลงจนเข้าสู่สภาพเป็นกลาง (ดัชนี ENSO อยู่ระหว่าง -0.5 ถึง 0.5) ช่วงระหว่างเดือนมิ.ย.- ก.ย. และค่อยๆ เริ่มกลับสู่สภาวะลานีญาอีกครั้งช่วงปลายปี ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกมากกว่าปรกติโดยเฉพาะช่วงปลายปี 2553 จนถึงกลางปี 2554 อีกทั้งยังทำให้ฝนมาเร็วกว่าปกติ โดยในปี 2554 ฝนเริ่มตกตั้งแต่เดือนมีนาคม

จับตาสถานการณ์น้ำ..อย่าให้ซ้ำรอย!! "มหาอุทกภัย2554" ย้อนอดีต 6 ปี น้ำท่วมกรุงฯ!! (ชมคลิป)


- พายุที่ส่งผลกระทบมีทั้งหมด 5 ลูก ได้แก่
1.พายุโซนร้อน “ไหหม่า”อิทธิพลของพายุลูกนี้ทำให้มีฝนตกหนาแน่นเป็นบริเวณกว้างในภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และตากมีรายงานฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องในช่วงวันที่ 25 - 26 มิ.ย. 54 ก่อให้เกิดน้ำท่วม
ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง
2.พายุโซนร้อน “นกเตน”(NOCK-TEN)ได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวพร้อมกับอ่อน กำลังเป็นพายุดีเปรสชันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณจังหวัดน่านในวันเดียวกัน แล้วอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ปกคลุม ภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณจังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่อนสอนในเวลาต่อมา
3.พายุโซนร้อน “ไห่ถาง” (HAITANG)พายุลูกนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม แล้วอ่อนกาลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวแล้วอ่อนกาลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทยในวันที่ 28 กรกฎาคม 2554
4.พายุไต้ฝุ่น“เนสาด”(NESAT)ในวันที่ 1 ตุลาคม 2554 พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ อย่างช้าๆ หลังจากนั้นได้อ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในระยะต่อมา พายุลูกนี้ส่งผลทำให้ด้านตะวันออกของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม
5.พายุโซนร้อน “นาลแก” ในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 พายุดีเปรสชัน “นาลแก” เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ย มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองวิญ ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ หลังจากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในเวลาต่อมา
- ปริมาณฝนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2554 ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีมีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณฝนรายเดือนสะสม ของสำนักการระบายน้ำเฉลี่ยคาบ 20 ปี (2534-2553) และ ปริมาณฝนรายเดือนสะสมของ กรมอุตุนิยมวิทยาเฉลี่ยคาบ 30 ปี (2524-2553) โดยในวันที่ 1 ธันวาคม 2554 มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2,257.5 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 20 ปี ของสำนักการระบายน้ำ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,654.4 มิลลิเมตร ส่วนปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ยคาบ 30 ปี ของกรมอุตุนิยมวิทยา สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 1,641.9 มิลลิเมตร
หากพิจารณาฝนสะสมรายเดือนของปี 2554 พบว่าเดือนตุลาคมมีปริมาณฝนสะสมสูงที่สุดอยู่ที่ 388.0 มิลลิเมตร และในปีนี้ปริมาณฝนเริ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฝนที่มาเร็วกว่าปกติ

ผลกระทบและความเสียหาย
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 หรือที่นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่ม แม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกรกฎาคม และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท เมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก
อุทกภัยดังกล่าวทำให้พื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ (6 ล้านเฮกตาร์) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 65 จังหวัด 684 อำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน 13,595,192 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ท่อระบายน้ำ 777 แห่ง ฝาย 982 แห่ง ทำนบ 142 แห่ง สะพาน /คอสะพาน 724 แห่ง บ่อปลา / บ่อกุ้ง / หอย 231,919 ไร่ ปศุสัตว์ 13.41 ล้านตัว มีผู้เสียชีวิต 813 ราย (จากทั้งหมด 44 จังหวัด มากสุดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 139 ราย) สูญหาย 3 คน
อุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ"

 

ตารางการบริหารจัดการน้ำในปี 2560
จับตาสถานการณ์น้ำ..อย่าให้ซ้ำรอย!! "มหาอุทกภัย2554" ย้อนอดีต 6 ปี น้ำท่วมกรุงฯ!! (ชมคลิป)

จับตาสถานการณ์น้ำ..อย่าให้ซ้ำรอย!! "มหาอุทกภัย2554" ย้อนอดีต 6 ปี น้ำท่วมกรุงฯ!! (ชมคลิป)

อย่างไรก็ตามถือเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำที่้ไม่ถูกต้องของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในครั้งนั้น
ปัจจุบันก็ต้องถอดบทเรียนราคาแพงชิ้นนี้มาวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้ทันต่อสถานการณ์ ในยุคที่โลกอยู่ในภาวะที่พร้อมจะระเบิดและสามารถจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ทุกเวลา