ย้อนรอยเหตุการณ์ พายุแฮเรียด พัดถล่ม แหลมตะลุมพุก เมื่อพ.ศ. 2505 จนสร้างความเสียหายมหาศาล ที่คนไทยไม่มีวันลืม

25-26 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างหนัก เมื่อคลื่นยักษ์มหึมาม้วนตัวจากทะเลขึ้นบนบกกวาดสรรพสิ่งที่กีดขวาง กลืนกินทุกชีวิตหายลงไปในทะเล

เหตุการณ์ตะลุมพุก พายุโซนร้อนแฮเรียด หรือ 78W ในลำดับการตั้งชื่อนานาชาติ หรือ 6225 ตามลำดับการตั้งชื่อของ JMA (อุตุนิยมวิทยาประเทศญี่ปุ่น) เป็นพายุโซนร้อนรุนแรง ที่เข้าถล่มภาคใต้ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2505 และเลยไปจนถึงบังคลาเทศ และนับเป็นพายุหมุนเขตร้อน 1 ใน 3 ลูก ที่เคลื่อนที่ข้ามเขตจากเขตไต้ฝุ่นไปยังเขตไซโคลนในมหาสมุทรอินเดย อีก 2 ลูกที่ทำแบบนี้ได้ คือซุปเปอร์ไต้ฝุ่นคาเรน ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน และพายุโซนร้อนนาไดน์ ในเดือนธันวาคม และแฮเรียดเป็นพายุหมุนลูกเดียวที่ก่อให้เกิดแผ่นดินถล่มในประเทศไทยในปีนั้น

มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 900 รายสูญหายมากกว่าร้อย ทำให้ แฮเรียด ได้รับการบันทึกว่าเป็นพายุมฤตยูประจำในปี พ.ศ. 2505 ร้ายแรงกว่าพายุไต้ฝุ่นแวนด้าที่เกิดก่อนหน้านั้น ในเดือนกันยายน


ลำดับขั้นการพัฒนาของแฮเรียด
- JMA ตรวจพบการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 1003 mbar ใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 19 ตุลาคม 2505
- หย่อมความกดอากาศอ่อนตัวลงที่ความกด 1006 mbar และกลับก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ได้รับหมายเลขขณะนั้นว่า 78W ในวันที่ 22 ตุลาคม 2505
- พายุดีเปรสชัน 78W เคลื่อนที่มุ่งตรงเข้ามาทางอ่าวไทย ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในเช้าวันที่  25 ตุลาคม 2505 และได้รับการตั้งชื่อว่า แฮเรียด
- พายุโซนร้อน แฮเรียด มาถึงฝั่งแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยความเร็วลมราว 97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมด้วยสตอร์มเสิรจในช่วงกลางดึกของวันที่  25 ตุลาคม 2505
- พายุโซนร้อน แฮเรียด ข้ามแหลมและแผ่นดินไปลงมหาสมุทรฝั่งอันดามันโดยอ่อนแรงลงเรื่อยๆ จากนั้นเคลื่อนที่ไปถึงบังคลาเทศในวันที่ 30 ตุลาคม 2505
และสลายตัวไปในวันรุ่งขึ้น

ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
พายุโซนร้อน แฮเรียด กวาดทุกสิ่งทุกอย่างบนแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง ที่มีผู้คนอยู่อาศัยราว 4 พันคนจนหมดสิ้น เหลือบ้านที่รอดจากการทำลายเพียง 5 หลัง ด้วยคลื่นสูงกว่า 3 เมตร พายุยังมีขอบเขตการทำลายไปถึงบริเวณใกล้เคียง บ้านเรือนอีกกว่าร้อยละ 30 ถูกทำลายลงโดยรอบ

มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 900 ราย สูญหาย 142 ราย บาดเจ็บ 252 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยนับหมื่นราย

แหลมตะลุมพุก

แผนที่ตะลุมพุก

การฟื้นฟู
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศเชิญชวนผู้มีใจกุศลบริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนทางสถานีวิทยุ อส. พระราชวังดุสิต มีประชาชนทั่วประเทศบริจาคเงินทองและสิ่งของโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเงินสดได้รับบริจาคถึงกว่า 10 ล้านบาท นอกไปจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นำสิ่งของและเงินทองไปบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซ่อมแซมโรงเรียน วัด สุเหร่า จัดอาหาร ที่พัก

เหตุการณ์พายุถล่มจะลุมพุก
ในขณะที่กรมประชาสงเคราะห์ได้จัดสร้างบ้านนครศรีธรรมราชเป็นที่เลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กกำพร้า จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะเลี้ยงดูตัวเองได้ ซึ่งหลังจากที่ได้ใช้จ่ายไปในการเหล่านี้ทั้งสิ้นแล้วก็ยังคงเหลือเงินอีกถึง 3 ล้านบาท ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้จัดตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ขึ้น เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ทั้งยังได้ทรงรับมูลนิธินี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์มีวัตถุประสงค์มุ่งช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยทั่วไป ในประเทศโดยฉับพลัน ซึ่งยังผลให้กองทุนนี้ที่มีเพียงแค่ 3 ล้านบาทในปีแรกเพิ่มขึ้นมาถึง 12 ล้านบาท ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกเหนือไปจากการที่มีบรรดาอาสาสมัครซึ่งผ่านการอบรมโดยทุนทรัพย์ของตนเองและพร้อมที่จะออกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในยามที่มูลนิธิต้องการมากถึง 600 คน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ย้อนเมื่อครั้งในหลวง​ ร.๙​ ทรงช่วยเหลือประชาชน จากพายุโซนร้อนแฮเรียตปี05 - ที่แหลมตะลุมพุก​
- เหตุอาเพศ !!! "ก.ทรัพยากรทางทะเล" แจง "หอยแครงหาดตะลุมพุก" ...ชัดเลยที่แท้ไม่ใช่ประเทศไทย (รายละเอียด)

 

อ้างอิง http://paipibat.com

เหตุการณ์อดีต


ขอบคุณคลิป Sulaiman Surapong